การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในสินค้าเกษตร

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มสินค้าเกษตร มีมูลค่ามากถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากกว่า กล้วยไม้และยางที่เคยเป็นสินค้าที่สร้างรายได้สูงสุดแก่สปป.ลาว โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออกปศุสัตว์ของสปป.ลาวคือ เวียดนาม ซึ่งปศุสัตว์เป็น 1 ใน 2 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่สปป.ลาวขายให้กับเวียดนามโดยมีมูลค่าการส่งออกเกือบ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งใน 20 อันดับแรกของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังประเทศจีนด้วยยอดขายมูลค่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้จีนถือเป็นประเทศที่มีความต้องการในปศุสัตว์สปป.ลาวสูง โดยตลาดในยูนนานของจีนต้องการปศุสัตว์ 500,000 ตัวจากสปป.ลาวเป็นประจำทุกปี สินค้ากลุ่มนี้จึงเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะอนาคตจะเติบโตได้อีกและสปป.ลาว ยังมีศักยภาพในการแข่งขันด้วยปัจจัยที่สปป.ลาวมีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงโคเพื่อการค้านั้นเอง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/livestock-top-earner-among-laos%E2%80%99-agricultural-exports-113626

ภาคการส่งออกของกัมพูชาไปยังไทยเพิ่มขึ้นกว่า 195% ในปี 2562

ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 2.27 พันล้านเหรียญสหรัฐไปยังประเทศไทยคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 195% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสำหรับการนำเข้าของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยลดลง 6% เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยโฆษกของกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ารัฐบาลกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อลดการขาดดุลการค้ากับไทย จนถึงตอนนี้รัฐบาลได้ผลักดันการส่งออกในปริมาณที่สูงขึ้นกว่าก่อนหน้านี้ ซึ่งในปี 2561 การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 8.38 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 6.18 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689838/cambodias-exports-to-thailand-increase-by-195-in-2019

การส่งออกเพิ่มแม้เงินจัตแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

เงินจัตของเมียนมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และราคาซื้อขายอยู่ที่ 1465 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เดือนพฤศจิกายน 62 ยังอยู่ที่ 1500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ สำหรับช่วงสี่เดือนแรกของปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 62 จนถึงขณะนี้ปริมาณการส่งออกสูงถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 28% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน การนำเข้าในช่วงเวลาเดียวกันมีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 19% ต่อปี นำไปสู่ขาดดุลการค้าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันเทียบกับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความต้องการสินค้า เช่น เสื้อผ้า สินค้าเกษตร และแร่ธาตุ เนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความระมัดระวังมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ (MOC) คาดว่าการส่งออกทั้งหมดในปีนี้จะสูงถึง 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะถึง 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ 63-68 สิ่งสำคัญลำดับแรก ได้แก่ การแปรรูปเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนประกอบไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ ข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-rise-even-kyat-strengthens-against-us-dollar.html

ทิศทางส่งออกกุ้งเวียดนามปี 63 เติบโตได้ดี

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามูลค่าส่งออกอาหารทะเลปีที่แล้ว อยู่ที่ 3.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา แม้ว่าการส่งออกลดลง แต่ในปัจจุบันน่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกจากการส่งออกไปยังผู้นำเข้ารายใหญ่ในปีนี้ ซึ่งในปีที่แล้ว พบว่ายอดส่งออกกุ้งขาวแปซิฟิก (White Leg Shrimp) อยู่ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.4 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.1 ของมูลค่าส่งออกกุ้งรวมทั้งสิ้น ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกกุ้งกุลาดำและกุ้งประเภทอื่นๆ มีส่วนแบ่งส่งออกกุ้งทั้งหมดร้อยละ 15.9 และ 9.4 ตามลำดับ สำหรับตลาดจีนมีความเข็มงวดในด้านคุณภาพสินค้าและการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าย้อนหลังที่ผ่านตามเขตชายแดน รวมไปถึงสถานการณ์ของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่มีความไม่แน่นอน นอกจากนี้ ในปี 62 สหภาพยุโรปยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.5 ของมูลค่าการส่งออกกุ้งทั้งหมด ด้วยมูลค่า 689.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับปี 61 ซึ่งในปีนี้การส่งออกกุ้งจะฟื้นตัวจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสหรัฐที่เรียกเก็บสำหรับการนำเข้าสินค้ากุ้งจากเวียดนามร้อยละ 0 ขณะที่ ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เดือนมิ.ย.63 จะส่งผลให้เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/shrimp-exports-expected-to-enjoy-fruitful-advantages-throughout-2020-409701.vov

การผลิตไฟฟ้าในประเทศลาวส่งออก 6,457MW ในการส่งออก

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559-ปัจจุบัน กำลังการผลิตไฟฟ้าของสปป.ลาวสามารถผลิตได้มากถึง6,457MW จากจำนวนโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เพิ่มขึ้น 63 แห่งโดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 7,213 เมกะวัตต์ /โรงงาน ทำให้มีไฟฟ้าเพื่อส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 145 สร้างรายได้แก่ประเทศมากกว่า 1.3 พันล้านกีบหรือเพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันเมื่อ 5 ปีก่อน (2554-2558) ซึ่งปัจจุบันสปป.ลาวมีการขยายสายส่งไฟฟ้าเพิ่มติมเพื่อให้เอื้อต่อการตอบสนองอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ของภาคต่างประเทศที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไทย กัมพูชา พม่าที่เป็นคู่ค้าพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญของสปป.ลาวโดยมีการคาดการณ์ว่าประเทศเล่านี้จะมีความต้องการพลังงานาไฟฟ้าในอีก 5 ปีข้างหน้าเพิ่มเติมจากเดิมไปอีก เป็นผลดีแก่ภาคพลังงานไฟฟ้าที่จะสร้างรายได้แก่ประเทศมากขึ้นดังนั้นเศรษฐกิจของสปป.ลาวที่มีภาคพลังงานค่อยขับเคลื่อนก็จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของภาคพลังงานไฟฟ้า

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/electricity-generation-laos-sparks-6457mw-exports-113257

ผู้ส่งออกข้าวโพดเมียนมาเล็งหาตลาดใหม่

นาย U Min Khaing ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมากล่าวว่า ผู้ค้าข้าวโพดกำลังมองหาตลาดใหม่ ๆ โดยเป้าหมายที่คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เดือน มิถุนายนตัวแทนจากสมาคมจะไปเยือนจีนเพื่อโปรโมตข้าวโพดที่ผลิตในรัฐฉาน ทั้งนี้ยังได้ตกลงที่จะส่งออกไปยัไทย แต่ยังรอการอนุญาตอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามภาษีนำเข้าที่สูงยังเป็นความท้าทายที่สำคัญ ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีระหว่างไทยกับเมียนมาการส่งออกข้าวโพดได้รับการยกเว้นภาษีระหว่างเดือนก.พ. – ส.ค 62 ช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.ส่งออกข้าวโพดมากกว่า 100,000 ตัน เมื่อเทียบกับ 200,000 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ช่วงปีงบประมาณ 61-62 ส่งออกข้าวโพด 1.5 ล้านตันมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 1.1 ล้านตันมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 58-59 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเมียนมามีมากกว่า 1.9 ล้านเอเคอร์ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐสะกาย มาเกว คายิน ชีน ฉาน และกะยา  โดยราคาข้าวโพดปัจจุบันอยู่ที่ 480 จัตถึง 495 จัตต่อ viss (1.65 กิโลกรัม)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/demand-falters-corn-traders-seek-new-markets.html

ยอดส่งออกธัญพืชไปไทยเพิ่มขึ้น

ารส่งออกธัญพืชอย่างข้าวฟ่างกำลังทวีความรุนแรงขึ้นในขณะที่รอการส่งออกไปยังไทยของผู้ส่งออกในชายแดนเมียวดี แม้ว่าจะได้รับการยกเว้นภาษีตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคมเพื่อส่งออกไปยังประเทศไทยตามข้อตกลงร่วมกัน แต่ยังไม่สามารถส่งออกไปได้เนื่องจากรัฐบาลไทยขึ้นภาษีส่งออกข้าวข้าวฟ่างเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกร ในช่วงเวลานั้นการส่งออกมายังไทยไทยผู้ส่งออกได้รับความสูญเสียเนื่องจากรถบรรทุกที่ไม่สามารถข้ามสะพานเกียง เนื่องจากการเพิ่มระดับน้ำในแม่น้ำเกียง ทั้งผู้ส่งออกไม่สามารถส่งออกไปยังจีนได้เนื่องจากรัฐบาลจีนขึ้นภาษีเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกร ยอดการส่งออกจากการค้าชายแดนเมียวดีคิดเป็น 10% ของการนำเข้าและส่งออกของปีนี้ แม้ว่าไทยจะส่งออกสินค้ารถบรรทุกกว่า 500 คันในทุกๆ วัน แต่เมียนมาก็ไม่ได้ขึ้นภาษีแต่อย่างใด

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/millet-grains-pile-up-to-export-to-thailand

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกผักผลไม้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

จากข้อมูลของสมาคมพืชผักและผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามในปีนี้ อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าเสรีรูปแบบใหม่ (New Generation FTA) ซึ่งข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 63 เรื่องภาษีศุลกากรของผักผลไม้เวียดนามอยู่ในระดับร้อยละ 0 ส่งผลให้ยกระดับมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ข้อตกลง CPTPP จะเปิดตลาดใหม่ๆแก่ผลิตภัณฑ์เวียดนาม ทั้งนี้ จากข้อมูลของเลขาธิการสมาคม มองว่าพื้นที่เพาะปลูกผักผลไม้ขนาดใหญ่ควรจะต้องติดฉลากเขียว (VietGAP) และมาตรฐานเอกชน (Global GAP) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เข็มงวด อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนามที่มีอัตราการขยายตัวสูง ได้แก่ อาเซียน (26.6%), สหรัฐอเมริกา (10.7%) และสหภาพยุโรป (32.2%) เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-targets-5-billion-usd-from-fruit-vegetable-exports-in-2020/167667.vnp

การส่งออกยังคงมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในปีนี้

จากคำแถลงการณ์ของประธานสมาคมปูนซีเมนต์เวียดนาม เปิดเผยว่าในปีนี้ มีจำนวน 2 โครงการปูนซีเมนต์ใหม่ที่จะเปิดให้ดำเนินการในจังหวัดเหงะอาน ด้วยกำลังการผลิตอยู่ที่ 2-2.5 ล้านตันต่อปี และอีกแห่งอยู่ที่จังหวัดทัญฮว้า ทำการผลิตได้ 4.6 ล้านตัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศ มีกำลังการผลิตรวมมากกว่า 100 ล้านตัน ขณะที่ ความต้องการในประเทศมีอยู่ประมาณ 70 ล้านตัน ซึ่งการส่งออกยังคงมีความสำคัญต่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปีนี้ ทั้งนี้ ยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศยังคงชะลอตัว เนื่องจากการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ซบเซาและการชะลอตัวของตลาดอสังหาฯอีกด้วย สำหรับปริมาณส่งออกปูนซีเมนต์ในปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 34 ล้านตัน แต่ในปี 2564 จะลดลงมาอยู่ที่ 25 ล้านตัน นอกจากนี้ ทางสมาคมมองว่าผู้ผลิตปูนซีเมนต์ควรใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับคุณภาพและมูลค่าสินค้า ขณะที่ลดการผลิตทางด้านสิ่งแสดล้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571389/maintaining-exports-critical-to-cement-industry-this-year.html

มูลค่าส่งออกเมียนมาพุ่ง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 3 เดือน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 ม.ค.ในปี 62-63 มูลค่าการส่งออกสูงถึง 5.061 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วมีมูลค่า 4.009 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงมียอดเกินกว่า 1.052 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญคือ ผลิตภัณฑ์เกษตร สัตว์ทะเล ป่า เหมืองแร่ การผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP ฯลฯ การนำเข้าของเมียนมาส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม ของใช้ส่วนตัว วัตถุดิบเกี่ยวกับ CMP ฯลฯ เพื่อลดการขาดดุลการค้ากระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การนำแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ ผ่อนคลายขั้นตอนการดำเนินการ สนับสนุนภาคเอกชน การรับมือกับการถูกถอด GSP และขยายตลาดส่งออก ในปี 61-62 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 34.979 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าเป้าหมายที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/export-value-over-5-bn-in-over-three-months