มัณฑะเลย์เพิ่มปริมาณข้าวสำรอง 5,000 ตัน

เขตมัณฑะเลย์กำลังเพิ่มข้าวสำรอง 5,000 ตันสำหรับเหตุฉุกเฉินในกรณีที่การระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้น ปัจจุบันภูมิภาคนี้มีการจัดเก็บข้าวไปมากกว่า 1,800 ตัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ยังทำงานเกี่ยวกับแผนอาหารสำรองของชาติกับภาคเอกชนเช่นเดียวกับสหพันธ์สหภาพเมียนมา สภาหอการค้าและอุตสาหกรรม สหพันธ์ข้าวเมียนมา และสมาคมผู้ค้าน้ำมันเมียนมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mandalay-to-beef-up-5000-tons-of-national-reserve-rice

คลังอัดสินเชื่อแบงก์รัฐอีก2.3แสนล. ช่วยฟื้นฟูศก.หลังโควิด

อุตตม ตั้งทีมคลัง แบงก์รัฐลงพื้นที่ช่วยฟื้นฟูชาวบ้านหลังโควิด เปิดสาขาแบงก์รัฐเป็นคลินิกแก้จน พร้อมอัดฉีดมาตรการเศรษฐกิจ อีกชุดใหญ่ ทั้งภาษี สินเชื่ออีก 2.3 แสนล้านฟื้นเศรษฐกิจต่อ  นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เปิดเผยถึงการดำเนินมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด19ว่า ได้สั่งให้หน่วยงานในสังกัดคลังและสถาบันการเงินรัฐ จัดตั้งทีมเราไม่ทิ้งกัน ลงพื้นที่ไปสำรวจความเดือดร้อน และเร่งฟื้นฟูอาชีพให้กับประชาชนหลังจากผ่านมาตรการเยียวยาโควิด เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง พร้อมกับจะเปิดสาขาธนาคารรัฐให้เป็นคลินิก คลังสมอง หมอคลัง  ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย  เพื่อรับปรึกษาร้องทุกข์ด้านต่างๆ ทั้งด้านอาชีพ บริการทางการเงิน ปัญหาหนี้นอกระบบ  เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ฟื้นโดยเร็ว นอกจากนี้คลังกำลังจัดทำมาตรการทางภาษี และมาตรการทางการเงิน สำหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกแพ็คเก็จใหญ่ โดยเบื้องต้นให้ธนาคารรัฐเตรียมวงเงินไว้ปล่อยกู้เพิ่มเติมอีก 2.3 แสนล้านบาท เพื่อใช้สร้างอาชีพ ให้เงินหมุนเวียนแก่ประชาชน เกษตรกร และภาคธุรกิจให้เกิดความต่อเนื่อง เช่น ธ.ก.ส. จะปล่อยกู้สินเชื่อให้ภาคเกษตรอีก 1.7 แสนล้านบาท ออมสินช่วยประชาชน 4 หมื่นล้านบาท และขยายพักหนี้อีก 2 ปี รวมถึงธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ให้ประชาชนเข้าถึงอีกมากกว่า 1 ล้านราย

ที่มา:  https://www.dailynews.co.th/economic/776427

แบงก์ชาติเวียดนามปรับลดดอกเบี้ยแก่ผู้กู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

จากรายงานของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าทางธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ด้วยมูลค่ามากกว่า 1.12 ล้านล้านล้านด่ง (49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของผู้กู้ราว 322,190 รายที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงธนาคารยังขยายระยะเวลาการชำระหนี้ จำนวน 215,136 ราย สินเชื่อรวมประมาณ 137.94 ล้านล้านด่ง ในขณะที่ ยอดสินเชื่อใหม่คงค้างในระบบ ประมาณ 600 ล้านล้านด่ง พร้อมกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5-2.5 ต่อปี แก่ผู้กู้ราว 190,000 คน ทั้งนี้ ธนาคารกลางโอนเงินไปยังสถาบันการเงินเวียดนาม ด้วยมูลค่า 16 ล้านล้านด่ง ซึ่งทำตามนโยบายสังคม ดังนั้น นายจ้างสามารถกู้สินเชื้อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เพื่อจะนำไปจ่ายเงินเดือนแก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นอกจากนี้ ทางรองผู้ว่าธนาคารกลาง ระบุว่าภาคธุรกิจขนส่ง การท่องเที่ยว นำเข้า-ส่งออก จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากเชื้อไวรัสดังกล่าว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/banks-cut-interest-rates-for-borrowers-affected-by-covid19/173801.vnp

เวียดนามเผยบริษัทอสังหาฯ พร้อมฟื้นตัวหลังหมดโควิด-19

บริษัทอสังหาริมทรัพย์เริ่มมองถึงก้าวต่อไป เล็งเห็นโอกาสหลังจากวิกฤติโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย คาดฟื้นตัวในไม่ช้า จากรายงานทางสถิติของกระทรวงก่อสร้าง เผยว่าร้อยละ 80 ของตัวแทนขายอสังหาฯ หยุดการดำเนินงานชั่วคราวในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจอื่นๆ ยังคงสามารถดำเนินงานได้อยู่ในระดับปานกลาง โดยจำนวนบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนใหม่ในไตรมาสแรก ลดลงร้อยละ 12 ขณะที่ บริษัทที่หยุดดำเนินงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นร้อยละ 94 อย่างไรก็ตาม คนในวงในส่วนใหญ่เชื่อว่าผลกระทบจะเป็นเพียงระยะสั้นและตลาดจะกลับมาแข็งแกร่งในอีก 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ คุณ Nguyen Quoc Bao รองผู้อำนวยการบริษัทอสังหาฯแห่งหนึ่ง กล่าวว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงฝ่าวิกฤติโควิด-19 เพื่อเตรียมความพร้อมต่อวงจรการเติบโตใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของบริษัทที่มีกำลังการผลิตต่ำ แต่สำหรับธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและการดำเนินงานอย่างมืออาชีพที่จะนำฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไปได้ ผลกระทบเป็นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น ‘วิกฤติสร้างโอกาส’ นอกจากนี้ ตลาดอสังหาฯเวียดนาม ยังคงมีข้อได้เปรียบอย่างมากและเป็นที่สนใจแก่นักลงทุน เพราะว่าด้วยจำนวนประชากรราว 100 ล้านคน และร้อยละ 55 อยู่ในช่วงอายุ 25-40 ปี ที่มีกำลังซื้อสูงและมีความต้องการที่อยู่อาศัย ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมั่งคง ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว (Rapid Urbanization)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/real-estate-firms-gear-up-for-race-after-pandemic/173808.vnp

Moody’s มองกัมพูชายังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่มั่นคง

Moody’s Investors Service กล่าวว่ากัมพูชามีบัฟเฟอร์ทางด้านการคลังที่แข็งแกร่งในการรับมือกับการหยุดชะงักของการค้าและการเติบโตที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 โดยในแถลงการณ์ที่เผยแพร่ในสิงคโปร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐกล่าวว่าการชะลอตัวของจีน สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของกัมพูชาในปีนี้ ซึ่งคาดการณ์ GDP จะหดตัวมาอยู่ที่ 0.3% แต่คาดว่าจะดีดตัวขึ้นมาเกือบ 6.0% ในปีหน้า (2021) ซึ่งมูดี้ส์กล่าวว่าโปรไฟล์เครดิตล่าสุดของกัมพูชาสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งของประเทศ โดยหน่วยงานจัดอันดับกล่าวว่าการระบาดของไวรัสจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชาเป็นอย่างมาก จากผลกระทบของการชะลอตัวของจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับกัมพูชาเป็นอย่างมาก ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าจีนคิดเป็น 43% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชาขณะที่นักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วน 36% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2562

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726331/moodys-sees-solid-growth-prospects-for-cambodia/

เขตมะกเว อนุญาตให้โรงงานกว่า 1,000 แห่งเปิดใหม่อีกครั้ง

รัฐบาลระดับภูมิภาคเขตมะกเวอนุญาตให้โรงงานมากกว่า 1,000 แห่งเปิดใหม่หลังจากถูกปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยอนุญาตให้เปิดมากกว่า 1,000 แห่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ตหลังจากผ่านการตรวจสอบซึ่งหมายความว่าพนักงานประมาณ 20,000 คน จะได้กลับมาทำงานอีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/magwe-govt-allows-more-1000-factories-reopen.html

พาณิชย์-เอกชนจับตาความขัดแย้งสหรัฐ-จีน

พาณิชย์-เอกชน เตรียมแผนปรับทัพส่งออก รับมือสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ปะทุรอบใหม่  ชี้โลก เดาใจ “ทรัมป์” ยาก แต่คาดใกล้ช่วงเลือกตั้งปธน กระทรวงและภาคเอกชนอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีน จนเกิดสงครามการค้ารอบใหม่ และจะมีการจัดทำแผนในการผลักดันส่งออกร่วมกันเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมาภาคส่งออกได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าแล้ว และในปี 63 ก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19 ตอนนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามความขัดแย้งรอบใหม่ระหว่างสหรัฐ-จีนอย่างใกล้ชิด แต่เชื่อว่าไทยมีโอกาสที่ได้รับประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องของการค้าและการลงทุนมากเช่นกัน โดยเฉพาะโอกาสที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นซับพลายเซนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มั่นคงของโลกได้ เพราะในระยะหลังมีผู้ประกอบการจากจีนเริ่มย้ายฐานการผลิตมาไทยและอาเซียนจำนวนมากเพื่อป้อนชิ้นส่วนและวัตถุดิบให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนและประเทศต่าง ๆ ช่วงหลังจีนกับประเทศตะวันตกทั้งสหรัฐและยุโรปมีปัญหากันหลังจากที่เกิดการระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสหรัฐที่กล่าวหาจีนมาเป็นต้นเหตุในการทำให้เกิดการระบาดจนมีความขัดแย้งต่อเนื่อง ดังนั้นจีนต้องหาพันธมิตรในอาเซียนและประเทศใกล้เคียงมากขึ้น เห็นจากที่ผ่านมาไทยขออะไรจีนมักได้ง่ายๆหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเปิดด่านในการส่งสินค้าเกษตรไทยไปจีน ก็ได้รับความสะดวกรวดเร็วผิดกับครั้งก่อนๆ จนทำให้สินค้าเกษตรไทยหลายตัวสามารถส่งออกไปจีนได้เพิ่ม เช่น ทุเรียน แม้จะเจอปัญหาระบาดโควิด-19 แต่ก็มีล้งจีนเข้ามากว้างซื้อทุเรียนไทยมากกว่าเดิมอีกเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดจีน  

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/775916

อัพเดท สถานการณ์ COVID-19 เวียดนาม วันที่ 19.05.2563

คนเวียดนามกลับจากต่างประเทศติดเชื้อเพิ่ม 4 คนแต่ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มในประเทศมากกว่า 1 เดือน

พัฒนาการที่สำคัญในวันนี้

  • เวียดนามไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในระดับชุมชน กว่า 1 เดือน แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กลับจากต่างประเทศ 4 ราย
  • ยกเว้นการห้ามการเดินทางเข้าประเทศของคนต่างประเทศ โดยจะพิจารณาอนุญาตให้นักลงทุนชาวต่างชาติ ผู้เชี่ยวชาญ แรงงานทักษะสูง ผู้บริหารกิจการ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาชาวเวียดนามที่ศึกษาในต่างประเทศ โดยจะต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและกักตัวอย่างเข็มงวด
  • เวียดนามส่งเสริมการท่องเที่ยว “Safe Haven Tourism” ซึ่งเน้นการจำกัดความเสี่ยง COVID-19 และคาดว่า การท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งรายได้ถึงร้อยละ 10-15 และจ้างงาน 1.3 ล้านคน
  • รองประธานหอการค้าสหภาพยุโรปประจำเวียดนามเห็นว่า เวียดนามเตรียมตัวดีในการกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 และจำเป็นประเทศที่ปลอดภัยและน่าดึงดูดสำหรับธุรกิจและนักลงทุนจากต่างประเทศ พร้อมย้ำว่า เวียดนามจะต้องว่า เวียดนามจะต้องไม่ปกป้องธุรกิจของเวียดนามเพียงอย่างเดียว เนื่องจากจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกเมื่อการค้าของโลกกลับสู่ภาวะปกติ
  • วันที่ 21 พ.ค. 2563 สถานเอกอัครราชทูตฯ จะจัดเที่ยวบินพิเศษสำหรับคนไทยที่ตกค้างกลับไทย

มาตรการสำคัญที่ยังบังคับใช้

  • ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อมิให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • แนะนำให้ประชาชนหมั่นล้างมือ สวมหน้ากาก
  • งดกิจกรรมเฉลิมฉลอง พิธีกรรมทางศาสนา และมหกรรมกีฬา
  • ยังคงห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าเวียดนาม เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • บุคคลที่เดินทางเข้าเวียดนามจะถูกกักตัว 14 วัน

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย

เวียดนามเผยส่งออกเหล็กฉุดรุนแรง รับพิษโควิด-19

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) คาดว่าอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศจะยังได้รับผลกระทบหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลงไป เนื่องจากยอดส่งออกเหล็กไปยังตลาดต่างประเทศลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งการลดลงข้างต้น ส่วนใหญ่มาจากการผลิตอุตสาหกรรมที่หลากหลายขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์เหล็ก ได้แก่ กิจกรรมการก่อสร้าง รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการผลิตเหล็กสำเร็จรูปที่มีทุกประเภท ในช่วง 4 เดือนของปีนี้ มีปริมาณการผลิต 7.5 ล้านตัน ในขณะที่ การบริโภคเหล็ก 6.75 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 8.4 และ 13.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ส่งผลให้ยอดส่งออกเหล็กดิ่งลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นปริมาณ 1.28 ล้านตัน  ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ คาดการณ์ส่งออกกลับมาเป็นบวกในไตรมาสสอง เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของตลาดในประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีการนำมาตรการ/นโยบายของภาครัฐ เพื่อส่งเสริมตลาดให้กลับมาฟื้นตัวเร็วที่สุด

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/steel-exports-suffer-severe-drops-due-to-covid19-413868.vov

World Bank พร้อมสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจในเมียนมา

ธนาคารโลกจะให้การสนับสนุนเมียนมาภายใต้กรอบความร่วมมือกับประเทศตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2566 โดยมุ่งเน้นไปที่สามด้าน เช่น การสร้างทุนมนุษย์และส่งเสริมชุมชน กระตุ้นการเติบโตของภาคเอกชนที่นำโดยรับผิดชอบและโอกาสทางเศรษฐกิจโดยรวม และเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับมือกับภัยธรรมชาติในขณะเดียวกันก็มั่นใจว่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะถูกจัดการอย่างยั่งยืน การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในขณะนี้คาดว่าจะลดลงอย่างรวดเร็วจาก 6.3 เปอร์เซ็นต์ใน 2561-2562 เหลือ 2% ในปี 2562-2563 เนื่องจาก COVID – 19 ในขณะที่เศรษฐกิจคาดว่าจะฟื้นในปีหน้าหากการระบาดสามารถควบคุมได้และการค้าโลกกลับมาอีกครั้ง ในขณะเดียวกันธนาคารโลกได้ให้เงินกู้ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการฉุกเฉินอย่าง COVID-19 และได้รับเงินช่วยเหลือ 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากแหล่งเงินทุนฉุกเฉินสำหรับการแพร่ระบาด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/world-bank-pledges-support-economic-reform-myanmar.html