การระบาดของ COVID-19 จะทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 25%

นาย Khammany Sambath รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เข้าร่วมการประชุมพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยนาย Khamsay Sambath กล่าวว่ารัฐบาลสปป.ลาวได้ดำเนินการป้องกันควบคุมการระบาดของCOVID-19 และพบผู้ติดเชื้อรายแรกในวันที่ 23 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยทั้งหมด 19 รายที่ได้รับการรักษา 10 รายและไม่มีผู้เสียชีวิต แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในสปป.ลาวจะต่ำ แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเช่นการปิดตัวกิจการทำให้ของแรงงานจำนวนมากตกงานในขณะเดียวกันแรงงานกว่า 1 ล้านคนที่ทำงานในต่างประเทศก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จากสถานการณ์ดังกล่าวรัฐบาลคาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นจากปกติ 2% เป็น 25% อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะมีการออกนโยบายเพื่อช่วยเหลือแรงงานทุกคน แต่ระยะแรกจะเริ่มช่วยเหลือแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมโดยการให้เงินชดเชยในระยะแรกและจะมีการหางานให้แก่แรงงานที่ประสงค์จะทำงานโดยต้องมีการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะก่อนถูกส่งไปยังองค์กรต่างๆ

ที่มา: https://laoedaily.com.la/2020/05/18/78253/

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนให้การสนับสนุนการส่งออกข้าวของกัมพูชา

รัฐบาลได้ประกาศเมื่อวันศุกร์ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยมีนายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้ห้ามส่งออกข้าวขาวข้าวเปลือกและปลาในช่วงต้นเดือนเมษายนเพื่อป้องกันอุปทานในท้องถิ่นเพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนอาหารในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยรัฐบาลกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเหล่านี้สามารถเริ่มส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้ตั้งแต่วันพุธ 20 เมษายน ซึ่งโฆษกของกระทรวงกล่าวว่าการส่งออกต้องทำการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชจำเป็นต้องมีความปลอดภัยรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการตรวจสอบตามขั้นตอนที่เหมาะสมและได้รับการพิจารณาว่าปลอดจากศัตรูพืชและอื่นๆ โดยการส่งออกผ่านช่องทางทางการโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ส่งออกไปยังเวียดนามจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ในทางตรงกันข้ามอาจมีส่วนช่วยแก้ปัญหาตลาดสำหรับเกษตรกรในกัมพูชาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนกับเวียดนามได้อีกด้วย ซึ่งประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวว่าขณะนี้กัมพูชามีข้าวและข้าวเปลือกเพียงพอที่จะส่งมอบตลาดในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50723899/pm-hun-sen-gives-nod-for-white-rice-exports-resumption/

LOTTE Group เมียนมาร่วมสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ต้าน COVID-19

กลุ่ม Lotte ในเมียนมา (LOTTE Hotel Yangon, LOTTE MGS และ L&M Mayson) ได้ให้การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่น ๆ ที่ทำงานมายาวนานท่ามกลางการระบาดใหญ่ของ Covid-19 โดยได้บริจาคให้กับโรงพยาบาล Wairbargi และโรงพยาบาล South Oakkalar โดยส่งมอบอุปกรณ์และสิ่งของ 1,000 ชุด เช่น รายการผลิตขนมปัง เครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยวมี่ผลิตโดย LOTTE Group ลอตเต้กรุ๊ปเป็น บริษัท ระดับโลกจากประเทศเกาหลีซึ่งก่อตั้งขึ้นในฐานะผู้ประกอบธุรกิจอาหาร, ธุรกิจค้าปลีก, ท่องเที่ยว, บริการ, เคมี, การก่อสร้างและการเงินเพื่อยกระดับชีวิตและเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าในทุกสาขาธุรกิจ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/lotte-group-myanmar-supports-those-frontline.html

เวียดนามนำเข้าตุ๊กตาล้มลุกจากรัสเซีย มูลค่ากว่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัท Au Viet My Import-Export Trading Company เปิดเผยว่ายอดนำเข้าตุ๊กตาล้มลุกจากรัสเซีย ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 100 ล้านรูเบิลรัสเซีย (ประมาณ 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตกลงสัญญากับบริษัทสัญชาติรัสเซีย Kotovsky Tumblers นับว่าเป็นการทำสัญญาส่งออกครั้งแรกที่เกี่ยวกับสินค้าอย่างตุ๊กตารัสเซียแบบดั้งเดิมไปยังตลาดเวียดนาม ทั้งนี้ สำนักข่าวรัสเซีย ‘Interfax’ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว คุณ Dmitry Fedorov ผู้อำนวยการทั่วไปบริษัทฯ กล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวจะดำเนินการออกเป็นช่วงๆ และทำจนเสร็จในเดือนมิ.ย.2564 ซึ่งเฟสแรกจะส่งตุ๊กตาล้มลุก 308 ตัว ไปยังเวียดนามในเดือนหน้า นอกจากนี้ ความร่วมมือทางการค้าระหว่างรัสเซียและเวียดนาม ยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยธุรกิจเวียดนามส่วนใหญ่กำลังมองหาซัพพลายเออร์ชาวรัสเซียในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอาหาร กระดาษ โลหะและปิโตรเคมี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/russia-to-ship-tumblers-worth-over-13-million-usd-to-vietnam-413785.vov

‘กรุงฮานอย’ ค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกลดลง 30% เหตุโควิด-19

เวียดนามดูเหมือนว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว และธุรกิจเริ่มหันมาดำเนินต่อไป แต่ว่าสถานการณ์ของตลาดค้าปลีกในกรุงฮานอยกลับดิ่งลงฮวบ โดยค่าเช่าพื้นที่ปรับลดร้อยละ 20-30 สำหรับธุรกิจที่ลำบากในช่วงการแพร่ระบาดไวรัส ส่งผลให้ร้านค้าส่วนใหญ่ต้องปิดตัวลงและหาทางโอนหรือคืนร้านค้าที่เช่ามา ทั้งนี้ คุณ Pham Danh Tung เจ้าของร้านค้าแฟชั่นแห่งหนึ่ง กล่าวว่าจำนวนลูกค้าและรายได้ลดลงหนักมาก ประกอบกับอัตราค่าเช่าอยู่ในระดับสูง ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชั่วคราวและหันไปเป็นเจ้าของบ้านเช่า ในขณะเดียวกัน จากผลการสำรวจของบริษัทที่ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ ‘CBRE’ ระบุว่าผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกส่วนใหญ่ร้อยละ 43 คาดรายได้ลดลงร้อยละ 10-30 ในปีนี้ และร้อยละ 27 หวังว่าจะได้รับการส่งเสริมจากผู้ปล่อยเช่าพื้นที่ค้าปลีก เนื่องจากได้รับผลกระทบทางลบจากไวรัสดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ระบุว่าเทรนด์การช็อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การธุรกิจค้าปลีกได้รับความนิยมน้อยลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-retail-space-rentals-down-30-due-to-covid19-413778.vov

ททท.วางแผนรองรับนักท่องเที่ยว หลังการระบาด COVID-19

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.เตรียมรับการคลายล็อกดาวน์ประเทศ จากสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 ไว้ 3 ระดับ และหากทุกอย่างเปิดหมดต้องเตรียมตัวรับมือกับพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไปททท.มองว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่พร้อมออกเดินทางหลังการระบาดคลี่คลาย คือกลุ่มเจเนอเรชั่น Y ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบคิดนอกกรอบ ชอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยจึงต้องปรับตัวให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนบริการของตัวเองให้สอดคล้องกับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เพื่อรองรับกระแสการเดินทางที่กำลังจะเกิดขึ้นนอกจากนี้ยังประเมินว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือการเปลี่ยนแปลงภายใต้ New Normal การท่องเที่ยวต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพ ความสะอาด และความปลอดภัยมากขึ้น และไม่สามารถคาดหวังนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ เช่น กรุ๊ปทัวร์ได้แล้ว แต่หลังจากนี้ไปการเดินทางท่องเที่ยวจะเปลี่ยนมาเป็นกรุ๊ปขนาดเล็กมากขึ้น หรือเดินทางด้วยตัวเอง และรูปแบบการท่องเที่ยวจะเป็นระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อรวมทั้งเชื่อว่านักท่องเที่ยวจะหันมาสนใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น ส่วนคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยปีนี้ (63) น่าจะอยู่ที่ 14-16 ล้านคน และนักท่องเที่ยวไทยคาดอยู่ที่ 80-100 ล้านครั้ง

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/292423

ธุรกิจฮานอยกว่า 4,000 ราย ระงับการดำเนินงานชั่วคราว เหตุโควิด-19

ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ผู้ประกอบการลงทะเบียนเพื่อหยุดการดำเนินงานจำนวน 4,240 ราย เนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขผู้ว่างงานที่ยื่นขอประกันจำนวนมากกว่า 13,200 ราย ถึงอย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในภูมิภาค (GRDP) ขยายตัวร้อยละ 3.72 ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องชะลอการผลิตหรือหยุดการดำเนินงานชั่วคราว ทั้งนี้ เพื่อขจัดอุปสรรคในการทำธุรกิจ ต้องร่วมกันส่งเสริมการผลิตและกิจกรรมทางธุรกิจ ประกอบกับเมืองหลวงต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เพื่อจะบรรเทาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/over-4000-hanoi-businesses-suspend-operations-due-to-covid19-413664.vov

กรมเจรจาฯ เผยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไทยมาแรงในตลาดอาเซียน ในช่วงวิกฤตโควิด-19 แนะใช้ประโยชน์จาก FTA ขยายส่งออกเพิ่ม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ส่งผลให้ประชาชนลดการเดินทางและอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารแห้ง และอาหารสำเร็จรูปที่เก็บไว้ได้นานเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถือเป็นหนึ่งในสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการในช่วงวิกฤตนี้ ซึ่งแนวโน้มความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเร่งผลิตสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่ จากสถิติการค้าระหว่างประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 การส่งออกสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปอาเซียน มูลค่า 31.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีกัมพูชาเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ในอาเซียน ส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 50 ของการส่งออกไปอาเซียน ตามด้วยเมียนมา สปป.ลาว และเวียดนาม ทั้งนี้ อาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำคัญที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก ประกอบกับนิยมรสชาติอาหารที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ติดอันดับประเทศที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูง 15 อันดับแรกของโลก ส่งผลให้การส่งออกไปอาเซียนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 ไทยส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปอาเซียนมูลค่า 119.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 31 จากปี 2561 นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากรในอาเซียนยังมีความนิยมรสชาติอาหารที่คล้ายกัน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ที่ติดอันดับประเทศที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูงสูด 15 อันดับแรกของโลก รวมทั้งยังได้รับแรงหนุนจากความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ที่ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ส่งออกจากไทยด้วย

ที่มา : https://dtn.go.th/th/

ดิจิทัลไลเซชั่นดีสำหรับการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชาท่ามกลางการระบาด Covid-19

คนในวงการกล่าวว่า digitalization มีบทบาทสำคัญในการทำธุรกรรมทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากการดิ้นรนภายใต้การระบาดใหญ่ของ Covid-19 จากการพูดคุยในระหว่างการสัมมนาทางเว็บที่จัดทำโดย realestate.com.kh ได้พูดถึง Covid-19 จะให้บทเรียนในรูปแบบใหม่ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศจีนและตลาดหลักในปี 2564 จะช่วยปรับปรุงแนวโน้มการเติบโตของกัมพูชาในปีหน้า ตามรายงานจาก บริษัท อสังหาริมทรัพย์ CBRE ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ตลาดจะยังคงเห็นการปรับลดลงของราคาขายในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับกลางและระดับบน ส่วนราคาขายช่วงกลางอ่อนตัวลง 1.4% และกลุ่มสินค้าระดับบนปรับตัวลงเพียง 0.5% ในขณะที่กลุ่มที่มีราคาไม่แพงได้เห็นการเพิ่ม 0.3% ราคาขายเฉลี่ยในส่วนนี้อยู่ที่ 1,549 ดอลลาร์ ต่อตารางเมตร ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ค่าเช่าคงที่ประมาณ 14.2 ดอลลาร์ต่อตารางเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50722122/digitalisation-said-to-be-good-for-real-estate-transactions-amid-pandemic/

รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานจากสถานการณ์ COVID-19

คนงานที่เดินทางกลับสปป.ลาวหลังจากออกจากงานในประเทศไทยเนื่องจากการระบาดของโรค Covid-19 จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการหางานใหม่ โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ขอให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมในแต่ละจังหวัดและเวียงจันทน์รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานหมู่บ้านเกี่ยวกับจำนวนคนตกงานจากประเทศไทยโดยกระทรวงคาดการณ์ว่ามีจำนวนประมาณ 79,208 คนและจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการที่ธุรกิจหลายแห่งปิดทำการชั่วคราว การช่วยเหลือดังกล่าวจะครอบคลุมไปยังแรงงานในประเทศที่ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งรัฐบาลจะจัดการหางานให้แก่แรงงานที่ประสงค์จะทำงานแต่ก่อนหน้านั้นจะต้องมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของแรงงานก่อนจะถูกส่งออกไปยังองค์กรหรือธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ทั้งภาคธุรกิจและแรงงานได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แรงงานมีงานทำและบริษัทได้แรงงานที่มีคุณภาพไปส่งเสริมธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt90.php