รัฐบาลเมียนมาเล็งลงทุนผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Covid-19

เนื่องจากเมียนมาต้องซื้อยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากตลาดต่างประเทศจึงวางแผนซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และหน้ากากอนามัยจากผู้ผลิตในในประเทศแทน สำหรับการป้องกันการควบคุมและการรักษา Covid-19 ของเมียนมานั้นมีการดำเนินการโดยสร้างโรงพยาบาลและคลินิกให้มากขึ้นและจัดหาเครื่องมือวินิจฉัยและเครื่องช่วยหายใจเพิ่มเติม สำหรับเครื่องวิเคราะห์ Cobas 6800 ที่ใช้ในการทดสอบ Covid-19 จะเริ่มดำเนินการในสัปดาห์นี้ และห้องปฏิบัติการในย่างกุ้งสามารถทดสอบได้มากกว่า 1,000 คนทุกวัน ทั้งนี้ยังมีการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ขายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในราคาที่สูงในตลาดท้องถิ่นเพื่อการเก็งกำไรอีกด้วย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/govt-seeks-investment-to-manufacture-covid-19-medical-equipment-at-inoperative-factories

คณะรัฐมนตรีอาจมีแนวทางผ่อนคลายมาตรการบางอย่างในเดือนหน้า

เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือเกี่ยวกับการป้องกันการควบคุมการแพร่กระจายของโคลวิ – 19 รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID – 19 และพิจารณาการผ่อนคลายมาตราการบางอย่างเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของประชาชนสปป.ลาว คาดว่ารัฐบาลจะมีการปรับเปลี่ยนมาตราการต่าง ๆและเริ่มใช้ในวันที่ 3 พฤษภาคม ทั้งนี้มติต่าง ๆที่ได้เสนอในที่ประชุมยังต้องมีการพิจารณาต่อไปสักระยะหนึ่งก่อนที่จะบังคับใช้เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรกและจะตามมาด้วยเศรษฐกิจ รัฐบาลยังคงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนต่อไปในการปฎิบัติตามมาตรการต่าง ๆในช่วงนี้เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสต่อไป

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/30/77273/

วิกฤติโควิด-19 สกัดหลายประเทศอาเซียนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง

รายงานของบริษัทวิจัยด้านเศรษฐกิจ Capital Economics ชี้ว่า การระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก อาจส่งผลให้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8 จาก 10 ประเทศ มีการเจริญเติบโตติดลบ ยกเว้นแค่ 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และเมียนมา โดย Capital Economics คาดการณ์ว่ามูลค่าผลผลิตรวมหรือ จีดีพี ของอาเซียนจะลดลงราว 10% ในปีนี้ จากที่เพิ่มขึ้นราว 5% เมื่อปีที่แล้ว โดยคาดว่า มาเลเซีย ฟิลิิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย จะมีการหดตัวของเศรษฐกิจมากที่สุดในอาเซียน มาจากการถดถอยของภาคการท่องเที่ยว ภาคการผลิต และการส่งออก ล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเหล่านี้ ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยในประเทศก็ลดลงในช่วงที่รัฐบาลใช้มาตรการล็อคดาวน์เช่นกัน นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลงยังส่งผลกระทบต่อรายได้ของบรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลักด้วย รายงานคาดว่า อัตราการเจริญเติบโตที่ลดลงนี้จะทำให้หลายประเทศในอาเซียนยังไม่สามารถขยับขึ้นไปอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางได้ในปีนี้

ที่มา : https://www.voathai.com/a/asean-middle-income-status-coronavirus/5395838.html

Covid-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าในกัมพูชากว่า 130 แห่ง

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าของกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่องกับการส่งออกที่ได้รับผลกระทบในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกล่าวว่ามีโรงงานถึง 130 โรงงานที่ยื่นขอให้ระงับการผลิตและส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 100,000 ราย ซึ่งสำหรับไตรมาสที่สองของปีนี้การส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าจะลดลง 50 ถึง 60% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในปัจจุบันกัมพูชายังไม่ได้รับคำสั่งซื้อใดๆ จากผู้ซื้อในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนรวมถึงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักในไตรมาสที่สองของปีนี้ สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางการตลาดหลักสำหรับการส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ CoVid-19 ด้วย โดยรัฐบาลและเจ้าของโรงงานตกลงที่จะให้ค่าจ้างขั้นต่ำ 70 เหรียญสหรัฐต่อเดือนสำหรับพนักงานที่ถูกระงับแต่ละราย ซึ่งรัฐบาลให้เงินสนับสนุน 40 เหรียญสหรัฐส่วนที่เหลืออีก 30 เหรียญสหรัฐจะเป็นภาระของเจ้าของโรงงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50717977/coronavirus-takes-its-toll-on-garment-industry-with-130-factories-suspending-operations-affecting-100000-workers/

ธนาคารกลางเมียนมาลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1.5% เป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 27 เมษายน 63 ที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของ COVID-19  CBM ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก 0.5 % ในวันที่ 12 มีนาคม ครั้งที่สองในวันที่ 24 มีนาคม และวันที่ 27 เมษายน 63 รวมเป็น 3% ภายในสองเดือน การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคาดว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้กู้และช่วยผลักดันเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-cuts-interest-rates-again.html

โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3100)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เรื่อง COVID-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก โดยระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ CLMV ผ่านทางการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในธุรกิจท่องเที่ยว และภาคการส่งออก โดยประเทศที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งได้รับผลกระทบในเชิงลบมาก      

  • กัมพูชา เป็นประเทศที่ได้รับรับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศทั้งในธุรกิจท่องเที่ยวและภาคการส่งออก โดยคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะหดตัวประมาณ 60% ในปีนี้ ส่วนภาคการส่งออกนั้น กัมพูชายังพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาด EU และสหรัฐฯ มากที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม EU คือประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มากที่สุดในเวลานี้ จึงคาดว่ามูลค่าส่งออกจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจกัมพูชาโดยรวมจะหดตัวกว่า 0.9% ในปี 2563
  • เวียดนาม เวียดนามได้รับผลกระทบปานกลาง เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในภาคการส่งออกเท่านั้น และยังโชคดีที่ เวียดนามมีประเทศคู่ค้าหลักที่หลากหลายทำให้การกระจายความเสี่ยงในการส่งออกค่อนข้างดี ประกอบกับสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะได้รับอานิสงค์จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปด้วยการทำงานที่บ้าน (Work From Home) จึงทำให้อุปสงค์ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้น และทำให้ภาพรวมการส่งออกของเวียดนามหดตัวไม่มากนัก คาดว่ามูลค่าการส่งออกของเวียดนามจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ประกอบรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบเงินให้เปล่า และการลดภาษี คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะยังคงเติบโตได้ในระดับ 3.6% ในปีนี้
  •  เมียนมา  เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เพราะมีรายได้จากภาคการส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเมียนมาก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของเมียนมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ สินค้าส่งออกสำคัญอันดับสองของเมียนมา คือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ก็ได้รับผลกระทบหนักทั้งจากการปิดโรงงานในจีน และจากอุปสงค์สินค้าที่ลดลงในตลาด EU จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกของเมียนมาจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม EU ได้จัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน (Quick Assistance Fund) มูลค่า 500 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมสิ่งทอในเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะช่วยอุดหนุนการจ้างงานและการบริโภคของครัวเรือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉินของ EU ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1% ของ GDP จะช่วยพยุงรายได้ของประชาชน และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเมียนมาก็ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม จึงคาดว่าในภาพรวมเศรษฐกิจเมียนมาจะยังเติบโตได้ในระดับ 4.3% ในปี 2563
  • สปป.ลาว ก็เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้พึ่งพารายได้จากธุรกิจท่องเที่ยว หรือภาคการส่งออกมากนัก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจท่องเที่ยวของลาวพึ่งพานักท่องเที่ยวไทยมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักที่สุดในอาเซียนในปีนี้ จึงคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวของลาวน่าจะได้รับผลกระทบหนักตามไปด้วย ส่วนภาคการส่งออกของสปป.ลาวคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ยังโชคดีที่ ภาคการส่งออกของสปป.ลาวส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานกับผู้คนจำนวนมาก ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวก็เพิ่งเริ่มพัฒนาและยังมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ GDP จึงทำให้รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ยังคงดำเนินไปตามกำหนดการเดิม จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มากนัก เมื่อดูภาพรวมแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะยังเติบโตได้ในระดับ 3.9% ในปี 2563

แม้ว่าวิกฤตโควิด-19 จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทLกลุ่ม CLMV อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ แต่เศรษฐกิจ CLMV ก็ยังสามารถเติบโตได้ในระดับ 3.4% ในปีนี้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจ CLMV ดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ระดับ 6.4% ในปี 2564และ 6.5% ในปี 2565

ที่มา : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3100.aspx

อัพเดท สถานการณ์ COVID-19 เวียดนาม วันที่ 23.04.2563

พัฒนาการที่สำคัญดังนี้

  • เวียดนามยังไม่พบผู้ติดเชื้อ
  • เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2563 นายกรัฐมนตรีเวียดนามเห็นชอบให้ลดระดับกรุงฮานอยนครโฮจิมินห์ จ.บั๊กนิงห์ จ.เหิ่วซาง จากกลุ่มเมืองจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงมาก เป็น ความเสี่ยงปานกลาง และผ่อนผันมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม
  • กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้เพิ่มเที่ยวบินระหว่างกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์ และเปิดเส้นทางบินภายในประเทศระหว่างจังหวัดอื่นๆ
  • โรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยในกรุงฮานอยเตรียมจะเปิดเรียนในวันที่ 4 พ.ค. 2563 สำหรับโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมจะเปิดเรียนในวันที่ 11 พ.ค. 2563
  • รัฐบาลเวียดนามเห็นชอบแผนงานที่จะเลื่อนการจัดเก็บภาษีเงินได้และค่าเช่าที่ดินเป็นเงิน 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ยอดผู้ติดเชื้อCOVID-19 ของสปป.ลาวจนถึงขณะนี้ยังไม่มีกรณีขพบผู้ป่วยรายใหม่

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 ที่หน่วยปฏิบัติการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข COVID-19 กระทรวงสาธารณสุขจัดแถลงข่าวรายงานสถานการณ์ของ COVID-19 ในการแถลงมีใจความสำคัญถึงยอดผู้ติดเชื้อและมาตราการต่างๆที่ยังคงต้องดำเนินต่อไป ดร. รัตนเกตุพันธุ์ ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคติดเชื้อกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า “เราจะไม่ลดมาตรการเฝ้าระวังเพื่อระบุผู้ต้องสงสัยที่ติดเชื้อและสำหรับผู้ที่เดินทางข้ามชายแดนใหม่จะต้องดำเนินมาตรการจากประเทศต้นเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด” นอกจากนี้ตามจังหวัดและรอยต่อพรหมแดนต่างๆ ยังมีการขยายระยะการ Lockdown ออกไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมเพื่อให้มั่นใจว่าสปป.ลาวจะไม่กลับมาติดเชื้อรอบใหม่เพราะหากเกิดการแพร่เชื้อรอบใหม่จะสร้างผลกระทบที่รุนแรงแก่ระบบสุขภาพและเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/27/77144/

กัมพูชาส่งออกไปยังไทยเพิ่มขึ้น 115%

การส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีการขนส่งที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการค้าข้ามพรมแดนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมปีนี้การส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาไปยังประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่า 612 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 115% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยข้อมูลจากทางการของกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาระบุว่ากัมพูชานำเข้าสินค้า 1,891 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบเป็นรายปี ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ในช่วงสามเดือนแรกเป็น 2,503 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการค้าทวิภาคีที่เพิ่มขึ้นระหว่างสองประเทศสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสองประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยเป็นสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่ของการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศไทยในขณะที่การส่งออกของไทยไปยังกัมพูชาส่วนใหญ่ประกอบด้วยแหล่งพลังงาน ปุ๋ยการเกษตร ปูนซีเมนต์ อาหารและเครื่องสำอาง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50717339/cambodias-exports-to-thailand-soar-115-percent/

ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชายังคงเติบโตภายใต้การระบาดของ Covid-19

ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ดูดีในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาแม้จะมีการระบาดทั่วโลกของไวรัส Covid-19 โดยดัชนี CSX ดีดตัวขึ้นสูงสุดที่ 700 จุด ตามข้อมูลภายในระยะเวลาสองเดือนดัชนีได้แสดงความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญเริ่มลดลงจาก 704.74 จุดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์จนกระทั่งอยู่ที่ประมาณ 590 จุดในช่วงต้นเดือนเมษายน นับตั้งแต่กลางเดือนเมษายนที่ผ่านมามีการเติบโตที่แข็งแกร่งจนกระทั่งฟื้นตัวกลับมาเป็น 703.24 จุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นของ PWSA, GTI และ PAS นั้นเพิ่มขึ้น 2.51% โดยมีระดับสูงถึง 6,000 riels, 4,000 riels และ 17,540 riels ตามลำดับจากข้อมูลของ CSX โดยมองว่าหลังจากการระบาดของ COVID-19 สิ้นสุดลงจะส่งผลทำให้ราคาหลักทรัพย์ในตลาดเพิ่มขึ้นอีก ขณะนี้มี 5 บริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ Sihanoukville Autonomous port, Phnom Penh Special Economic Zone, Phnom Penh Autonomous Port, Grand Twin International Cambodia and Phnom Penh Water Supply Authority.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50717297/securities-market-grows-despite-the-pandemic/