‘เวียดนาม’ เผยเดือน พ.ค. ส่งออกดิ่ง 6.4% ขณะที่ผลผลิตอุตฯ พุ่ง 5.8%

สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) รายงานข้อมูลของรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ว่าการส่งออกของเวียดนาม มีมูลค่าอยู่ที่ 306 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง 6.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ระบุว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 3.45% จากปีก่อนหน้า

ที่มา : https://www.reuters.com/markets/asia/vietnams-year-to-date-exports-down-64-nov-industrial-output-up-58-2023-11-29/

เมียนมาร์ให้ความสำคัญกับเวียดนามในการส่งออกน้ำตาล

เมียนมาร์หันมาให้ความสำคัญกับเวียดนามในการส่งออกน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อน้ำตาลจำนวน 10,000 ตันจากเวียดนาม ตามการระบุของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลและอ้อยของเมียนมาร์ โดยเมียนมาร์วางแผนที่จะส่งออกน้ำตาลไปยังบังกลาเทศ อินโดนีเซีย และต่างประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากการบริโภคในประเทศ ในขณะที่การส่งออกน้ำตาลไปยังเวียดนามจะถูกจัดเตรียมก่อนเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ทั้งนี้ การดำเนินการบดอ้อยของเมียนมาร์ดำเนินไปอย่างเต็มที่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งมีผลผลิตอ้อยประมาณ 400,000 ตันต่อปี อย่างไรก็ดี น้ำตาลล็อตใหม่จะเริ่มไหลเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ เดือนธันวาคมปีนี้ นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลขึ้นราคาอ้อยเป็น 150,000 จ๊าดต่อตันสำหรับฤดูอ้อยปี 2566-2567 จากอัตราที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 110,000 จ๊าดต่อตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-prioritize-viet-nam-for-sugar-export/#article-title

การส่งออกภาคการผลิตของเมียนมาร์มีมูลค่า 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนเม.ย.-ต.ค

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ เผยสถิติของมูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตว่า มีมูลค่าถึง 5.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2565-2566 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ทั้งนี้ ตัวเลขในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่ามูลค่าการส่งออกของภาคการผลิตลดลงมากถึง 1.45 พันล้านดอลลาร์ หากเทียบกับ 7 พันล้านดอลลาร์ ที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้า โดยในบรรดาสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ในอันดับที่ 1 รวมถึงก๊าซธรรมชาติและแร่ธาตุ ในขณะเดียวกันเมียนมาร์มีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปเป็นหลัก กับคู่ค้าต่างประเทศ ในขณะที่มีการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลักเช่นกัน  อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ได้ดำเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อสนับสนุนการส่งออก ซึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญตามนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-exports-earn-us5-5-bln-in-apr-oct/#article-title

สปป.ลาว มีแผนส่งเสริมการส่งออก ‘ผลิตภัณฑ์จากไม้’ ไปยังตลาดสหภาพยุโรป

กรมป่าไม้ของสปป.ลาว กำลังวางแผนที่จะส่งเสริมธุรกิจไม้แปรรูปเพื่อการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป (EU) และได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ไปยังตลาดสหภาพยุโรป ทั้งคำสั่งและกฎระเบียบ ตลอดจนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีศักยภาพสูงในด้านความต้องการและมูลค่า และครอบคลุมถึงขั้นตอนของสหภาพยุโรป เช่น ข้อกำหนดสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของศัตรูพืช และการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ ตามรายงานของสำนักข่าวใน สปป.ลาว กล่าวถึงความต้องการผลิตภัณฑ์ไม้จากสหภาพยุโรปที่มีมากขึ้น จะทำให้ลาวมีโอกาสสำหรับการขยายธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ที่มา : https://scandasia.com/laos-plans-to-boost-wood-export-to-eu-markets/

‘เวียดนาม’ เผยยอดค้าระหว่างประเทศ ต.ค. ส่งสัญญาณบวก

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าการส่งออกของเวียดนามในเดือนต.ค.66 มีมูลค่า 32.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 5.3% เมื่อเทียบจากเดือนก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 29.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2.9% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ การส่งออกของเวียดนามในช่วง 10 เดือนของปีนี้ มีมูลค่า 291.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 7.1% การนำเข้า มีมูลค่า 266.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 12.3% อีกทั้ง สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีมูลค่าการค้า 78.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ตลาดจีนเป็นผู้บริโภคสินค้าเวียดนามรายใหญ่ที่สุด มีมูลค่า 89.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/trade-turnover-in-october-continues-to-see-positive-signs-post1055876.vov

‘GDP เวียดนาม’ ปี 67 โต 6.5% เหตุส่งออกฟื้นตัว

วินาแคปปิตอล กรุ๊ป (VinaCapital Group) บริษัทจัดการกองทุนเวียดนาม คาดการณ์ว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปี 2567 จะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า โดยได้แรงหนุนมาจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออก และได้ตั้งข้อสังเกตว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามเป็นไปในเชิงบวก จากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมที่เป็นแรงผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามในปีหน้า

ทั้งนี้ สินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ในช่วงปลายปีที่แล้ว สาเหตุสำคัญมาจากธุรกิจต่างๆ สั่งซื้อมากจนเกินไปในช่วงห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก เนื่องจากโควิด-19 ในปี 2564 และความคาดหวังว่ามีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังวิกฤตโควิด แต่ว่าไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้

ด้วยเหตุนี้ บริษัทสหรัฐฯ จึงต้องจัดการกับสินค้าคงคลังส่วนเกินตลอดทั้งปีนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังสิ้นสุดลงแล้ว แสดงให้เห็นว่ายอดคำสั่งซื้อและผลผลิตในเวียดนามจะกลับมาฟื้นตัว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-gdp-growth-to-rebound-to-65-in-2024-vinacapital/270154.vnp

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ สปป.ลาว เดินหน้าแก้ไข‘ปัญหาท่าเรือทางบก’

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ สปป.ลาว เริ่มดำเนินแผนงานปรับปรุงกระบวนการนำเข้าและส่งออกในท่าเรือทางบกทั่วประเทศ ทั้งการจัดการปัญหาการทุจริตและกระบวนการขนส่งข้ามแดนที่ยุ่งยาก โดยแบ่งระยะของแผนงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ปี 2566 มีเป้าหมายที่จะแก้ไขโครงสร้างการเก็บค่าธรรมเนียมและทบทวนระบบการจัดการงานข้ามหน่วยงาน ระยะที่ 2 ช่วงกลางปี 2567 จะทำการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องและกำหนดหลักการที่เป็นเอกภาพ และระยะยาวในช่วงสิ้นปี 2567 จะมุ่งเน้นการสร้างระบบวิธีการจัดการที่เหมาะสมและเชื่อมโยงการทำงานกับภาคีการค้าต่างประเทศ
เพื่อปรับปรุงข้อตกลงการขนส่งในระดับทวิภาคีและไตรภาคีระหว่างลาว จีน และไทย

ที่มา : http://: https://laotiantimes.com/2023/10/18/laos-ministry-of-industry-and-commerce-works-to-address-land-port-issues/

เมียนมามีรายได้จากมูลค่าการค้าต่างประเทศกว่า 16,551.306 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดช่วงระยะเวลามากกว่า 6 เดือนในปีงบประมาณ 2023-2024

จากวันที่ 1 เมษายน 2566 – 6 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาเมียนมามีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,712.336 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 7,838.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีดุลการค้าแบบขาดดุลอยู่ที่ 873.366 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย เมียนมามีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี สินค้าเพื่อการลงทุน วัตถุดิบเชิงพาณิชย์ สินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบสินค้าตัดเย็บ หรือ CMP (cut-make-package) โดยนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการส่งออกของเมียนมาร์ตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (National Export Strategy : NES) ปี 2020-2025 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้

อย่างไรก็ดี ภาคส่วนที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ NES 2020-2025 ได้แก่ ภาคการผลิตอาหารจากการเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมและไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ และอื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us16551-306-mln-earned-from-foreign-trade-volume-in-more-than-six-months-period-in-2023-24-fy/

ญี่ปุ่นพร้อมนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกัมพูชาเพิ่มขึ้น

เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา Ueno Atsushi เรียกร้องให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกัมพูชาปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานการส่งออกมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มการส่งออกสินค้าไปยังตลาดญี่ปุ่น โดยปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรของกัมพูชาไปยังตลาดญี่ปุ่นมีสัดส่วนอยู่เพียงเล็กน้อย แต่ในอนาคตญี่ปุ่นพร้อมที่จะทำการนำเข้ามากขึ้นหากสินค้ามีมาตรฐานเป็นไปตามกำหนด ซึ่งกัมพูชาและญี่ปุ่นเป็นสมาชิกภายใต้ความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ได้มีผลบังคับใช้ในต้นปี 2022 โดยญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าหลักของกัมพูชา ซึ่งในปี 2022 กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่ารวมกว่า 1.93 พันล้านดอลลาร์ ไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามรายงานขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ขณะที่การนำเข้าของญี่ปุ่นจากกัมพูชาคิดเป็นมูลค่า 515 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501366903/japan-ready-to-buy-more-cambodian-agri-products/

‘เมียนมา’ มุ่งเจาะตลาดบังกลาเทศ ขายข้าวแบบจีทูจี

สำนักงานส่งเสริมการค้าของเมียนมา เปิดเผยว่าบังกลาเทศยื่นข้อเสนอให้มีการซื้อข้าวจากเมียนมา เนื่องจากข้าวมีคุณภาพดีและจะทำการขายข้าวรูปแบบของรัฐบาลต่อรัฐบาล (G-to-G) ในปีนี้ โดยข้อตกลงในครั้งนี้จะกำหนดราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพเมล็ดข้าว นอกจากนี้ หลังจากอินเดียระงับการส่งออกข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงสุด ด้วยเหตุนี้ ประเทศในภูมิภาคเอเชียต่างจับตาทิศทางตลาดข้าวของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-aimed-for-bangladesh-market-under-g-to-g-pact-2/#article-title