เมียนมาปล่อยเงินกู้รอบสองกว่า 100 พันล้านจัตให้ธุรกิจสู้ภัยโควิด

รัฐบาลได้เริ่มจ่ายเงินกู้จำนวน 20,700 ล้านจัตเพื่อช่วยเหลือบริษัทมากกว่า 10,000 แห่งที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รวมถึงบริษัทที่อยู่นอกย่างกุ้ง เงินเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณจำนวน 1 แสนล้านจัต รอบที่ 2 ของรัฐบาลเมียนมา ซึ่งจากธุรกิจ 10,000 แห่ง มากกว่า 7,600 แห่งมาจากภูมิภาคและรัฐอื่น ๆ โดยเงินจะจ่ายล็อตแรกให้กับธุรกิจ 1,041 แห่ง จะมีเพียง 180 แห่งที่เป็นธุรกิจในย่างกุ้ง ซึ่งเงินกู้ถูกจ่ายไปใน 9 ภาคธุรกิจจะถูกรวมอยู่ในเงินล็อตที่ 2 ได้แก่ เกษตรกรรม ปศุสัตว์และประมง การส่งออก การทดแทนการนำเข้า ห่วงโซ่อุปทาน อาหาร บริการการจัดหางานในต่างประเทศและอาชีพ โดยระยะเวลาการกู้ยืม 12 เดือนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 กลุ่มธุรกิจแรกที่ได้รับ ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ และธุรกิจอาหาร ภายใต้กองทุน 100 พันล้านจัตล็อตแรกได้จ่ายให้กับผู้ที่สมัครเข้ามา 3,393 จากผู้สมัครมากกว่า 4250 คน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-commences-second-k100b-covid-19-loan-business.html

นักลงทุนญี่ปุ่นเล็งกลยุทธ์จับพาร์ทเนอร์ M&A ในเวียดนาม

ผู้ประกอบการญี่ปุ่นจำนวนมากเล็งซื้อบริษัทไอทีเวียดนามจากการควบรวมกิจการ (M&A) เพื่อขยายการผลิตและธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากธุรกิจด้านไอทีแล้ว นักลงทุนญี่ปุ่นยังสนใจในสาขาธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน อาหารทะเลแปรรูปและเภสัชกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมการสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ธุรกิจ เพื่อความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ระบุว่าตัวเลขของผู้ประกอบการญี่ปุ่น 1,400 ราย จาก 3,500 รายที่ทำการสำรวจในปี 2562 พบว่านักธุรกิจญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต้องการขยายการผลิตไปเวียดนามอีก 3 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-investors-seek-ma-partners-in-vietnam/181587.vnp

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของกัมพูชามีความยืดหยุ่นมากขึ้นจากกรณีศึกษา

ดัชนีความยืดหยุ่นโลกในปี 2020 แสดงให้เห็นว่าอันดับของกัมพูชาขยับขึ้นจากปีที่แล้ว โดยในปีนี้กัมพูชาได้คะแนนรวม 28.9 คะแนน จาก 100 คะแนน โดยอยู่ในอันดับที่ 112 ของโลก ซึ่งปีที่แล้วกัมพูชาได้รับคะแนนอยู่ที่ 21.7 และติดอันดับ 114 จาก 130 ประเทศ จากการศึกษาในครั้งนี้ โดยการศึกษาดังกล่าวดำเนินการโดย FM Global บริษัท ประกันภัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา (US) ซึ่งการศึกษานี้วัดความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของประเทศโดยพิจารณาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความเสี่ยงและห่วงโซ่อุปทาน 12 ประการ โดยการศึกษานี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าเศรษฐกิจและธุรกิจของกัมพูชาจะผ่านวิกฤต COVID-19 ไปได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Kevin Ingram รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ FM Global มองว่าความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้คน ประเทศและธุรกิจ การจัดอันดับประเทศในดัชนี 2020 Global Resilience Index เป็นเครื่องบ่งชี้ที่ดีว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในแต่ละประเทศ แต่ละภาคธุรกิจจะเป็นอย่างไรและองค์กรมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วเพียงใดหลังจากที่เกิดการระเบิดทางเศรษฐกิจของ Covid-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737968/business-environment-becoming-more-resilient-study/

ธุรกิจเวียดนาม 8 ราย ได้รับอนุญาตนำเข้าสุกรจากไทย

จากรายงานของกรมอนามัยสัตว์เวียดนาม ภายใต้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่ามีผู้ประกอบการเวียดนาม 8 รายที่ได้รับอนุญาติในการนำเข้าสุกรมีชีวิตจากประเทศไทย จำนวนมากกว่า 1.9 ล้านตัว ซึ่งปัจจุบัน มีธุรกิจรายหนึ่งได้ทำการกักกันสุกรที่นำเข้าจากไทย เพื่อเตรียมเชือดเป็นอาหาร อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น ทางกระทรวงอนุญาตให้สามารถนำเข้าสุกรมีชีวิตจากประเทศไทยได้ เพื่อที่จะเพาะพันธุ์และเชือดเป็นอาหาร ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. นอกจากนี้ กรมอนามัยสัตว์ได้ออกแนวทางเกี่ยวกับมาตรการ/กฎระเบียบสุขอนามัยของการนำเข้าสุกร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาคของโรคระบาดสัตว์และสร้างความมั่นใจถึงสถานะของฝูงสัตว์ในประเทศ นับว่าเป็นครั้งแรกที่เวียดนามอนุญาติให้มีการนำเข้าสุกรมีชีวิต

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/eight-vietnamese-businesses-eligible-to-import-pigs-from-thailand-415032.vov

ธุรกิจฮานอยกว่า 4,000 ราย ระงับการดำเนินงานชั่วคราว เหตุโควิด-19

ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ผู้ประกอบการลงทะเบียนเพื่อหยุดการดำเนินงานจำนวน 4,240 ราย เนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขผู้ว่างงานที่ยื่นขอประกันจำนวนมากกว่า 13,200 ราย ถึงอย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในภูมิภาค (GRDP) ขยายตัวร้อยละ 3.72 ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องชะลอการผลิตหรือหยุดการดำเนินงานชั่วคราว ทั้งนี้ เพื่อขจัดอุปสรรคในการทำธุรกิจ ต้องร่วมกันส่งเสริมการผลิตและกิจกรรมทางธุรกิจ ประกอบกับเมืองหลวงต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เพื่อจะบรรเทาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/over-4000-hanoi-businesses-suspend-operations-due-to-covid19-413664.vov

Covid-19 ส่งผลต่อยอดขายของภาคธุรกิจในสปป.ลาว

ผู้ค้าปลีกในเวียงจันทน์กำลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งทำให้ยอดขายลดลงและยังส่งผลให้มีการเลื่อนงานแสดงสินค้าและนิทรรศการออกไปหลายงาน แม้ว่าห้างสรรพสินค้ากำลังดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด แต่ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มจำนวนผู้มาเที่ยวห้าง โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมายอดขายของผู้ประกอบการลดลงร้อยละ 70 ในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบช่องทางการชายไปเน้นทางการขายออนไลน์มากขึ้น ในปีนี้ภาคธุรกิจต้องรับมือกับสถานการณ์ที่อาจมีผลต่อธุรกิจ ทั้งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั่วโลกล้วนมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของคนในสปป.ลาว ภาครัฐควรมีนโยบายในการเข้ามาช่วยสนับสนุนธุรกิจในขณะนี้ทั้งนี้ในส่วนธุรกิจเองก็ควรมีการรับมือและปรับตัวให้สามารถผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้  

ที่มา  : http://annx.asianews.network/content/covid-19-vendors-unable-sell-wares-make-profit-115471

ธุรกิจที่จัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้น แต่เงินทุนกลับลดลง ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีธุรกิจจัดตั้งใหม่ 17,400 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 และธุรกิจที่กลับมาดำเนินกิจการ 11,900 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินทุนจดทะเบียนใหม่รวมอยู่ที่ 956 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวนคนงาน 157,500 คน ลดลงร้อยละ 11.1 และ 3.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ สำหรับธุรกิจที่หยุดดำเนินกิจการมีอยู่ประมาณ 16,200 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 9,163 ราย คิดเป็นมูลค่าทุนจดทะเบียน 96.8 ล้านล้านด่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว หากจำแนกภาคเศรษฐกิจ พบว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ของภาคเกษตรกรรม 265 ราย, ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 4,700 ราย และภาคบริการ 12,500 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3, 8.4 และ 9.2 ตามลำดับ นอกจากนี้ จากข้อมูลของ CIEM ระบุว่าภาครัฐจำเป็นต้องเร่งปฏิรูปและการให้บริการในการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่และทำให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโต

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/652980/newly-established-firms-up-but-capital-down-in-two-months.html

หลวงพระบางเมืองตัวอย่างการปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจ

เจ้าหน้าที่ของเมืองหลวงพระบางได้เป็นผู้นำในการปรับปรุงกระบวนการอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจหลังจากที่รัฐบาลสั่งให้หน่วยงานของรัฐปรับปรุงสภาพธุรกิจทั่วประเทศ โดยสรุปกระบวนการใหม่ที่สปป.ลาวและธุรกิจต่างประเทศต้องปฏิบัติตามเพื่อตั้งค่าการดำเนินงานตามประกาศ ขณะนี้มีเพียง 3 ขั้นตอนในการเริ่มต้นธุรกิจในสปป.ลาว คือการได้รับใบรับรองการลงทะเบียนขององค์กร ได้รับการประทับตราองค์กรและการลงทะเบียนสำหรับประกันสังคม ซึ่งหลังจากได้รับแบบฟอร์มใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วเจ้าหน้าที่จะต้องออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนองค์กรหรือบัตรประจำตัวองค์กรให้กับผู้ประกอบการธุรกิจภายใน 10 วัน การลดเวลาในการออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนองค์กร การออกใบอนุญาตให้ธุรกิจใช้ตราประทับของตนเจ้าหน้าที่ไม่ควรใช้เวลาเกิน 5 วันในการพิจารณาคำขอ และใช้เวลาไม่เกินกว่า 2 วันในการพิจารณาการออกทะเบียนประกันสังคมของบริษัท รัฐบาลได้เริ่มนโยบายเพื่อปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจทั่วประเทศ โดยเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุนในประเทศและต่างประเทศรวมถึงการสร้างงานและรายได้ การริเริ่มของเมืองหลวงพระบางเพื่อปฏิรูปการจดทะเบียนองค์กรเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ อีกทั้งรัฐบาลกำลังปรับปรุงกลไกที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ได้ อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการได้รับใบรับรองการลงทะเบียนขององค์กร ผู้ประกอบการจะต้องได้รับใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/luang-prabang-city-sets-example-business-climate-improvement-113159