ไฟเขียวต่างชาติลงทุนไทย มิ.ย.63 จำนวน 22 ราย

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่า เดือนมิ.ย.2563 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 22 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน มีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจ 1,587 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 3,575 คน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศและการถ่ายเทสารเคมีในหอกลั่นสูงที่มีความกดอากาศตามมาตรฐานยุโรป องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้หลักการแลกเปลี่ยนความร้อน (HRSG system) องค์ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อออกแบบและพัฒนาคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ และโปรแกรมเพื่อการตรวจและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสินทรัพย์ เป็นต้น สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการโดยเป็นคู่สัญญากับเอกชน จำนวน 4 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และจีน มีเงินลงทุนจำนวน 542 ล้านบาท 2.ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 6 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ มีเงินลงทุนจำนวน 632 ล้านบาท 3.ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 7 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์  มีเงินลงทุนจำนวน 181 ล้านบาท  4.ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศสวิส ซามัว อังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีเงินลงทุนจำนวน 232 ล้านบาท ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/888887?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เมียนมาจับมือสิงคโปร์พัฒนาโครงการสาธารณูปโภคขั้นสูง

กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม (MOPFI) เลื่อนการดำเนินการตามโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ธนาคารโครงการเมียนมาโดยร่วมมือกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Infra Asia) ของสิงคโปร์ โดยอินฟราเอเชียกำลังทำงานร่วมกับ บริษัท นิวย่างกุ้งดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (NYDC) เพื่อแบ่งปันความรู้เชิงวิชาการและแนวการปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างประเทศในการพัฒนาเมืองย่างกุ้งใหม่ การประเมินขอบเขตสำหรับการพัฒนาแหล่งจ่ายไฟและการจัดจำหน่าย การจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างพื้นฐานการเพื่อเชื่อมต่อไซเบอร์ ธนาคารโครงการเมียนมาเป็นแพลตฟอร์มของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพ การประสานงาน และความโปร่งใสของโครงการลงทุนที่สำคัญในเมียนมา จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้จัดทำโครงการพัฒนาระดับชาติ 58 โครงการในธนาคารโครงการเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-collaborate-singapore-advance-infrastructure-projects.html

MAI ให้ความช่วยเหลือชาวเมียนมาที่กักกันตัวในสิงคโปร์

Myanmar Airways International (MAI) ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวเมียนมากกว่า 800 คนที่ถูกกักกันในสิงคโปร์จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 สายการบินให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำเพื่ออพยพชาวเมียนมาในต่างประเทศและมีพระสงฆ์มากกว่า 500 รูปจากกรุงเทพฯ ธากา กัวลาลัมเปอร์ และกายะ ทั้งนี้ยังอพยพคนงานชาวเมียนมากว่า 6,000 คนที่ถูกค้ามนุษย์ในอินโดนีเซียและมาเลเซียโดยความร่วมมือของ KBZ Bank โดยใช้เงินจำนวน 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ MAI, Air KBZ, KBZ Bank, KBZ MS General Insurance และ KBZ Life บริจาคเงินกว่า 3.3914 พันล้านจัตเพื่อป้องกันและควบคุม COVID-19 จนถึง 7 พฤษภาคม 2020

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mai-assists-quarantined-myanmar-citizens-in-singapore

สิงคโปร์เตรียมพร้อมจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีโควิด-19

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ กล่าวในการเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าของ NTUC Fariprice ย่าน Joo Koon เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ว่า ชาวสิงคโปร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมในการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาย COVID-19 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องเตรียมใจให้พร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ รวมถึงสิงคโปร์ต้องปรับโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีอุปทานที่เพียงพอในประเทศ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของโลกเกิดภาวะชะงักตัวลง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังและตรวจสอบสถานที่กระจายสินค้า โดยยกตัวอย่าง ในอดีตสิงคโปร์นำเข้าข้าวส่วนมากมาจากไทยหรือเวียดนาม แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าข้าวมาจากญี่ปุ่นหรืออินเดียด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่ค้าของสิงคโปร์ โดยมองหาผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศที่ไกลออกไปเพื่อช่วยให้สิงคโปร์กระจายความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หรือสินค้าในกลุ่มประเภทบะหมี่ต่าง ๆ ที่สิงคโปร์มีทั้งการนำเข้าและมีการผลิตในประเทศ ทำให้ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าประเภทนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะสามารถผลิตในสิงคโปร์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังคน แต่จะเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในรายการสินค้าสำคัญที่จำเป็นสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการ

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=9769&index

ธุรกิจสิงคโปร์ค้นหาซัพพลายเออร์สินค้าเกษตรจากเวียดนาม

คณะผู้แทนจากสิงคโปร์เข้าเยี่ยมชมเวียดนาม ในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อค้นหาซัพพลายเออร์ผักและผลไม้และเน้นในการร่วมมือธุรกิจ ตลอดจนการถ่ายทอดโอนเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าเกษตร เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดการนำเข้าจากจีนลดลง ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MOIT) ระบุว่าปัจจัยข้างต้นอาจจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมของเวียดนามจากการแพร่ระบาดชองไวรัส ทำให้ภาคธุรกิจของสิงคโปร์ต้องหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม เพื่อรองรับทางการค้าหยุดชะงักกับจีน ประกอบกับสิงคโปร์เป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร ด้วยโอกาสนี้ เวียดนามขยายการส่งออกผักผลไม้ไปยังสิงคโปร์และลดการค้ากับจีน นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติศุลกากร แสดงให้เห็นว่าในเดือนม.ค. มีมูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนก่อนหน้า สำหรับตลาดนำเข้าผักผลไม้รายใหญ๋ที่สุดของเวียดนาม ได้แก่ จีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.8 ของมูลค่าส่งออกผักผลไม้ทั้งหมด แต่ในเดือน ม.ค. มูลค่าการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 32.4 ด้วยมูลค่า 173.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/622670/singapore-firms-seek-suppliers-of-agricultural-products-in-viet-nam.html

สถานทูตสิงคโปร์เสนอจัดเทศกาลศิลปะบนท้องถนนในกัมพูชา

กระทรวงการท่องเที่ยวและสถานทูตสิงคโปร์กำลังพิจารณาจัดเทศกาล Street Art ณ กรุงพนมเปญในเดือนกุมภาพันธ์เพื่อฉลองครบรอบ 55 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต โดยเทศกาลนี้จะมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกับเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำกัมพูชากล่าวว่าสิงคโปร์กำลังมองหาการสนับสนุนจากกระทรวงการท่องเที่ยวของกัมพูชาและกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์เพื่อจัดงาน โดยผู้คนจะสามารถเข้าร่วมงานแสดงศิลปะจากศิลปินหลากหลายท่านและเพลิดเพลินไปกับอาหารและเครื่องดื่มภายในงาน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวยินดีรับพิจารณาเพราะความคิดริเริ่มของโครงการนี้คล้ายกับสิ่งที่กระทรวงกำลังดำเนินการอยู่ในบางประเด็นเช่นเดียวกับเทศกาล Food Street Festival ที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยเชื่อว่าเทศกาลสตรีทอาร์ตจะส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ในกัมพูชาและจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ ในขณะที่กระทรวงกำลังจัดทำโครงการ Food Street ซึ่งจะรวบรวมผู้ค้าอาหารในท้องถิ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50663743/singapore-embassy-proposes-street-art-festival/

ไขกุญแจความสำเร็จโครงการมิกซ์ยูสในสิงคโปร์ สู่โอกาสการลงทุนในเวียดนาม

โครงการมิกซ์ยูสกำลังเป็นที่น่าสนใจของเวียดนามในตอนนี้ โดยมี 3 ส่วนที่ร่วมกันผลักดันคือ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตแบบ (live – work – play) ในสถานที่เดียว สำหรับปัจจัยความสำเร็จคือ การผสมผสานกันของประเภทอสังหาฯ ทำเล และระบบขนส่งสาธารณะ ยกตัวอย่างของ Marina Bay Sands ในสิงคโปร์ โดยรัฐบาลเวียดนามเล็งการพัฒนาโครงการที่แขวงถูเทียม นครโฮจิมินห์ เพื่อรองรับการขยายพื้นที่ CBD (Central Business District) มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมและลดระยะเวลาของเมืองถูเทียมกับ CBD เช่น สร้างอุโมงค์และสะพาน ส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่ง 40% แต่สิ่งที่พึงระวังคือ การลงทุนเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุนสูงและมีความซับซ้อน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการจัดการเงินทุน เลือกผู้ร่วมลงทุนที่สอดคล้องกับประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ส่วนการลงทุนในต่างประเทศควรดูเงื่อนไขการลงทุน กฎหมาย การจัดการที่ดิน และมาตรการการส่งเสริมภาครัฐเป็นสำคัญ