เวียดนามเผยตลาดอีคอมเมิรซ์อาจขาดทุน 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุโควิด-19

ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซของเวียดนามอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง คาดว่าจะสูญเสียรายได้ถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงอัตราการเติบโตของรายได้ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในปี 2562 รายได้จากยอดขายอีคอมเมิร์ซ B2C อยู่ที่ 10.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.9 ของยอดค้าปลีกและบริการรวม ในขณะที่อัตราการซื้อของออนไลน์ถึงร้อยละ 42 ปัจจัยดังกล่าวทำให้รายได้ของอีคอมเมิร์ซสูงถึง 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลต่อการประมาณการครั้งใหญ่ นอกจากนี้ จากผลการสำรวจ ระบุว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 57 สร้างรายได้จากตลาดอีคอมเมิร์ซต่ำกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 24 สร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 51

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-e-commerce-market-may-lose-us26-billion-on-covid-19-314570.html

ตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามโต 25% ปี 2562

จากรายงาน “e-Commerce White Book 2020” ของหน่วยงานเศรษฐกิจดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซเวียดนาม (iDEA) เปิดเผยว่าในปี 2562 รายได้ของธุรกิจ B2C อยู่ที่ 10.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ซึ่งจำนวนคนช้อปปิ้งออนไลน์ที่ 44.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 225 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว สูงกว่าเมื่อเทียบกับปี 2561 ราว 23 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ทางผู้อำนวยการของ iDEA กล่าวว่าในปี 2562 เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซเวียดนาม เมื่อเวียดนามดำเนินตามแผ่นแม่บทที่รัฐบาลตั้งไว้แก่อีคอมเมิร์ซในปี 2559-2563 อีกทั้ง เวียดนามตั้งเป้าการเติบโตของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซที่ร้อยละ 25 ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ในปัจจุบัน เวียดนามเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุด ติดอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/e-commerce-revenue-grows-25-percent-in-2019/180457.vnp

เจาะลึก การตลาดดิจิทัลเวียดนาม โอกาสดีห้ามมองข้ามเด็ดขาด

โดย เอเจนซี่การตลาดดิจิทัลเวียดนาม

หากคุณอยากจะขยับขยายธุรกิจของคุณออกไปยังประเทศแถบอาเซียน ประเทศเวียดนาม คือตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างมาก ที่คุณจะบุกเข้าไปตีตลาดด้วยกลยุทธ์ การตลาดดิจิทัลเวียดนาม เพราะเป็นหนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ประเทศที่มีการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไวที่สุดในอาเซียน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเวียดนามมีมูลค่าทางการค้ารวมสูงถึง 517,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยจำนวนประชากรกว่า 97 ล้านคน ส่วน GDP เวียดนามในปี 2562 อยู่ที่ 7.02% ซึ่งเกินเป้าหมาย 6.8% ที่รัฐบาลตั้งเอาไว้

ปัจจัยของความน่าดึงดูดตลาดดิจิทัลเวียดนาม ได้แก่

  • การเข้าถึงของอินเทอร์เน็ต
  • ความนิยมของโซเชียลมีเดีย
  • E-Commerce ในเวียดนาม

กลยุทธ์น่าสนใจสำหรับการทำตลาดดิจิทัลเวียดนาม ได้แก่

  • กลยุทธ์การทำตลาดอินฟลูเอนเซอร์เวียดนาม
  • กลยุทธ์การตลาดเครื่องมือค้นห
  • กลยุทธ์การตลาดโซเชียลมีเดีย

ที่มา : https://www.ihdigital.co.th/go-vietnam-digital-marketing/

ยอดขายซุปเปอร์มาร์เก็ตพุ่งสูงขึ้น ขณะที่ตลาดสดดิ่งลง

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่ารายได้ของธุรกิจภาคการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการสินค้าจำเป็นมากยิ่งขึ้น โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่คนซื้อ คือกลุ่มอาหารที่จำเป็น ได้แก่ ปศุสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ไข่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและผัก เป็นต้น สำหรับทางฝั่งซุปเปอร์มาร์เก็จยังคงต้องส่งเสริมช่องทางอีคอมเมิร์ซ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้คนเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว เพราะว่าราคาอาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ตหลังจากช่วงปีใหม่ ยังมีเสถียรภาพอยู่และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตลาดสด สำหรับปริมาณขายสินค้าของตลาด ลดลงร้อยละ 50-70 ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 50-80 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดไวรัส นอกจากนี้ ลูกค้ายังคงกังวลที่จะไปยังสถานที่แออัด ดังนั้น รายได้จากอีคอมเมิร์ซของบางธุรกิจนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sales-at-supermarkets-surge-wet-markets-drop/170116.vnp

ตลาด ‘อีคอมเมิร์ซเวียดนาม’ แตะระดับมากกว่า 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566

จากข้อมูลของ GlobalData คาดการณ์ว่ามูลค่าของตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามอยู่ที่ 17.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2562 ราว 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย GlobalData เป็นบริษัทวิเคราะห์และจัดหาข้อมูล ระบุว่าอัตราการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 16.3 และมองว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามเพิ่มขึ้นมาเป็น 2 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจากการใช้จ่ายออนไลน์ ด้วยมูลค่าของตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 จนมาถึงในปี 2562 อยู่ที่ 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ผลสำรวจของบริษัท GlobalData แสดงให้เห็นว่าการชำระผ่านเงินสดยังคงเป็นช่องทางการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.6 ของการทำธุรกรรมบนอีคอมเมิรซ์ และ MoMo เป็นช่องทางการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเวียดนาม รองลงมา Paypal นอกจากนี้ บริษัทระดับโลกได้ส่งเสริมการลงทุนไปยังกลุ่มบริษัทอีคอมเมิร์ซเวียดนาม ได้แก่ TiKi ได้รับเงินทุน 5.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากบริษัท VNG Corporation และอีก 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากนักลงทุนชาวจีน (JD.com)

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/8479702-vietnam%E2%80%99s-e-commerce-market-to-surpass-us$17-billion-in-2023.html

โครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซสำหรับ SMEs ในกัมพูชา

กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัว “Go4eCam” ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออีคอมเมิร์ซสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของประเทศซึ่งเป็นภาคที่กำลังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งโครงการมีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐระยะเวลาของโครงการประมาณสามเดือนและมีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการในกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างประเทศและรัฐบาล ที่เรียกว่า Enhanced Integrated Framework (EIF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ให้การสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการค้าใน 48 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงประเทศกัมพูชา โดยได้มอบเงินช่วยเหลือประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับโครงการ ซึ่งส่วนอื่นมาจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและรัฐบาลกัมพูชา โดยกัมพูชามีธุรกิจ SMEs กว่า 500,000 รายซึ่งแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร 150,000 ราย สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารตามที่สมาคมสมาพันธ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งกัมพูชาคาดการณ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686950/pilot-project-to-boost-e-commerce-for-kingdoms-smes

คาด อีคอมเมิร์ซ ไทยปี 63 โต 7.48 แสนล้านบาท

เปิดแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยปี 63 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งอาเซียน เติบโตกว่า 7.48 แสนล้านบาท ผลพวงห้างร้านใช้ชื้อขายรับส่งสินค้าผ่านบริการออนไลน์  รายงานข่าวจากสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สำคัญในปี 63 ของไทย ว่า ในปีนี้ธุรกิจการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (อี-คอมเมิร์ซ) จะเป็นกลุ่มธุรกิจดิจิทัลที่มาแรงและมีการเติบโตสูง คิดเป็นมูลค่า 748,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 1 ของมูลค่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ในภูมิภาคอาเซียน โดยใน 60-62 ที่ผ่านมา มีการประมาณอัตราการเติบโตเฉลี่ยของตลาดอยู่ที่ 20-30% กลุ่มธุรกิจที่เติบโต คือ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหาร และธุรกิจด้านเครื่องสำอางและอาหารเสริม เป็นผลมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีด้านการซื้อขายและรับส่งสินค้าผ่านบริการออนไลน์ เช่น ไลน์แมน และแกร็ป โดยเฉพาะไลน์แมน พบว่า มียอดการใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 300% และมีผู้ใช้บริการ 1.5 ล้านคนต่อเดือนภายในระยะเวลา 2 ปี ส่วนอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ถูกผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็วมาก คือ อุตสาหกรรมโทรทัศน์ ที่มูลค่าลดลงจาก 115,000 ล้านบาท ในปี 57 เหลือเพียง 57,000 ล้านบาทในปี 61 ที่ผ่านมา และยังสูญเสียผู้รับชมจนกระทั่งมีการคืนใบอนุญาตดิจิทัลทีวี ซึ่งเป็นผลมาจากการทดแทนของเน็ตฟลิกซ์ และยูทูป ที่เริ่มลงทุนให้บริการและผลิตเนื้อหาสำหรับประเทศไทย ชณะที่อุตสาหกรรมการเงิน ก็ได้รับผลกระทบ ด้วยระบบการชำระเงินดิจิทัล จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทยปี 62 ระบุว่า จำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ลดลงจาก 7,016 สาขาในปี 59 เหลืออยู่ที่ 6,534 สาขาในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/751386

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภาคชนบทได้รับทุนสนับสนุน

ตลาดเกิดใหม่เมียนมา (EME- พม่า) มีบริษัทอีคอมเมิร์ซสำหรับร้านค้าปลีกในชนบทที่ตั้งอยู่ในย่างกุ้ง โดยมีตัวเลขการลงทุนรวมหกหลักแต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผย Ezay ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคมเริ่มต้นด้วยการให้บริการแพลตฟอร์มมือถือสำหรับลูกค้าที่จะซื้อหุ้นใหม่จากผู้ค้าส่งรวมถึงจัดส่งสินค้าออนไลน์ แทนที่จะมาร้านค้าด้วยตัวเอง เพื่อเชื่อมโยงผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกผ่านแพลตฟอร์มมือถือ ทำให้การส่งมอบสินค้าสู่ร้านค้าปลีกทำได้ง่ายขึ้น สามารถแก้ปัญหานี้ในชนบททั่วประเทศ ผลตอบรับเป็นไปในเชิงบวกจากผู้ค้าปลีกว่ามีความสะดวกสบาย การจัดส่งและราคาไม่ต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับออฟไลน์มากนัก บริษัทวางแผนขยายธุรกิจในเมียนมาให้เร็วมากกว่านี้ และพัฒนาด้านซัพพลายเชนการค้าปลีกและสร้างความพึงพอใจของลูกค้า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเมียนมายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่มีมูลค่าตลาด 6 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามการช็อปปิ้งออนไลน์บนโซเชียลมีเดียนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นเนื่องจากบัญชี Facebook มีมากกว่า 85% ของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดของประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/rural-e-commerce-startup-secures-funding.html

บริษัทอีคอมเมิร์ซ “เซนโด” ระดมทุนไปกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ

เซนโด (Sendo) เป็นผู้ให้บริการด้านไอทีใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยการมุ่งเน้นไปยังเมืองใหญ่ในระดับ “Tier 2” ประกอบกับเป็นแหล่งตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีผู้เยี่ยมชนมากที่สุดในอันดับที่ 2 ของอีคอมเมิรซ์ในเวียดนาม ด้วยการระดมแหล่งเงินทุนในระดับ “Series C” ไปกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากการแถลงข่าวของบริษัทเซนโด ในวันพุธที่ผ่านมา เปิดเผยว่าการลงทุนดังกล่าว มาจากผู้ถือหุ้นรายเดิมและนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงกองทุนอินโดนีเซีย EV Growth และกลุ่มเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งการระดมทุนในครั้งนี้ จะนำมาขยายแพลตฟอร์มแบบบูรณาการ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3/2562 เซนโดแซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tiki ที่อยู่ในอันดับที่ 2 ของตลาดอีคอมเมิรซ์เวียดนามที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุด ขณะที่ ช้อปปี้ (Shopee) ยังคงขึ้นแท่นผู้นำในประเทศอยู่

https://english.vov.vn/economy/ecommerce-firm-sendo-nets-61-mln-in-latest-funding-round-406468.vovที่มา :

การแข่งขันของธุรกิจขนส่งสินค้า “อีคอมเมิร์ซเวียดนาม” มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ‘ช้อปปี้’ (Shopee) ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวแพ็กเกจการให้บริการชุดใหญ่ อย่างไม่คาดถึง ด้วยลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าผ่านบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ และเลือกบริการขนส่งสินค้าแกร็บ (Grab) ซึ่งจะได้รับการบริการจัดส่งฟรี และได้รับสิทธิพิเศษของมูลค่าสินค้าสูงถึง 200,000 ด่อง ทั้งนี้ แพ็กเกจและโปรโมชั่นดังกล่าว จะสามารถใช้เฉพาะในเขตของนครโฮจิมินห์และฮานอยเท่านั้น และระยะเวลาในการส่งมอบภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในปี 2561 จากรายงานของบริษัท Google และ Temasek ระบุว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีอัตราการเติบโต (CAGR) ร้อยละ 35 ต่อปี ในช่วงปี 2558-2561 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คำนวณเฉพาะมูลค่าของ B2C เท่านั้น) ประกอบกับคนเวียดนามมีความต้องการสินค้าและความใจร้อนสูงมาก โดยทาง MoIT คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะมีมูลค่าราว 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ecommerce-delivery-battle-in-vietnam-becomes-more-costly-406314.vov