เดือนก.ย.65 เมียนมาส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศ โกยรายได้กว่า 2.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศคิดเป็นมูลค่า 2.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านด่านชายแดนชเวมิงกันของเมืองซิตเวย์มูลค่า 1.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และด่านชายแดนกันยินชวงของเมืองหม่องตอมูลค่า 0.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชายแดนหม่องตอได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและปัญหาคมนาคมที่แออัด ดังนั้นการค้าผ่านชายซิตเวย์จึงเพิ่มขึ้น และที่ผ่านมาเมียนมาได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด โดยมีสินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ทั้งนี้ ในการส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศ ประกอบไปด้วย ปลาจะละเม็ดขาว ปลากะตัก ปลาแห้ง ถั่ว มะพร้าว ลูกเนียง ไม้กวาด เห็ด ขิง หัวหอม ถั่วชิกพี พลัมแห้ง เมล็ดมะขาม รองเท้า ชุดลองยี (ชุดประจำชาติของเมียนมา)  ทานาคา กาแฟสำเร็จรูป เมล็ดทานตะวัน และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในขณะเดียวกัน สินค้านำเข้า คือเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ท่อพีวีซี ถังเก็บน้ำพลาสติก และปั๊มน้ำแบบโยก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-2-11-mln-from-exports-to-bangladesh-in-sept/

14 ต.ค. 65 ค้าต่างประเทศเมียนมา พุ่ง ! 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การค้าระหว่างประเทศ ระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 14 ตุลาคม 2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 พุ่งขึ้นถึง 18.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 15.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นการส่งออก 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ในขณะที่การนำเข้า 9.147 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการค้าทางทะเล 13.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และชายแดน 4.344 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญคือ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-surges-to-over-18-bln-as-of-14-october/#article-title

เมียนมาเดินหน้าจัดเทศกาลดอกไม้ หวังฟื้นฟูการท่องเที่ยว หลังพิษ COVID-19 กระทบหนัก

เมียนมาเตรียมจัดเทศกาลดอกไม้ ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2566 ในเขตมัณฑะเลย์ตอนกลางของเมียนมา เพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวหลังจากที่ได้ยกเลิกการจัดงานมาตั้งแต่ปี 2563 – 2564 ภายหลังจากได้รับผลกระทบ COVID-19  ระบาดหนัก โดยภายในงานจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น ตลาดนัดขายสินค้าพื้นเมือง ผ้าสเวตเตอร์ งานหัตถกรรมและของที่ระลึก การประกวดแข่งขันกล้วยไม้ การประกวดตกแต่งดอกไม้ การประกวดภาพถ่าย และรกิจกรรมบันเทิงต่างๆ จากข้อมูล ยังพบว่า ประเทศในอาเซียนได้กลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเมียนมาเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภาคการท่องเที่ยวของเมียนมาได้หยุดนิ่งเนื่องมาจากการระบาด COVID-19

ที่มา : https://english.news.cn/asiapacific/20221020/c338003b8f2a48bcbe74dc43738f4955/c.html

ราคาพริกสด พุ่งถึง 23,000 000 จัตต่อ viss

ในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2565 ราคาพริกสดในตลาดสดของย่างกุ้งเริ่มขายไม่ได้เพราะราคาพุ่งสูงขึ้น และกลางเดือนที่ผ่านมา ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 14,500 ถึง 23,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ ในขณะที่พริกสดแช่เย็นราคาช่วงต้นเดือนกันยายน อยู่ระหว่าง 14,000-16,000 จัตต่อ viss ราคาพุ่งเป็น 19,000-19,500 จัตต่อ viss ในช่วงกลางเดือน ทั้งนี้ ความต้องการของไทยยังมีอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ในวันที่ 13 กันยายน ราคาพริกสดจะอยู่ระหว่าง 17,500-19,500 จัตต่อ viss แต่เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ที่ผ่านมาราคาพุ่งขึ้นเป็น 20,000-23,000 จัตต่อ viss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chilli-pepper-price-soars-to-k23000-per-viss/#article-title

ส่งออกทางทะเลของเมียนมาผ่านท่าเรือย่างกุ้งเพิ่มมากขึ้น

ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ฤดูมรสุมได้สิ้นสุดลงการค้าระหว่างประเทศของเมียนมาผ่านทางทะเล ณ ท่าเรือย่างกุ้งกลับสู่ภาวะปกติและพบว่าปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีเรือทั้งหมด 23 ลำ จอดที่ท่าเรือย่างกุ่งเมื่อวานนี้ (17 ตุลาคม 2565) ส่วนใหญ่เมียนมานำเข้าปุ๋ยต่างๆ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ยาและเวชภัณฑ์ อาหาร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร วัสดุก่อสร้าง และโพลิโพรพิลีน ส่วนการส่งออกจะประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ทางทะเล เสื้อผ้าสำเร็จรูป พืชผล ผลิตภัณฑ์จากป่า และยาง โดยใช้เรือคอนเทนเนอร์ในการขนสินค้า ปัจจุบันประเทศส่งออกสินค้าจะใช้เรือขนส่งสินค้าทั่วไปจำนวน 15 ลำ รวมถึงเรือบรรทุกข้าว 3 ลำ และเรือบรรทุกข้าวโพด 4 ลำไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนและยุโรป นอกจากนี้ เรือที่ใช้บรรทุกปุ๋ย ซีเมนต์ เครื่องจักรหนัก น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันประกอบอาหาร ยังเทียบท่าที่ท่าเรือติละวาและท่าเรือย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-maritime-export-volumes-via-yangon-port-increase/

 

ครึ่งปีแรกของงบฯ 65 – 66 เมียนมาจัดออกมะพร้าว 319 ตัน ไปบังกลาเทศผ่านชายแดนมองดอ

ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 เมียนมาส่งออกมะพร้าว 319 ตัน มูลค่าประมาณ 0.128 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปบังกลาเทศผ่านชายแดนมองดอ ส่วนใหญ่แล้วบังคลาเทศจะใช้มะพร้าวในการประกอบพิธีทางศาสนานอกเหนือจากการใช้บริโภค ซึ่งมะพร้าวที่ส่งออกมี 3 ประเภทที่ปลูกในรัฐยะไข่ตอนใต้บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและบริเวณชายฝั่งของเมียนมา ได้แก่ พันธ์ต้นสูง พันธ์ต้นเตี้ย และมะพร้าวไฟ (มะพร้าวสีส้ม)  โดยพันธ์ต้นสูงจะใช้เวลาปลูกและเก็บเกี่ยวได้ภายใน 7 – 10 ปี พันธุ์ต้นเตี้ย 3 – 5 ปี และมะพร้าวไฟ 5 – 7 ปี ซึ่งมะพร้าว 1 ต้นสามารถให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 100 ลูก ส่วนใหญ่แล้วมะพร้าวที่ส่งออกไปยังบังคลาเทศ จะปลูกในภูมิภาคย่างกุ้ง และรัฐยะไข่ได้แก่ เมีองมะนัง เมืองเจาะพยู และเมืองตาน-ดแว โดยทำการส่งออกผ่านชายแดนมองดอของรัฐยะไข่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-319-tonnes-of-coconut-to-bangladesh-via-maungtaw-trade-post-in-h1/

 

ส่งออกชายแดนเมียวดีของเมียนมา ดิ่งลงต่อเนื่อง ลดฮวบกว่า 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงเศรษฐกิจและการพาณิชย์ของเมียนมา เผยตัวเลขการค้าชายแดนเมียวดียังคงดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเทียบกับปีที่แล้วลดลงมากกว่า 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากข้อมูลยังพบอีกว่า การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังไทยลดลงตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของเมียนมาที่ให้ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ แทนเงินจัตในการการส่งออก โดยในปีงบประมาณ 2563-2564 การค้าทวิภาคีระหว่างเมียนมาและไทย พบว่ามูลค่าการส่งออกของเมียนมาอยู่ที่ 3,287 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าจะอยู่ที่ 2,523 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงเดือนกันยายน 2563 ของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าโดยรวมระหว่างเมียนมาและไทย พบว่าเป็นการส่งออก 3,095.988 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 2521.925 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/238700

ราคาข้าวโพดเมียนมา ดิ่งฮวบ จากความต้องการต่างประเทศที่หดตัว

Mandalay Commodity Centre เผย ตลาดข้าวโพดในประเทศค่อนข้างซบเซาและราคาเริ่มลดลงเนื่องจากความต้องการของต่างประเทศที่เริ่มลดลงนั่นเอง เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ราคาข้าวโพดค่อยๆ ดิ่งลงเหลือ 1,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) ที่ผ่านมา ไทยผู้นำเข้ารายใหญ่ของเมียนมาไฟเขียวนำเข้าข้าวโพดภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคม 2565 แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังไทยได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุดร้อยละ 73 สำหรับการนำเข้าข้าวโพดเพื่อคุ้มครองเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในประเทศ ส่งผลให้ราคาข้าวโพดใยนมาตกต่ำลง  ที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตัน ตลาดสำคัญได้แก่ ไทย จีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/corn-prices-tumbling-due-to-lack-of-foreign-demand/#article-title