ธนาคารโลกจัดหาเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในสปป.ลาว

ธนาคารโลกได้อนุมัติเงินสำรองฉุกเฉินจำนวน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในสปป.ลาวเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของ Covid-19 การระดมทุนจะดำเนินการผ่านโครงการ ‘Micro, Small, and Medium Enterprise Access to Finance Emergency Support and Recovery Project’ ของธนาคารโลกซึ่งจะทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและสถาบันการเงินในท้องถิ่น เพื่อให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งมีโอกาสได้รับเงินกู้เงินทุนหมุนเวียนที่สามารถรักษาธุรกิจของตน เพื่อการลงทุนสำหรับอุปกรณ์ใหม่หรือการขยายโรงงาน ทั้งนี้บริษัทเผชิญกับการลดลงอย่างรวดเร็วของอุปสงค์ รายได้ ซัพพลายเชน และการท่องเที่ยวต้องหยุดชะงัก ส่งผลผลให้บริษัทหลายแห่งจะเลิกจ้างพนักงานและจะต้องปิดถาวร โครงการใหม่นี้จะช่วยให้ MSME ปกป้องการดำรงชีวิตของพนักงานและลดปัญหาการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ธนาคารโลกจะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธนาคารแห่งสปป. ลาวในการกำกับดูแลระบบค้ำประกันสินเชื่อจะช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ภายใต้โครงการ นอกจากนี้จะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธนาคารพาณิชย์ บริษัทขนาดเล็ก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและสถาบันอื่น ๆ ที่เข้าร่วม โดยธุรกิจต้องจดทะเบียนบริษัทขนาดย่อย ขนาดเล็ก หรือองค์กรเอกชนขนาด จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินกู้ภายใต้โครงการ การตัดสินใจในการให้สินเชื่อและการกำหนดราคาของเงินให้สินเชื่อจะให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมเป็นผู้พิจารณาจากการประเมินเครดิตของตนเอง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Worldl_209.php

รัฐบาลเมียนมาไฟเขียว Ywama ปรับปรุงโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติ

กระทรวงพลังงานและพลังงาน (MOEE) ได้ยกระดับการสร้างโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมก๊าซ – กังหันแบบที่เมือง Ywama และเมืองย่างกุ้ง โรงไฟฟ้าแห่งนี้ธนาคารโลกจัดหาเงินเพื่อสนับสนุนราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐเพื่อการปรับปรุง โดยใช้เวลา 36 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยได้รับการพัฒนาภายใต้การร่วมทุนประกอบด้วยกลุ่มบริษัท Eden Group และรัฐบาลเมียนมา นักลงทุนยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมประมูลโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 30 โครงการซึ่งสามารถผลิตได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ในเดือนพฤษภาคม โดยการกำหนดระยะการประกวดราคาได้ขยายจากวันที่ 17 มิถุนายน – 17 กรกฎาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-greenlights-ywama-gas-plant-upgrade.html

ธนาคารโลกและพันธมิตรมอบเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่สปป.ลาวในการควบคุม COVID-19

กระทรวงสาธารณสุขธนาคารโลกและสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย เยอรมนีและญี่ปุ่นมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านศูนย์อำนวยการฉุกเฉินโรคระบาด (PEF) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองของลาวต่อ COVID-19 ดร. Bounkong Syhavong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า “รัฐบาลสปป.ลาวกำลังใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อจัดการกับการระบาดของ COVID-19 การสนับสนุนจากพันธมิตรจะช่วยให้สปป.ลาวผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างดี” เงินช่วยเหลือจะถูกส่งตรงไปยังองค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก PEF โดยเงินทุนร้อยละ 80 จากกองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งจะดำเนินการจัดหาเงินทุนและการส่งมอบวัคซีนเพื่อให้แน่ใจว่าบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นจะดำเนินต่อไป อีกร้อยละ 20 จะไปที่องค์การอนามัยโลกโดยตรงเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านสุขภาพของสปป.ลาวในการตอบสนอง COVID-19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Worldbank135.php

เมียนมาลงทุนสร้างห้องเย็น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเงินกู้ของธนาคารโลก

กองปศุสัตว์และสัตวแพทย์ของเมียนมาเผยมีการกู้ยืมเงิน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อสร้างห้องเย็นสำหรับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในย่างกุ้ง เขตพะโค และเขตอิระวดี ซึ่ง Covid-19 ส่งผลต่อต่อภาคปศุสัตว์ของเมียนมา เพราะการหมุนเวียนของสินค้าล่าช้าเนื่องจากมีห้องเย็นไม่เพียงพอ จากข้อมูลพบว่าประเทศเพื่อนบ้านมีสินค้าส่วนเกินจากปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ผลิตเมื่อเกิดโรคทำให้สินค้าใกล้หมดอายุและไม่เหมาะกับการบริโภค ซึ่งสินค้าเหล่านี้กำลังถูกนำเข้าทางชายแดนอย่างผิดกฏหมาย สหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาได้กำหนดรายชื่อผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายแล้ว เช่น ไก่สด (เนื้อและไข่) ไก่เนื้อ ไก่แช่แข็ง ไส้กรอก ไข่ ลูกหมู หมู และหมูแช่แข็ง มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อยู่ระหว่าง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 13 ล้านดอลลาร์จากปีงบประมาณ 2548-2549 จนถึงปี 2560-2561 หลังจากการผ่อนปรนข้อจำกัดรัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกสัตว์มีชีวิตได้ซึ่งได้รับความร่วมมือของผู้ประกอบการ ส่วนมูลค่าการส่งออกในรอบปีเพิ่มขึ้นเป็น 562.859 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cold-storage-factories-to-be-built-with-4m-world-bank-loan

ธนาคารโลกชี้ปี 63 เศรษฐกิจเมียนจะชะลอ แต่จะเริ่มฟื้นในปีหน้า

รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของธนาคารโลก แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจเมียนมาคาดชะลอตัวลงถึง 1.5% ในปี 2563 เนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่สามารถฟื้นตัวได้ถึง 6% ในปี 2564 หากการระบาดถูกควบคุมและการค้าโลกมาเป็นปกติ ปัจจุบันเมียนมาให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการค้าและการลงทุนด้วยนโยบายที่ยืดหยุ่นในการกระตุ้นการเงินแก่ธุรกิจและส่งเสริมแพลตฟอร์มดิจิทัลภายใต้แผนบรรเทาเศรษฐกิจของ COVID – 19 (CERP) นอกจากนี้ยังสร้างความมั่นใจในการไหลเวียนของสินค้าสำคัญ เช่น อาหาร สินค้ายาและเวชภัณฑ์ในระยะสั้น ส่งเสริมการลงทุนและร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระยะยาว การลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-growth-slow-2020-rebound-next-year-world-bank-says.html

ธนาคารโลกคาดการณ์เศรษฐกิจลาวปี 2563 จะเติบโตร้อยละ 1

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ธนาคารโลก ประจำ สปป. ลาวได้เผยแพร่รายงาน Lao Economic Monitor ฉบับล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและหนี้สินของสปป. ลาวในปี 2563 โดยคาดว่าเศรษฐกิจลาวจะขยายตัวร้อยละ 1 ในกรณีที่การแพร่ระบาดไม่รุนแรง และอาจจะหดตัวติดลบร้อยละ 1.8 ในกรณีรุนแรง ด้านการขาดดุลงบประมาณปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 – 8.8 ของ GDP (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.1 เมื่อปี 2562) ด้านหนี้สินปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65 – 68 ของ GDP (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59 เมื่อปี 2562) และด้านเงินสำรองระหว่างประเทศปี 2563 จะลดลง โดยครอบคลุมการนำเข้าน้อยกว่าหนึ่งเดือน

การแพร่ระบาดดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานและการขจัดความยากจน เนื่องจากภาคการขนส่ง การท่องเที่ยว การบริการ และการโรงแรมมีผลประกอบการลดลงอย่างมาก ทำให้เกิดการว่างงานคิดเป็นร้อยละ 11

ของการจ้างงานทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 22 ของการจ้างงานในเขตตัวเมือง ทั้งนี้ คาดว่าจะมีประชากรประมาณ 96,000 – 214,000 คน จะพบประสบความยากจน สปป. ลาวจำเป็นต้องลงทุนในการสร้างระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง เพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอต่อการให้บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ

ที่มา : https://globthailand.com/laos-01062020/

แรงงานท้องถิ่นในกัมพูชาเสี่ยงตกงานถึง 1.76 ล้านคน

ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตของกัมพูชาจะชะชอตัวลงมาอยู่ที่ระหว่างร้อยละ -1 ถึง -2.9 โดยมีความเสี่ยงในภาคแรงงานอย่างน้อย 1.76 ล้าน ตำแหน่งตามรายงานเศรษฐกิจล่าสุดของธนาคารโลก ซึ่งรายงานเรื่อง “Economic Update for Cambodia in a time of COVID-19” แสดงให้เห็นว่าความยากจนในกัมพูชามีโอกาสเพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือนในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ระหว่างร้อยละ 3 – 11 สูงกว่าระดับในปัจจุบัน ด้วยการขาดดุลทางการคลังของประเทศอาจถึงระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภายในปี 2565 นอกจากนี้ยังเตือนว่าเงินทุนไหลเข้าจะลดลง ซึ่งจะก่อให้เกิดการผ่อนคลายของราคาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยสินเชื่อที่ขยายตัวในปัจจุบันสำหรับภาคการก่อสร้าง โดยการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนและการคุ้มครองสุขภาพของคนในประเทศในระยะสั้น จะช่วยหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและส่งเสริมความยืดหยุ่นทางการคลังและสังคมในระยะกลาง ซึ่งประสิทธิผลของการแทรกแซงของรัฐบาลจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728835/report-1-76m-local-jobs-at-risksreport-1-76-million-local-jobs-at-risk/

ธนาคารโลกอนุมัติเงินช่วยเหลือ 15 ล้านดอลลาร์ สำหรับระบบการศึกษาในกัมพูชา

คณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกได้อนุมัติสินเชื่อจำนวน 15 ล้านดอลลาร์ จากสมาคมการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) สำหรับโครงการสร้างเสริมความรู้ทางการศึกษาก่อนการให้การบริการสำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพของกัมพูชาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาก่อนการบริการด้านสุขภาพภายในประเทศที่ดีขึ้น โดยกัมพูชาประสบปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพโดยเฉพาะในภาครัฐ กัมพูชามีแพทย์เพียง 1.4 คน และพยาบาล 9.5 คน ต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งอัตราส่วนเหล่านี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็น คือแพทย์ 9 คน และพยาบาล 19 คน ต่อประชากร 10,000 คน ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยโครงการนี้จะสนับสนุนฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อช่วยให้สาธารณสุขภายในประเทศดีขึ้น รวมถึงกฎระเบียบและมาตรฐานเพื่อการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728651/world-bank-approves-15-million-aid-for-cambodias-education-system-for-health-professionals/

ธนาคารโลกเผยข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA ยกระดับการส่งออกเวียดนาม 12% ปี 2573

ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ว่าข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) จะช่วยให้เศรษฐกิจเวียดนามและยอดส่งออก เติบโตร้อยละ 2.4 และ 12 ตามลำดับ ภายในปี 2573 ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) โดยข้อตกลงดังกล่าวคาดว่ามีโอกาสที่จะขยับผู้คนให้ออกมาจากความยากจน ประมาณ 100,000-800,000 คน ทั้งนี้ ธนาคารโลกมองว่าเวียดนามจะได้รับผลประโยชน์มากขึ้นจากการเข้าร่วมข้อตกลง EVFTA และ CPTPP หากดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยรวมและสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิด (Rules of Orgin) เป็นหนึ่งในสิ่งที่ท้าทายอย่างมากของเวียดนาม เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบมาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ทางกระทรวงการค้าฯ ได้ร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปีนี้ เพิ่มส่งเสริมและปรับแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาฉบับปี 2553

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/wb-evfta-could-lift-vietnams-exports-by-12-by-2030-414153.vov

ธนาคารโลกปล่อยสินเชื่อภาคเกษตรให้เมียนมา

เมียนมาได้รับเงินกู้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารโลก เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและการเกษตรในเมียนมา เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การดูแลปศุสัตว์ การช่วยเหลือทางการเงินสำหรับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และการขับเคลื่อนโภชนาการในชนบท การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2562 และอีกครั้งในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-receive-agriculture-loan-world-bank.html