“เวียดนาม” เผยไตรมาส 1/66 รายได้เฉลี่ยของแรงงานพุ่งสูงขึ้น

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 รายได้เฉลี่ยของแรงงานอยู่ที่ 7 ล้านดองต่อคน เพิ่มขึ้น 640,000 ดองเมื่อกับปีที่แล้ว โดยตัวแทนของสำนักงานสถิติประชากรศาสตร์และแรงงาน กล่าวว่าแรงงานมีรายได้เฉลี่ย 7 ล้านดองต่อเดือนในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ และในจำนวนแรงงานดังกล่าว รายได้เฉลี่ยต่อของแรงงานเพศชายอยู่ที่ 8 ล้านล้านดองต่อเดือน สูงกว่า 1.36 เท่า หากเทียบกับรายได้เฉลี่ยของแรงงานเพศหญิงที่ 5.9 ล้านดองต่อเดือน ตามมาด้วยรายได้เฉลี่ยของแรงงานที่อยู่ในเมืองอยู่ที่ 8.6 ล้านดองต่อเดือน ในขณะที่รายได้เฉลี่ยของแรงงานที่อยู่ในชนบทมีเพียง 6.1 ล้านดองต่อเดือน

ทั้งนี้ แรงงานที่อยู่ในภาคบริการพบว่ามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุด อยู่ที่ 8.3 ล้านดองต่อคน เพิ่มขึ้น 10.1% หรือราย 766,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่แรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม มีรายได้เพียง 4.1 ล้านดองต่อคน และ 7.9 ล้านดองต่อคน ตามลำดับ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/employees-average-income-rises-in-q1/

“ตลาดแรงงานเวียดนาม” ไตรมาสแรกปี 66 ฟื้นตัวต่อเนื่อง

คุณ Nguyen Trung Tien รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าตลาดแรงงานในเวียดนามยังคงรักษาระดับของโมเมนตัมการฟื้นตัวได้ในไตรมาสแรกของปี 2566 ในขณะที่ คุณ Pham Hoai Nam ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติประชากรและแรงงาน กล่าวเสริมว่าอัตราการว่างงานในวัยทำงานลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 52.2 ล้านคน สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ 88,700 คน และเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านคนเมื่อเทียบกับปืที่แล้ว ตามมาด้วยผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปและมีงานทำ มีจำนวน 51.1 ล้านคน สูงกว่าปีที่แล้วที่มีจำนวน 1.1 ล้านคน ทั้งนี้ จำนวนผู้ตกงานในวัยทำงาน มีจำนวนราว 885,500 คน ลดลง 12,400 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่จำนวนผู้ว่างงาน อยู่ที่ 1.05 ล้านคน ลดลง 34,600 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/labour-market-continues-recovering-in-q1/251136.vnp

“เวียดนาม” เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1/2566 หดตัวลง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ปรับตัวลดลง 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อภาคการผลิตในประเทศและการดำเนินกิจการ โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ลดลงมากที่สุด 4.4% รองลงมาภาคการผลิตและแปรรูป 2.4% ในขณะที่ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าลดลง 1% อย่างไรก็ดี ภาคการจัดหาน้ำ บำบัดน้ำเสียและการจัดการ เพิ่มขึ้น 7% ตลอดจนดัชนีการอุปโภคของภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ส่งผลให้สินค้าคงคลังในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 19.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และจากสถานการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตและธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมาก นอกจากนี้ การแข่งขันทางเศรษฐกิจและสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรง รวมถึงความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาเชื้อเพลิงและต้นทุนโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/industrial-production-index-fell-in-q1-post1012161.vov

“เวียดนาม” ชี้เดือน มี.ค. ส่งออกพุ่ง 13.5%

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าการส่งออกในเดือนมีนาคม มีมูลค่าอยู่ที่ 29.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.5% จากเดือนก่อนหน้า ในขณะเดียวกัน มูลค่าการการนำเข้าอยู่ที่ 28.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.4% จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกรวมในไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ 79.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 11.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่าที่ 75.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 14.7% ส่งผลให้ในไตรมาสแรก เวียดนามเกินดุลการค้า 4.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnams-export-revenue-up-135-in-march-customs-data-post123884.html

“ADB” คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนาม ปี 66 โต 6.5%

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) คาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2566 ปรับชะลอตัวเล็กน้อย 6.5% ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้น 6.8% ในปีหน้า และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 4.5% ในปีนี้ ทั้งนี้ นาย แอนดรูว์ เจฟฟรีส์ (Andrew Jeffries) ผู้อำนวยการ ADB ประจำเวียดนาม กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะถูกจำกัดในปีนี้ เนื่องจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ความเข็มงวดทางการเงินและผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ทั่วโลก อย่างไรก็ดาม ยังได้มีการเน้นย้ำถึงการลงทุนของภาครัฐฯ ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศและการเติบโตในปีหน้า ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงทำการเบิกจ่ายงบประมาณกว่า 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ โดยเงินงบประมาณกว่า 90% ถูกจัดสรรไปยังกระทรวงและจังหวัดต่างๆ ในเดือนมกราคม 2566

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-anticipates-economic-growth-of-65-for-vietnam-this-year-post1011747.vov

กระทรวงฯ ชี้เวียดนามเผชิญกับความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปี 2566

กระทรวงการวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าเวียดนามเผชิญกับความท้าทายหลายประการในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ 6.5% ในปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจในไตรมาสแรกส่งสัญญาชะลอตัว 3.32% ลดลงจาก 5.92% ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ตลอดจนการส่งออกหดตัว 11.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ ทั้งนี้ สถานการณ์โลกยังไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก

ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/business/vietnam-faces-challenge-meeting-2023-growth-target-planning-ministry-3393391

ดัชนี PMI ภาคการผลิตของเวียดนามเดือน มี.ค. กลับมาลดลง

ผลการสำรวจของ S&P Global รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ลดลงสู่ระดับ 47.7 ในเดือนมีนาคม จากระดับ 51.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนียังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ส่งสัญญาแนวโน้มปรับตัวลดลง ทั้งนี้ คำสั่งซื้อใหม่ลดลงเป็นครั้งที่ 4 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลมาจากอุปสงค์ที่ค่อนข้างอ่อนแอ ขณะที่ธุรกิจใหม่จากตลาดต่างประเทศลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่าท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงในไตรมาสแรก ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นเริ่มชะลอตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ดี ดัชนีที่กลับมาลดลงในเดือนมีนาคม หวังว่าจะเป็นเพียงปัญหาชั่วคราว เนื่องจากบริษัทต่างๆ ยังมีความมั่นใจแรงอุปสงค์และสภาวะตลาดที่มีเสถียรภาพในปีหน้า

ที่มา : https://english.news.cn/20230403/d5edf52a2f1140bc86fa87b826e3073b/c.html