ราคามะขามตลาดมัณฑะเลย์พุ่ง! จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ราคาตลาดมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นจากความต้องการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อปีที่แล้ว ช่วงก่อนเทศกาลติงยาน (สงกรานต์ของเมียนมา) ราคามะขามอยู่ที่ 1,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัมส่วนราคามะขามไร้เมล็ดจะอยู่ที่ 2,200 จัตต่อ viss ส่วนในปีนี้ ราคามะขามอยู่ที่ 1,800 จัตต่อ viss และราคามะขามไร้เมล็ดอยู่ที่ 3,600 จัตต่อ viss ในปีนี้ คาดว่าผลผลิตและสต๊อกมะขามจะลดลง จาการการสั่งซื้อจากในประเทศและต่างประเทศที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยมะขามจะถูกส่งไปยังจีน อินเดีย และบังคลาเทศ ส่วนการเพาะปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลางของประเทศอย่างเขตมัณฑะเลย์ (เมืองเจาะบะด้อง, เมืองโปะป้า, เมืองปะโคะกู, เมืองมไยง์, เมืองยะแม่ตี้น, เมืองซีพินไยง์ และ เมือปีนแลบู้) โดยในปีงบประมาณ 2564-2565 เมียนมาส่งออกมะขามรวมทั้งสิ้น 20,662 ตัน คิดเป็นมูลค่า มูลค่า 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9,796 ตัน (มูลค่าประมาณ 5.6 ล้านดอลลาร์) เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/strong-demand-drives-tamarind-price-up-in-mandalay-market/#article-title

3 เดือนแรกของงบประมาณย่อย 64-65 เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวกว่า 233 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงการวางแผนและการคลังของ เผย เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวกว่า 233 ล้านดอลลาร์ในช่วง 3 เดือนแรกของช่วงงบประมาณย่อยของปี 2564-2564 ลดลงกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน (2563-2564) อยู่ที่ 238.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนก.พ.2565 เมียนมาส่งออกข้าวกว่า 100,000 ล้านตันผ่านทางเรือ สร้างรายได้เกือบ 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นส่งออกไปยังประเทศในเอเซีย 41,800 ตัน แอฟริกาประมาณ 35,300 ตัน และสหภาพยุโรปอีก 22,300 ตัน ส่วนการส่งออกผ่านชายแดน ได้แก่ จีน11,000 ตัน และบังคลาเทศ 15 ตัน สร้างรายได้กว่า 3.545 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์เมียนมาระบุว่าในปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกข้าวและข้าวหักสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 700.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-over-233-mln-from-rice-export-in-first-half-of-mini-budget-period/#article-title

เมียนมาคาด การปรับนโยบายใหม่ จะไม่กระทบการส่งออกข้าวโพด

นายอู มิน แค ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดของเมียนมา กล่าวว่า นโยบายใหม่เกี่ยวกับการส่งออกข้าวโพดของเมียนมา จะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อการส่งออกข้าวโพดของประเทศ โดยรายการสินค้าส่งออก ได้แก่ ข้าวโพด แป้ง ป๊อปคอร์น เมล็ดพืช แป้งข้าวโพด เมล็ดธัญพืช ข้าวฟ่าง อาหารเม็ด บัควีต (Buckwheat) และเมล็ดข้าวสำหรับเลี้ยงนก จะต้องขอใบอนุญาตส่งออกโดยการยื่น Form-D (หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า) ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2565 โดยการปรับเปลี่ยนนโยบายนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรับรองความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงภายในประเทศ และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ราคา FOB อยู่ที่ 320-340 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพข้าวโพดในตลาดย่างกุ้ง ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกไปตลาดต่างประเทศ จำนวน 2.3 ล้านตัน ตลาดหลักคือไทย ส่วนที่เหลือจะส่งออกไปยังจีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/30-march-2022/#article-title

การค้าทางทะเลของเมียนมา พุ่งขึ้น ! 2.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าทางทะเลตั้งแต่วันที่  1 ต.ค.2564 ถึงวันที่ 18 มี.ค.2565 ของงบประมาณย่อย ปี 2564-2565 อยู่ที่ 11.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.275 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการส่งอออก 5.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 6.416 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา การค้าทางทะเลสร้างรายได้ 19,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้าโดยรวมทั้งหมดของประเทศที่ 29,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบอุตสาหกรรม ปัจจุบันเมียนมามีท่าเรือ 9 แห่ง โดยท่าเรือย่างกุ้งเป็นประตูสู่การค้าทางทะเลของประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/30-march-2022/#article-title

เมียนมาปิดถนนเมียวดี-ดอนา-ตอง-จอ กระทบค้าส่งออกชายแดนเมียนมา-ไทย หลายแสนจัต !

ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2565 การปิดถนนถนนเมียวดี-โดนา-ตอง-จอ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญบริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ส่งผลให้ชาวเมียนมาหลายแสนคนต้องกลายเป็นคนว่างงาน รถบรรทุกขนาดเล็กและขนาดใหญ่กว่า 1,000 คัน รวมทั้งรถยนต์นั่งต้องหยุดทำการวิ่งขณะขนส่งสินค้าเข้าจากไทยผ่านชายแดนเมียวดี ซึ่งการปิดชายแดนทำให้สินค้าเกษตรเกิดความเสียหายหลายแสนรายการในทุกๆ วัน โดยสินค้าเกษตรที่ส่งจากเมียวดีไปยังไทย ได้แก่ พริกสด ถั่วลิสง และหัวหอม ซึ่งจะเน่าเสียหายเพราะเก็บไว้ไม่ได้นาน ในขณะที่การนำเข้าน้ำอัดลมและอาหารลดลงเมื่อสองเดือนก่อน อีกทั้งจากข้อจำกัดในการนำเข้าส่งผลให้ การนำเข้าเหล็ก ดีบุก ซีเมนต์ และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ต้องลดลงไปด้วย

ที่มา : https://news-eleven.com/article/228319

การส่งออกกลองพื้นบ้านเมียนมา ราคาจะแตกต่างตามการออกแบบ

นาย Ko Hein Htet ผู้ผลิตกลองพื้นบ้านในเมืองมัณฑะเลย์ เปิดเผยว่า ราคาของเครื่องดนตรีพื้นบ้านของเมียนมาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการออกแบบและความมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างของเครื่องดนตรีแต่ละประเภท โดยราคากลองอยู่ในช่วง 600,000 ถึง 1,000,000 จัต ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย และบรูไน เนื่องจากนักดนตรีเมียนมาที่ทำงานในต่างประเทศได้สั่งซื้อเข้ามา ส่วนใหญ่ผู้ผลิตมักจะใช้ไม้ยางพาราเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งราคาไม้ยางพาราจะอยู่ที่ 3,000,000 ถึง 4,500,000 ต่อตัน กลองที่ทำจากไม้ยางพารามีคุณภาพสูงมากกว่ากลองที่ทำจากไม้พฤกษ์ (Albizia lebbek) นอกจากนี้ราคาของหนังสัตว์ที่ใช้ทำกลองยังขึ้นอยู่กับตลาดจีนอีกด้วย เพราะหนังกลองส่วนใหญ่รับซื้อมาจากโรงฆ่าสัตว์ในตลาดจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/