เวียดนามเผย ม.ค. นำเข้ารถยนต์ 212 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่าในเดือนมกราคม เวียดนามนำเข้ารถยนต์เพิ่มขึ้นราว 85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เป็นรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 8,343 คัน คิดเป็นมูลค่ารวม 212.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย จำนวน 4,341 คัน (84.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ 1,437 คัน (19.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2563 เวียดนามนำเข้ารถยนต์ทุกประเภทที่ผลิตในต่างประเทศ จำนวน 100,000 คัน ด้วยมูลค่ารวม 2.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 24.5% ในแง่ของปริมาณ และ 25.6% เมื่อเทียบกับปี 2561 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นตลาดนำเข้ารถยนต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม จำนวน 52,647 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-spends-over-us-212-million-importing-cars-in-january-28233.html

เวียดนามนำเข้าเนื้อหมูพุ่ง เหตุราคาในประเทศร้อนแรง

ตามรายงานตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร เผยว่าเวียดนามนำเข้าเนื้อหมูมากกว่า 141,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 334.4 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 63 เพิ่มขึ้น 382% และ 500% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ซึ่งการนำเข้าเนื้อหมูที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว เนื่องมาจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรระบาด (ASF) ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนเนื้อหมูและทำให้ราคาเนื้อหมูในประเทศขยับเพิ่มขึ้นในเดือนแรกของปี 63 ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศบราซิล รัสเซีย โปแลนด์ สหรัฐฯและแคนาดา เป็นต้น ราคานำเข้าเนื้อหมูเฉลี่ยที่ 2.2 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ นาย Nguyễn Văn Trọng รองผู้อำนวยการกระทรวงของสำนักงานผลิตปศุสัตว์ กล่าวว่าราคาเนื้อหมูปรับตัวลดลงเมื่อไม่กี่วันก่อน เพราะว่าบริษัทแปรรูปมีการสั่งซื้อสินค้าลดลง เนื่องจากมีสินค้าเพียงพอต่อการบริโภคในช่วงเทศกาลเต็ด นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามมีจำนวนหมู 27.3 ล้านตัว เพิ่มขึ้น 21 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/871761/vn-increases-pork-imports-to-cool-off-domestic-prices.html

เวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามรายงานของกรมศุลกากร ระบุว่าในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤศจิกายน เวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ราว 195 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มูลค่าการนำเข้ารวมของกลุ่มสินค้าอยู่ที่ 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ต้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับปี 2562 ยอดการนำเข้าชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ยังคงลดลง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดนำเข้าของกลุ่มสินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากเอเชีย ได้แก่ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไทยและจีน นอกจากนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน เวียดนามส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ 258.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 6,227 คัน ด้วยมูลค่ารวม 135.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vnexplorer.net/spending-us3-billion-on-importing-auto-components-and-spare-parts-a2020131688.html

พาณิชย์เมียนมาประกาศรายชื่อใบอนุญาตนำเข้าสินค้ากว่า 4,000 ชนิด

จากประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ตอนนี้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าสำหรับสินค้าประมาณ 4,000 ชนิดในเมียนมา ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 63 นี้ สินค้ารวม 3,931 ประเภทรวมถึง สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์และปลา น้ำมันพืช ผักและพืชผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากป่า เครื่องดื่ม แร่ธาตุ เคมี ยางรถยนต์และเครื่องจักรจะต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าภายใต้รหัสศุลกากรปี 2560 โดยในบรรดาสินค้า 3,931 รายการที่ต้องใช้ใบอนุญาตนำเข้าสามารถยื่นแบบฟอร์มได้ทางออนไลน์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-commerce-ministry-declares-import-license-list.html

รัฐบาลสปป.ลาวเปิดจุดผ่านแดนในท้องถิ่นอีกครั้งเพื่ออำนวยความสะดวกทางธุรกิจส่งออก-นำเข้า

รัฐบาลกำลังเปิดจุดผ่านแดนอีกครั้งเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการปรับสมดุลของมาตรการควบคุมไวรัสกับการผ่อนคลายข้อจำกัด เพื่อให้ธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ดีขึ้นการยกเลิกข้อ จำกัด บางประการจะช่วยให้การค้าข้ามพรมแดนระหว่าง 4 จังหวัดในสปป.ลาวและประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้นอย่างไรก็ตามผู้นำเข้าและผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามมาตรการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าที่ทางการสปป.ลาวและจีนวางไว้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดระลอกสองที่อาจกลับมารุนแรงกว่าเดิม ปัจจุบันตามรายงานของ National Taskforce for Covid-19 Prevention and Control พบว่ามีผู้คนมากกว่า 40.9 ล้านคนทั่วโลกที่ทำสัญญากับ Covid-19 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.1 ล้านคนและมีผู้ฟื้นตัวอย่างน้อย 30.5 ล้านคน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govtre_208.php

ก.พาณิชย์ลั่นไทยไม่ใช่ถังขยะโลก ฝ่าฝืนเจอคุก 10 ปีปรับ 5 เท่า

กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ 428 รายการ แสดงจุดยืน ไทยไม่ใช่ถังขยะโลก ห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งในประเทศ ผ่าผืนมีโทษคุก 10 ปี และปรับ 5 เท่า กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 โดยห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 428 รายการ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. 63 ที่ผ่านมา  นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ภายในประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการใช้ทรัพยากรในประเทศอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังช่วยบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกวิธีมากขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการของเสียในประเทศ

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/799144

เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยพุ่ง 100% ในเดือนสิงหาคม

จากรายงานทางสถิติเบื้องต้นของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนสิงหาคม จำนวนนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในต่างประเทศ (CBU) พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 85.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (เพิ่มขึ้นมากกว่า 4,000 คัน) โดยส่วนใหญ่มาจากตลาดหลัก 3 แห่ง ได้แก่ ไทย 4,743 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย 2,523 คัน และจีน 572 คัน คิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ 90 ของปริมาณการนำเข้ารถยนต์ทั้งหมดของเวียดนามในเดือนนี้ ทั้งนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 8,836 คัน เป็นมูลค่าที่ 202 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน ในเดือนกรกฎาคม นำเข้ารถยนต์อยู่ที่ 4,761 คัน เป็นมูลค่าที่ 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ รถยนต์ที่นำเข้าจากไทยในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ซึ่งอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 100 (มีเพียง 2,234 คัน ในเดือนกรกฎาคม)

ที่มา : https://customsnews.vn/automobiles-import-from-thailand-increase-by-100-in-august-15964.html

เมียนมาหยุดนำเข้าไก่จากความต้องการที่ลดลง

เมียนมาระงับการนำเข้าไก่เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 เนื่องจากความต้องการสัตว์ปีกในท้องถิ่นที่ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แม้ว่าต้นทุนของลูกไก่จะสูงกว่า 500 จัต แต่ราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 150 จัตต่อตัว ประธานสมาพันธ์ปศุสัตว์เมียนมาจึงได้เสนอให้งดนำเข้าเป็นเวลาสามเดือน แต่ทางการได้อนุมัติการระงับหนึ่งเดือนไปก่อน สมาคมผู้เพาะพันธุ์และผู้ผลิตปศุสัตว์แห่งเมียนมาตัดสินใจว่าจะขยายการห้ามนำเข้าเป็นรายเดือนหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริโภคในท้องถิ่น ส่วนการนำเข้าลูกไก่กว่า 1.9 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคมแต่ลดลงเหลือประมาณ 1 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายนเนื่องจากมีมีการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ การผลิตและการบริโภคในท้องถิ่นของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านตัวต่อเดือน การบริโภคไก่อยู่ที่ประมาณ 500,000 ตัวต่อวันและเนื่องจากความต้องการที่ลดลงผู้เลี้ยงไก่จึงสูญเสียรายได้ต่อวันประมาณ 50 ล้านจัต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/chicken-imports-banned-myanmar-poultry-demand-falls.html

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ CBU จำนวน 53,000 คัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้

ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป (CBU) 53,000 คัน ด้วยมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในเดือนที่แล้ว จำนวนนำเข้ารถยนต์ CBU อยู่ที่ 8,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยและอินโดนีเซียยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุด สำหรับการนำเข้ารถยนต์จากเวียดนาม เนื่องจากความได้เปรียบทางด้านภาษี นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศดังกล่าวถือว่าเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ สาเหตุมาจากภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 0 ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ อินโดนีเซียส่งออกรถยนต์ไปเวียดนาม จำนวน 17,723 คัน ในขณะเดียวกัน เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทย จำนวน 19,944 คัน นอกจากนี้ รถยนต์ยอดนิยมในเวียดนาม คือ รถยนต์ที่ประกอบขึ้นในประเทศ เพราะฉะนั้นอุปทานและราคาขายอยู่ในระดับคงที่ ในเดือนที่เหลือของปี

 ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772157/viet-nam-imported-53000-cbu-cars-in-8-months.html

สมาคมเมียนมา – อินเดีย เริ่มใช้ระบบนายหน้าในการนำเข้า-ส่งออกระหว่างประเทศ

สมาคมเมียนมา – อินเดียตอนบนเริ่มธุรกิจนายหน้าการค้าหลังจากเศรษฐกิจเมียนมากลับสู่สภาวะปกติหลังจากการระบาดของโควิด -19 เพื่อเชื่อมโยงผู้ค้าจากเมียนมาและอินเดีย แม้ว่าผู้ค้าจากอินเดียต้องการทำธุรกิจในเมียนมา แต่ยังไม่มีพันธมิตรหรือผู้เชื่อมโยงทางการค้า ดังนั้นหากผู้ค้าของอินเดียที่ค้าขายอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือถั่วมา โดยสามารถจะเชื่อมโยงกับคู่ค้าในเมียนมาได้ ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ในเดือนมีนาคมการค้าระหว่างสองประเทศหยุดชะงักลงและประตูพรมแดนที่รัฐชิน สะกาย และมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าหลัก ดังนั้นการค้าจึงดำเนินการผ่านเส้นทางเดินเรือเท่านั้น การค้าในปีงบประมาณ 2561-2562 มีมูลค่ารวม 201 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกมูลค่า 177.ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนการระบาดของ COVID-19 องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)ได้ปรับปรุงถนนที่เชื่อมโยง Reed กับ Tiddim และ Kalay ในรัฐ Chin เพื่อเชื่อมโยงการค้า เมียนมาส่งออกถั่วพลูและถั่วเป็นหลักตลอดจนเสื้อผ้าและพลาสติกไปยังชายแดนของอินเดีย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2019 ในปีงบประมาณ 2562-2563 การส่งออกผ่านชายแดนจากสองเส้นทางนี้มีมูลค่าเพียง 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/traders-broker-direct-imports-exports-between-myanmar-india.html