ธนาคารกลางเมียนมาดำเนินนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพราคา ในวันที่ 3 พ.ค. ทั้งนี้ CBM กำลังวางนโยบายการเงินเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังจากวิเคราะห์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน อัตราส่วนสินเชื่อของธนาคารต่อ GDP อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เป็นต้น นอกจากนี้ ในบรรดานโยบายการเงิน แทนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย กลับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ อัตราเงินสำรองของธนาคารเอกชนในสกุลเงินเมียนมาและการจ่ายดอกเบี้ยเงินสำรองส่วนเกินก็เช่นกัน ส่งผลให้ปัจจุบันเงินฝากธนาคารและสินเชื่อมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินหมุนเวียนและลดอัตราเงินเฟ้อ อัตราส่วนสำรองขั้นต่ำจึงเพิ่มขึ้นเป็น 3.75 จากร้อยละ 3.5 ดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินก็เพิ่มขึ้นเป็น 3.8 จากร้อยละ 3.6 ในเดือนพฤษภาคม 2567 การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินอาจสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยรายปีสำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และส่งผลให้ภาคเอกชนมีแหล่งเงินทุนมากขึ้น สามารถลดจำนวนเงินหมุนเวียนและลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเมื่อธนาคารฝากเงินในบัญชี CBM ในปัจจุบันมากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-implements-monetary-policies-to-curb-inflation/

ธนาคารกลางเมียนมาปรับเพิ่มอัตราสำรองขั้นต่ำ

เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและควบคุมการเพิ่มขึ้นของเงินสดหมุนเวียน ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ได้ปรับเพิ่มอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำของสกุลเงินท้องถิ่นจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.75 ในสินทรัพย์สภาพคล่อง ตามประกาศคำสั่ง (4/2024) ลงวันที่ 30 เมษายน 2567 โดยการแก้ไขอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำนี้จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ดังนั้น ธนาคารของรัฐ ธนาคารเอกชน และสาขาของธนาคารต่างประเทศ มีสิทธินำเงินสดเข้าธนาคาร (CAB) ได้ร้อยละ 3 เพื่อเข้าบัญชีเงินฝากของธนาคารกลางเมียนมาและถือ CAB ร้อยละ 0.75 รวมทั้ง ยังได้กำหนดดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินโดยเฉลี่ยไว้ที่ร้อยละ 3.8 เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของธนาคาร และธนาคารที่ถือเงินสำรองส่วนเกินโดยเฉลี่ยเกินกว่า 7 พันล้านจ๊าด อย่างน้อยก็มีสิทธิได้รับดอกเบี้ย ทุนสำรองส่วนเกินที่ธนาคารถืออยู่นั้นจำกัดอยู่ที่ 50 พันล้านจ๊าด อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินต้องดำรงอัตราส่วนเงินฝากเข้าธนาคารกลางเมียนมา โดยเฉลี่ยจนถึงวันสุดท้ายของระยะเวลาดำรงเงินสำรองที่กำหนด ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับจากธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-hikes-minimum-reserve-requirement-ratio/#article-title

ชายแดนเมียวดี-แม่สอด ต้องมีใบรับรอง UID ในการเข้า/ออก

กรมตรวจคนเข้าเมืองได้ประกาศว่าตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม การเข้าและออกบริเวณชายแดนเมียวดี-แม่สอด ต้องใช้บัตร UID เท่านั้น โดยมาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อติดตามจำนวนบุคคลที่ข้ามชายแดนอย่างแม่นยำ และเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้คนโดยใช้บัตรประจำตัวปลอมหรือล้าสมัย อย่างไรก็ดี แผนการบังคับใช้บัตร UID สำหรับการข้ามชายแดนใช้ไม่เพียงแต่ใช้กับชายแดนประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการข้ามแดนจากประเทศจีนและอินเดียด้วย โดยที่บัตร UID คือเอกสารที่รวบรวมและบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางชีวภาพของบุคคลที่อายุเกิน 10 ปี ทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นใบรับรองประจำตัวประชาชนที่มีหมายเลข 10 หลัก และบริหารจัดการโดยกรมตรวจคนเข้าเมืองและประชากรที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myawady-mae-sot-border-requires-uid-certificate-for-entry-exit/#article-title

การท่าเรือเมียนมา : เรือคอนเทนเนอร์ 52 ลำมีกำหนดเทียบท่าในเดือนพฤษภาคม

การท่าเรือเมียนมาประกาศว่า เรือคอนเทนเนอร์จำนวน 52 ลำจะเทียบท่าที่ท่าเรือย่างกุ้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 ประกอบด้วยเรือคอนเทนเนอร์จำนวน 7 ลำดำเนินการโดยสายเรือ Maersk A/S Line, 6 ลำ โดยสายเรือ Cosco Shipping Line และ Samudera Shipping Line, 5 ลำ โดยสายเรือ MSC Line และ SITC Shipping Line, 4 ลำ โดยสายเรือ Ti2 Container Line, 3 ลำ โดยสายเรือ BLPL Shipping Line, CMA CGM ONE Line และ RCL Line และ 2 ลำโดยสายเรือ Evergreen Line, IAL Shipping Line และ PIL Line อย่างไรก็ดี การท่าเรือเมียนมาระบุว่า ในช่วงเดือนที่ผ่านมาเรือคอนเทนเนอร์เข้ามาเทียบท่าที่ท่าเรือย่างกุ้ง ในเดือนมกราคม มี 49 ลำ ในเดือนกุมภาพันธ์ 53 ลำ ในเดือนมีนาคม 55 ลำ และในเดือนเมษายน 50 ลำ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanma-port-authority-52-container-vessels-scheduled-to-call-in-may/#article-title

เมียนมาคาดว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในปีนี้จะมีมูลค่ามากกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกรมประมง คาดว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไปยังต่างประเทศจะเกิน 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบัน สำหรับในปีงบประมาณที่แล้ว มีการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 520,000 ตัน สร้างรายได้จากต่างประเทศเกือบ 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากเมียนมา ส่งออกไปยังต่างประเทศผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและการค้าชายแดน แม้ว่าขณะนี้การส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำยังดำเนินการไปได้ดีแต่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เท่าสถานการณ์ก่อนโควิด ทั้งนี้ จากข้อมูลของผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลาและกุ้ง เมียนมามีฟาร์มเลี้ยงปลาและกุ้ง 480,000 แห่ง พร้อมด้วยห้องเย็นกว่า 120 แห่ง รวมทั้งเมียนมามีการส่งออกปลามากกว่า 20 ชนิด ไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน ไทย และประเทศเพื่อนบ้านเป็นประจำผ่านการค้าชายแดน ตลอดจนประเทศญี่ปุ่นและประเทศในยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-expects-over-us-800-million-in-aquatic-product-exports-this-year/

จ๊าดพม่าอ่อนค่าลงทะลุ 3,900 จ๊าดต่อดอลลาร์

ข้อมูลจากตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรายงานว่าสกุลเงินจ๊าดของเมียนมา ในตลาดซื้อขายที่ไม่เป็นทางการ อ่อนค่าลงอีกครั้งที่ระดับกว่า 3,900 จ๊าดต่อดอลลาร์ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อวันที่ 12 เมษายนก่อนเทศกาล Thingyan อยู่ที่ 3,890 จ๊าดต่อดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเป็น 3,960 จ๊าดต่อดอลลาร์ ในวันที่ 27 เมษายน ซึ่งเพิ่มขึ้น 70 จ๊าดต่อดอลลาร์ภายใน 15 วัน อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ได้พยายามทำการอัดฉีดเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ตลาดเพื่อควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ที่พุ่งสูงขึ้น รวมทั้งมีการร่วมมือกับหน่วยงานด้านกฎหมายเพื่อให้สามารถดำเนินคดีกับผู้ที่พยายามแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายใต้กฎหมายที่มีอยู่

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-kyat-depreciates-surpassing-k3900-per-dollar/