อาเซียน-สหรัฐฯ กระชับความร่วมมือแก้ปัญหาโควิด-19

ผู้นำสหรัฐฯ และอาเซียนเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด อาเซียน-สหรัฐฯ ตกลงที่จะร่วมมือในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนเครือข่าย Asean smart Cities และการเชื่อมต่อของอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ในที่ประชุมยังได้มีแบ่งปันบทเรียนและประสบการณ์ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีว่าประเทศต่างๆ ต่อสู้กับไวรัสอย่างไร โดยรัฐบาลสปป.ลาวกล่าวในที่ประชุมถึงการจัดการกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยได้กำหนดมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส พร้อมสนับสนุนให้ผู้คนจำนวนมากได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศบริจาควัคซีนป้องกันโควิด-19 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จำนวน 1,008,000 โดส ให้กับลาว ซึ่งคาดว่าจะถึงในวันพฤหัสบดีนี้ การส่งมอบดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายในการฉีดวัคซีน 50% ของประชากรภายในสิ้นปีนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean136.php

เชื่อนักลงทุนเข้าใจไทยล็อคดาวน์ดีกว่าปล่อยลากยาว

นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บมจ.อมตะคอร์ปอเรชัน เผย มาตรการยกระดับควบคุมพื้นที่สูงสุด 10 จังหวัดที่เริ่มวันที่ 12 ก.ค. ของรัฐบาล เชื่อว่า จะกระทบระยะสั้นเท่านั้น และในสายตานักลงทุนต่างชาติเข้าใจถึงสถานการณ์เป็นอย่างดี ซึ่งหากไทยยังปล่อยให้มีการแพร่ระบาดและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นมากกว่า ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือการบริหารจัดการด้านวัคซีนทั้งระบบ ทั้งในเรื่องการจัดหา แผนการกระจาย ให้ถึงมือประชาชนและครอบคลุมจำนวนประชากร 70% เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ควบคู่ไปด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/47803/

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกัมพูชายังคงชะลอตัวอย่างหนัก

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชารายงานถึงจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังกัมพูชาในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. มียอดรวมอยู่ที่เพียง 91,596 คน หรือคิดเป็นการลดลงมากกว่าร้อยละ 92 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 โดยปัจจุบันทุกคนที่เดินทางเข้ามายังกัมพูชาต้องทำการกักตัวเป็นเวลาสองสัปดาห์และทำการทดสอบ PCR Coronavirus ที่ผลต้องออกมาเป็นลบตั้งแต่เริ่มกักตัวจนสิ้นสุดระยะเวลาการกักตัวที่กำหนดไว้ 14 วัน ด้วยความหวังของรัฐบาลกัมพูชาที่จะฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก กระทรวงสาธารณสุขและการท่องเที่ยวกำลังเร่งดำเนินการตามแผนที่จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามกำหนด สามารถเดินทางมายังกัมพูชาได้ในช่วงต้นเดือน ต.ค. 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50890843/tourism-industry-gloom-continues-as-overseas-arrivals-drop-92-2-percent/

อสังหาฯ หวั่นเจ็บแต่ไม่จบแนะ 3 แผนสกัด

นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า มาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ รัฐบาลต้องวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่า ระหว่างล็อกดาวน์ 14 วัน โดยมี 3 วาระที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน คือ 1.จัดให้มีการตรวจคัดกรองให้มากที่สุด 70 -80% ของคนในพื้นที่ ของประชาชนให้้มีโอกาสได้ตรวจคัดกรองในราคาที่ไม่แพง 2.เร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่สีแดง ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และ 3.เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ จะดูแลอย่างไร เพราะสุดท้ายต้องกลับภูมิลำเนาทำให้เกิดการแพร่เชื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948347

สนง.สถิติแห่งชาติเวียดนาม ชี้ไตรมาสสอง โควิด-19 ดันคนกว่าล้านคนตกงาน

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่าการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 นั้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานเวียดนาม แรงงานกว่า 1.2 ล้านคนถูกพักงานในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่า 87,000 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งหากแบ่งช่วงอายุแรงงาน พบว่าตั้งแต่เดือนเม.ย.-มิ.ย. แรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี ตกงานกว่า 389,000 คน คิดเป็น 21.8% ของแรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในเมืองอยู่ที่ 2.8% สูงกว่าชนบทที่ 2.49% โดยการระบาดในครั้งนี้ ทำให้รายได้ของแรงงานที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดลงลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง 226,000 ดอง (10 เหรียญสหรัฐ) จากไตรมาสแรก อีกทั้ง ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างได้รับผลกระทบมากที่สุด ลดลงประมาณ 464,000 ดอง (20 เหรียญสหรัฐ) จนถึง 6.7 ล้านดอง (290 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือน รองลงมาภาคบริการ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-drives-millions-of-people-out-of-jobs-in-q2-gso-317960.html

โควิด-19 พ่นพิษร้านอาหารเจ๊ง 7 หมื่นล้าน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าจากการกลับมาระบาดของโควิด-19 ในประเทศโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จึงได้ปรับลดประมาณการมูลค่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 โดยประเมินทิศทางไว้ 2 กรณี ดังนี้  1.ควบคุมได้เร็ว ธุรกิจกลับมาเปิดได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวของธุรกิจ คาดว่ามูลค่าจะหายไป 5.5 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน เหลือเพียง 3.50 แสนล้านบาท (-13.5%) 2.กรณีเลวร้าย การระบาดยาวนานกว่า 30 วันและมีการการมาตรการควบคุมอยู่ คาดว่ามูลค่าในปี 2564 จะหายไป 7.0 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน หรือเหลือเพียง 3.35 แสนล้านบาท (-17.3%) นอกจากนี้ภาครัฐควรช่วยเหลือให้ครอบคลุม เช่น ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค การเข้าถึงสภาพคล่อง รวมถึงเกณฑ์การชดเชยทต่อผู้ประกอบการและกลูกจ้างที่ชัดเจนและครอบคลุม

ที่มา: https://www.naewna.com/business/585387

นักวิเคราะห์ ชี้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นเวียดนาม เหตุกังวลการระบาดโควิด-19

ตามรายงานของบริษัทหยวนต้า เผยว่านักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นบลูชิพ เป็นมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ นักลงทุนที่เทขายหุ้นส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ไทยและอินเดีย เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อโลกและค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว มีการเทขายหุ้นเป็นมูลค่า 12 พันล้านเหรียญสหรัฐใน 6 ตลาด คิดเป็น 4% ในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นเวียดนามยังได้รับมุมมองในเชิงบวก ทั้งด้านเศรษฐกิจและศักยภาพของตลาดหุ้นที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/foreign-investors-sell-out-blue-chips-on-covid-fears-analyst-4302717.html

รีสอร์ตในกัมพูชาเริ่มเลิกจ้างพนักงานหลังการแพร่ระบาดยังไม่สิ้นสุด

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทวีปเอเชียได้รับผลกระทบจากโรคระบาด Covid และการฟื้นฟูยังคงอีกยาวไกล เนื่องจากมาตรการไม่รับนักท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของกัมพูชาก็ตกอยู่ในสภาวะถดถอย อัตราการว่างงานในภาคท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กระทรวงท่องเที่ยวคาดว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่จนถึงปลายปี 2023 ขณะนี้กำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและรีสอร์ตภายในประเทศเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวหลังจากเปิดประเทศ ประกอบด้วย โครงการสร้างสนามบินใหม่ในพนมเปญ โครงการพัฒนา Mondulkiri เพื่อเป็นศูนย์การของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism) หนึ่งในโฆษกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกล่าวว่า “แผนการฉีดวัคซีน Covid ของรัฐบาลเป็นไปได้ดีเทียบกับหลายๆประเทศในอาเซียน อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่สามารถรอให้โรคระบาดหมดได้เช่นกัน จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาเปิดเขตแดนที่วางแผนว่าจะเปิดภายในไตรมาศ 4 ปีนี้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนแล้ว ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่ซบเซาใน 2 ปีที่ผ่านมา อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือรัฐบาลต้องพิจารณามาตราการช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ยให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเนื่องจากผู้ประกอบการกำลังขาดแคลนเงินทุนสำรอง”

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50884775/resorts-lay-off-workers-with-no-end-to-covid-in-sight

ความคิดเห็นมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินผู้ประกอบการ

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินผู้ประกอบการ พบว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระรอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากกว่าระรอกที่ผ่านมา ร้อยละ 41.80  ส่วนโอกาสที่ธุรกิจจะปิดกิจการ ร้อยละ 48.00 อยู่ในระดับน้อย หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังยืดเยื้อออกไปอาจปิดกิจการภายใน 11 เดือน ภาครัฐควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมให้กลับมาเป็นปกติภายใน 4 เดือน และโอกาสที่กิจการจะกลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติภายใน 4 เดือน

ทัศนะต่อมาตรการของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ พบว่า มาตรการเพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 40.00 อยู่ในระดับน้อย ผู้ประกอบการมองว่าได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐ ร้อยละ 50.00 อยู่ในระดับน้อย ส่วนโครงการหรือมาตรการของภาครัฐธุรที่ธุรกิจเข้าร่วมมากที่สุดคือ โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 78.57 ด้านมาตรการมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินุรกิจสนใจเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ (Soft Loan) ร้อยละ 39.39 แต่ไม่แน่ใจว่าสามารถเข้าร่วมได้ ร้อยละ 64.95 เพราะมองว่าธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้เพราะเต็มวงเงินและเงื่อนไขไม่ชัดเจน ร้อยละ 50.00 และวงเงินสินเชื่อที่ธุรกิจต้องการคือต่ำกว่า 1 แสนบาท ร้อยละ 60.00

นอกจากนั้น ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเพิ่มเติม ได้แก่ ภาครัฐควรควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเร่งการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศโดยเร็ว รวมถึงคลายล็อกดาวน์ เร่งเปิดประเทศ มีการยกเว้นภาระทางด้านภาษี รวมถึงพักชำระหนี้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเดิมที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการคนละครึ่ง สนับสนุนค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการลดภาระภาคเอกชน และแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นและขั้นตอนในการดำเนินงานที่ล่าช้าของรัฐบาล

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ส่งออกสินค้าเกษตรมาแรง พุ่ง 3.88 พันล้านดอลลาร์

แปดเดือนครึ่งของปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งสูง 3.88 พันล้านดอลลาร์ เพิ่ม  923.9 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวหันของปีก่อนที่ส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 2.95 พันล้านดอลลาร์ สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ ที่มีแนวโน้มลดลง ท่ามมาตรการคุมเข้มวิกฤติโควิด-19 ที่เข้มงวดในพื้นที่ชายแดนและค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการเกษตรมีแววรุ่งที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 37 ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ตลาดนำเข้าหลักจะเป็นจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ซึ่งการส่งออกแบบ G to G ยังช่วยสร้างแข็งแกร่งให้กับตลาด ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังผลักดันและช่วยเกษตรกรจัดการปัญหาที่ยากจะควบคุม เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-surge-to-3-88-bln-as-of-18-june/#article-title