งบประมาณย่อย 64-65 ค้าชายแดนเมียนมา ดิ่งลง 966 ล้านเหรียญดอลลาร์หรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดจากด่านชายแดน 18 แห่งมีมูลค่าเกิน 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงงบประมาณย่อย 64-65 ลดลง 966 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 2.409 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 24 ธ.ค.ของปีงบประมาณ 64-65 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 1.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าเป็น 427.7 ล้านดอลลาร์ โดยด่านเมียวดีติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด 581.36 ล้านดอลลาร์หรัฐฯ ตามมาด้วยด่านทิกิที่ 402.06 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าการผลิต และอื่นๆ ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/total-border-trade-value-decreases-by-us966-mln-this-mini-budget-period/#article-title

เกตรกรในรัฐฉาน หวังราคามันเทศสูงขึ้น โอดต้นทุนสูง

เกษตรกรผู้ปลูกมันเทศในเมืองตองยี รัฐฉาน ต่างหวังว่าจะได้ราคาที่ดีขึ้นเพื่อคุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนและราคาน้ำมันก๊าดในปัจจุบันสูง เกษตรกรในพื้นที่ได้ให้ข้อมูลว่าได้ปลูกมันเทศบนพื้น 5 เอเคอร์ ซึ่งสถานการณ์ตลาดในปีนี้ไม่ดีนัก ซึ่งปีที่แล้วมันเทศหนึ่งถุงขายได้มากกว่า 10,000-13,00 จัต แต่ปีนี้เหลือเพียง 10,000 จัต โดยส่วนใหญ่มันเทศจะถูกส่งไปขายยังย่างกุ้งและมัณฑะเลย์เป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sweet-potato-growers-expect-better-prices-in-shan-state/#article-title

ยอดขายที่ดินเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา คาดลดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เหตุพึ่ง FDI เป็นหลัก

การขายที่ดินในเขตอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เป็นหลัก และการขายที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (SEZ) คาดว่าจะลดน้อยลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัท ติละวา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด คาดว่าปีนี้จะเป็นช่วงที่ท้าทายที่สุดและความสำเร็จของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ อาจขึ้นอยู่กับการลงทุนภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแผนก่อนหน้านี้ในการขยายร้านค้าและแหล่งช้อปปิ้งถูกเลื่อนออกไป เพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/223258

ราคาถั่วลิสงในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่ง 140,000 จัตต่อถุง

ในช่วงต้นปี 2565 ราคาขายถั่วลิสงในตลาดมัณฑะเลย์ดีกว่าปีก่อนๆ อยู่ที่ 140,000 จัตต่อถุงในช่วงสามสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญ โดยช่วงต้นปี 2564 ราคาถั่วลิสงถุงใหม่อยู่ที่ 105,000 จัต ขณะที่ราคาในสัปดาห์แรกของเดือนม.ค.65 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 140,000 จัตต่อถุง ตลาดส่งออกหลักคืออินเดีย และจีน คาดว่าผลผลิตในปีนี้มีแนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่ดีและศัตรูพืชที่น้อยลง ทั้งนี้ไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีฝนตกและเขตร้อน แต่เหมาะกับสภาพอากาศค่อนข้างอบอุ่น เริ่มจากต้นน้ำจนถึงเขตพะโม แม่น้ำชินวินตอนบน โดยการเพาะปลูกส่วนใหญ่ในเมืองกะเล่วะ เมืองพะโม และเมืองปะโคะกู
ที่มา: https://news-eleven.com/article/223193

ถั่วแระสด ทะลักเข้าศูนย์สินค้าโมนยวา

ศูนย์สินค้าโมนยวา (Monywa Commodity Center) เตรียมจัดส่งถั่วแระสดที่เก็บเกี่ยวใหม่ในราคา 35,000 จัตต่อตะกร้า โดยเริ่มขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ท่ามกลางความไม่แน่นอนผลผลิตที่มีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจำนวนมากทำให้ราคาลดลงเล็กน้อยที่ 5,000-7,000 จัตต่อตะกร้า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2563 ถึง 30 ก.ย.2564 ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วแระกว่า 214,000 ตันไปต่างประเทศ สร้างรายได้กว่า 144 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดหลักจะเป็นอินเดีย และบางส่วนถูกส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ทั้งนี้ข้อตกลงการค้าแบบ G to G ระหว่างเมียนมาและอินเดีย พร้อมกับการผ่อนคลายเกี่ยวกับโควตานำเข้า จะทำให้ตลาดแข็งแกร่งในอีก 5 ปีข้างหน้า
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fresh-pigeon-pea-flowing-into-monywa-commodity-centre/#article-title

ภาคปศุสัตว์เมียนมา อ่วม! ต้นทุนการผลิตพุ่ง

สหพันธ์ปศุสัตว์เมียนมา (MLF) ระบุ ภาคปศุสัตว์ของเมียนมาประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง รวมถึงต้นทุนอาหารสัตว์ น้ำมันเชื้อเพลิงและค่าขนส่งที่พุ่งขึ้น อีกทั้งปัญหาการนำเข้าเนื้อสัตว์แช่แข็งอย่างผิดกฎหมาย ค่าเงินจัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัว รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้ผลผลิตไก่ไข่และไก่เนื้อในปีนี้ลดลง การผลิตสินค้าปศุสัตว์และสัตว์ปีกในเมียนมาโตขึ้น 10-15% ต่อปี ส่วนใหญ่ใช้วิธีการแบบดั้งเดิมและบางส่วนได้เปลี่ยนไปใช้วิธีการสมัยใหม่ ซึ่งบางครั้งการเลี้ยงสัตว์ปีกและการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานยังพบเห็นได้ทั่วไปในเมียนมา นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังเผชิญกับแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุน เช่น  จีน ไทย และอินเดีย นั่นคือเหตุผลที่ต้องปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ท้องถิ่นใหม่ เพื่อตอบรับการลงทุนในการเลี้ยงสัตว์ปีกของนักลงทุนต่างชาติ
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-sector-struggling-with-high-input-cost/

สายการบิน MAI, KBZ พร้อมเปิดเที่ยวบิน ย่างกุ้ง-ซิตต์เวย์ และ ย่างกุ้ง-ทันดเว

สายการบินเมียนมาแอร์เวย์อินเตอร์เนชั่นแนล (MAI) และสายการบิน KBZ จะเปิดให้บริการเที่ยวบินย่างกุ้ง-ซิตต์เวย์ และย่างกุ้ง ตันดเว ทุกวันสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางในประเทศ สายการบินเหล่านี้จะให้บริการเที่ยวบินย่างกุ้ง-เจาะพยู ทุกวันจันทร์ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ ขระเดียวกันเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 เครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64 โดยตั้งแต่ปี 2559 ถึงเดือนส.ค. 63 เมียนมามีรายได้จาก e-Visa หรือ ระบบตรวจตราคนต่างด้าวที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศเมียนมาทางอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 69.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากนักท่องเที่ยวกว่า 1.7 ล้านคนที่สมัครผ่านระบบ e-Visa ทั้งนี้ ณ วันที่ 21 ธ.ค.64 เมียนมามียอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมรวม 528,380 ราย เสียชีวิต 19,226 ราย ในขณะเดียวกันมีผู้หายป่วยกลับบ้านแล้วจำนวน 505,761 ราย
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mai-air-kbz-to-fly-yangon-sittway-and-yangon-thandwe-daily/#article-title

เมียนมาอนุญาตนำเข้ารถยนต์การพาณิชย์เพื่อจำหน่ายรถในโชว์รูมและศูนย์จำหน่ายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ประกาศว่าจะเริ่มนำเข้ารถยนต์เพื่อการพาณิชย์สำหรับโชว์รูมรถยนต์และศูนย์จำหน่ายรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศ สำหรับปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ตัวแทนขายรถในกรุงย่างกุ้งคาดว่าการนำเข้ารถยนต์เพื่อการพาณิชย์จะลดลงตามไปด้วย แต่ทั้งนี้การนำเข้าต้องปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งเฉพาะรถยนต์พวงมาลัยซ้ายเท่านั้นที่จะสามารถนำเข้าได้เท่านั้น
ที่มา : https://news-eleven.com/article/222383