25 พ.ย. 64 พร้อมเปิดชายแดนเมียนมา-จีน (Kyinsankyawt)

วันที่ 22 พฤศจิกายน การค้าผ่านแดนจะเริ่มทดสอบโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในช่วงบ่ายเป็นเวลาสามวัน หากการทดสอบเสร็จสิ้นลงแล้ว จะกลับมาเปิดดำเนินการในวันที่ 25 พ.ย. ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งรถบรรทุกสินค้าประมาณ 10,000 คันซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้าในด่านมูเซ 105 ไมล์ จะถูกวิ่งเพื่อทำการทดสอบก่อนก่อน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 2564 จีนได้ปิดชายแดน (Kyinsankyawt, Wamting) หลังแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ส่งผลให้คนงานราว 400,000-600,000 คนต้องตกงาน นอกจากนี้ ผู้ค้าจากด่านชายแดนมูเซยังสูญเสียรายได้จากการปิดด่านในครั้งนี้ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติของเมียนมาไปยังจีนยังดำเนินการผ่านพรมแดนมูเซ-รุ่ยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบ CMP เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-kyinsankyawt-border-post-to-resume-operations-on-25-nov/#article-title

พื้นที่ปลูกแตงโมเขตซะไกง์ ลดฮวบเหลือ 200 ไร่

จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนถูกระงับส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกแตงโมลดลงกว่า 200 ไร่ ในเมืองช่องอู้ เขตซะไกง์ ก่อนหน้านี้ มีการพบแตงโมที่ทำการเพาะปลูกกว่า 10,000 เอเคอร์ในทุกฯ ปี ทำให้เกษตรกรบางรายหันไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ถั่วลูกไก่ เพราะการปลูกแตงโมต้องใช้เงินลงทุนมาก อยู่ที่ประมาณ 5-6 ล้านจัตต่อเอเคอร์ โดยราคาแตงโมลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากจีนปิดชายแดนเมื่อเดือนกรกฎาคมเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แตงโมส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังจีน ส่งผลให้ราคาลดลงท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด ด้วยเหตุนี้ หากจีนขยายเวลาปิดประเทศเป็นเวลานาน เกษตรกรจะประสบความสูญเสียมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาในทุกๆ ปี เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปีและกว่า 150,000 ตันไปถูกส่งออกไปยังจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-sown-acreage-drops-to-200-in-sagaing-region-due-to-market-obstacle/

เมียนมานำเข้าวัตถุดิบ CMP 179 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เผย ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 64 เมียนมานำเข้าวัตถุดิบเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตด้วยการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ CMP (cut-make-pack) 179.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อยปี 64-65 (ต.ค.63 ถึง มี.ค.64) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งภาคการผลิต CMP เป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ขณะนี้อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่สภาวะปกติหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของเมียนมา โดยตลาดส่งออกหลักๆ จะเป็นญี่ปุ่น ยุโรป เกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา ระหว่าง 1 ต.ค.63 ถึง 30 ก.ย.64 ในปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้า CMP แตะระดับต่ำสุดที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/raw-materials-import-by-cmp-businesses-stand-at-179-mln-as-of-5-november/

ราคาพริกขี้หนูสดชายแดนเมียวดี ราคาพุ่งเป็น 10,000 จัตต่อ 5 viss

ราคาพริกสดที่ชายแดนเมียวดี อยู่ที่ 10,000 จัตต่อ 5 viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ปัจจุบันพริกสดในประเทศขาดแคลน ราคาพุ่งไปถึง 1,400-2,000 จัตต่อ viss ซึ่งผลมาจากสต็อกที่ต่ำ ผลผลิตลดน้อยลง และเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวพริกของไทย อย่างไรก็ตาม การปิดด่านมูเซ ซึ่งเป็นด่านสำคัญของเมียนมาและจีนตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 ส่งผลให้การส่งออกพริกสดต้องหยุดชะงัก ทั้งนี้พริกสดในประเทศนิยมปลูกในเขตอิรวดี มัณฑะเลย์ มาเกว และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fresh-chilli-pepper-priced-at-k10000-per-five-visses-in-myawady-border/#article-title

ถั่วเมียนมาเริ่มเป็นที่ต้องการจากอินเดีย

ผู้ค้าถั่วเมียนมา เผย ตลาดถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมาคาดว่าจะเติบโตจากกลุ่มผู้ซื้อที่จากอินเดีย ชาวไร่ชาวสวนผู้ปลูกถั่วอินเดียประสบปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายต่อการปลูกถั่ว ดังนั้นความต้องการจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กระทรวงการเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร ของอินเดียอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำรวมถึงถั่วพัลส์อื่น ๆ จากเมียนมา ด้วยการผ่อนคลายเงื่อนไขในการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธ.ค.2564ราคาของถั่วมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นราคาจึงไม่น่าจะลดลงจนถึงเดือนธ.ค. ปัจจุบัน ราคาถั่วเขียว (ชเววา) ต่อตะกร้าอยู่ที่ 44,000 จัต ถั่วเขียว 40,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วดำ 46,000 จัตต่อตะกร้า และถั่วลิสง 59 ,000 จัตต่อตะกร้า ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาออกถั่ว 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางเรือ 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 1.24 ล้าน และส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านชายแดน 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากจำนวน 786,920 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bean-market-sees-high-potential-on-possible-demand-of-india/#article-title

5 พ.ย. 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา ลดลง 315 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาอยู่ที่ 315.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 2564 ถึงมีนาคม 2565) ลดลง 28.49 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 343.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากคู่ค้าหลักอย่างจีนปิดปิดชายแดนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และอื่นๆ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ปัจจุบันเมียนมาพยายามวางแผนการส่งออกเนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีความผันผวน การค้าแบบ G to G จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยสร้างตลาดที่แข็งแกร่งสำหรับเกษตรกร ซึ่งกระทรวงพาณิชย์กำลังช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นเป็น 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ จะมีแนวโน้มลดลง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-315-mln-as-of-5-november/#article-title