เมียนมาเตรียมสร้างท่าเรือเพื่อพัฒนาการขนส่งทางน้ำ

กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารกำลังวางแผนที่จะพัฒนาท่าเรือภายในประเทศหลายแห่งที่แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำชิดวิน เพื่อปรับปรุงการขนส่งทางบกและการขนส่งทางแม่น้ำ ท่าเรือแห่งใหม่นี้จะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังยกระดับการค้ากับอินเดีย จีน และไทยและสอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติของเมียนมาและแผนแม่บทโลจิสติกส์ ท่าเรือทั้ง 5 แห่งอยู่ใน จังหวัดปะโคะกู เขตมะกเว เมืองบะมอฝั่งแม่น้ำอิรวดี รวมถึงเมืองกะเล่วะและเมืองโมนยวาริมแม่น้ำชิดวิน (Chindwin) โดยมีมูลค่ารวม 182 ล้านดอลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีการเปิดประมูลและคาดว่าจะเริ่มได้ในปีงบประมาณที่จะถึงนี้  ท่าเรือทั้ง 5 แห่งซึ่งเมื่อพัฒนาแล้วคาดว่าจะยกระดับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการขนถ่ายสินค้าและการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังช่วยลดราคาสินค้าเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ลดลง ประหยัดเวลาการเดินเรือด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายที่รวดเร็ว ลดการสูญเสียและความเสียหายต่อสินค้าและการขนถ่ายสินค้าที่ปลอดภัยและมีความเชื่อถือมากขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-build-inland-ports-improve-river-transportation.html

ครม.เห็นชอบแถลงการณ์ร่วม รมต.อาเซียน-จีนเสริมสร้างการขนส่งสู้โควิด-กระตุ้นศก.

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ราบรื่นเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 และการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้ รมว.คมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโควิด-19 ด้วยระบบการประชุมทางไกล ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 16 ก.ค.นี้ แถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าวแสดงออกถึงความมุ่งมั่นระหว่างอาเซียนและจีนในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก การเดินทางและการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการผลิต การค้าปลีก การคมนาคม และการบริการด้านอื่นๆ รวมทั้งห่วงโซ่อุปทานและตลาดการเงินหยุดชะงัก สาระสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ไม่ให้เกิดอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าที่จำเป็นข้ามพรมแดน รวมถึงอาหาร ยาและเวชภัณฑ์สำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าและบริการอื่นๆ อำนวยความสะดวกในการเข้า ออก และผ่าน ของวัสดุและสินค้า ให้ความสำคัญต่อการเดินเรืออย่างปลอดภัย ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสข้ามพรมแดน และลดความเสี่ยงของกลุ่มที่นำเชื้อโรคเข้าประเทศ รวมทั้ง อาเซียนและจีน จะอำนวยความสะดวกในการเตรียมการเดินทางโดยค่อย ๆ ลดข้อจำกัดด้านการเดินทางแต่ยังคงเคารพซึ่งการป้องกันสุขภาพ โดยอาเซียนและจีนเห็นพ้องถึงความสำคัญที่จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างความปลอดภัยด้านสาธารณสุขและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/news/2020-b451b842b5809ae67c3bef48c86fe410

บริษัทขนส่งไทยระงับเส้นทางมายังสปป.ลาว

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัท ขนส่ง จำกัดประเทศไทย (บขส.) ระงับการให้บริการรถบัสระหว่างประเทศหนึ่งในนั้นคือเส้นทางจากไทยไปยังเขตรอยต่อสปป.ลาว-ไทย การระงับการเดินทางดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตราการลดความเสี่ยงในแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้แรงงานสปป.ลาวหลายรายต้องตกงาน จึงมีการหลั่งไหลกับสปป.จำนวนมากในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยมีข้อกำหนดวันที่จะปิดพรหมแดนทำให้แรงงานสปป.ลาว มีความต้องการกลับยังประเทศในสถานการณ์แบบนี้แต่ก็มีบางส่วนไม่ได้กลับไปเพราะคิดว่าตัวเองอาจมาจากกลุ่มเสี่ยงการกลับบ้านไปอาจทำให้ไปแพร่ระบาดเชื้อไวรัสในสปป.ลาวได้  ซึ่งจากมาตราการดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลต่อแรงงานสปป.ลาวในไทยแต่ยังส่งผลต่อผลประกอบของุรกิจโดยตรง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านที่ได้รับผลกระทบจากการที่นักท่องเที่ยวลดลงจนถึงปัจจุบันที่มีมาตราการดังกล่าวออกจึงตอกย้ำความย่ำแย่ของบริษัท แต่ถึงอย่างไรในช่วงสถานการณ์แบบนี้บริษัทน้อมรับทำตามมาตราการของนโยบาย

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1886425/buses-to-laos-cambodia-suspended

การประชุมที่จะเกิดขึ้นบ่งบอกถึงชื่อเสียงของกัมพูชาในฐานะศูนย์กลางด้านการขนส่ง

กัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพในการรวมตัวกันของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศในเดือนหน้า ที่แสดงถึงชื่อเสียงที่เพิ่มขึ้นของกัมพูชาในฐานะศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่ บริษัท วิจัยของอินเดีย Mordor Intelligence ตลาดการขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 2.25 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 โดยจากผลการศึกษาที่ออกโดย Agility ซึ่งเป็นหนึ่งใน บริษัท โลจิสติกส์ชั้นนำของโลกแสดงให้เห็นว่าการถูกจัดอันดับของกัมพูชาบนดัชนีซึ่งเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆทั่วโลกในตลาดโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นใหม่ได้ลำดับดีขึ้นเป็นอย่างมากจากปีที่แล้ว โดยกัมพูชายังเห็นการเติบโตอย่างมากจากจำนวนบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตามตัวเลขที่จัดทำโดยสมาคมผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศแห่งกัมพูชาพบว่ามีบริษัทโลจิสติกส์จดทะเบียนจำนวน 500 แห่งได้เริ่มดำเนินกิจการในสีหนุวิลล์พนมเปญและส่วนอื่นๆของกัมพูชา โดยผู้จัดงานคาดหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วม 100-500 คน จากกัมพูชาและประเทศอื่นๆเพื่อเข้าร่วมการประชุมโลจิสติกส์ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นที่โรงแรม Dyvith ในกรุงพนมเปญระหว่างวันที่ 18 ถึง 20 เมษายน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50700678/upcoming-confab-signifies-cambodias-growing-reputation-as-key-logistics-hub

ภาคการขนส่งสปป.ลาวกำลังเติบโตอย่างมาก

การขนส่งสินค้าและพัสดุในสปป.ลาวกำลังเติบโตจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ e-commerce ในประเทศ โดยหนึ่งในผู้ให้บริการจัดส่ง ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆนี้อย่าง HAL Logistics Co Ltd ซึ่งเป็น บริษัทขนส่งสินค้าในเวียงจันทน์เป็นหลักและยังมีบริการขนส่งทั่วสปป.ลาวอีกด้วย โดยในปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่ง Mr Sisavath Mayongseun ผู้จัดการของบริษัทกล่าวว่า “ สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องให้บริการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้” โดยในอนาคตภาคการขนส่งทางบกจะเป็นภาคการขนส่งที่สำคัญเพราะด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ที่สปป.ลาวไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การขนส่งหลักๆจะมาจากทางบกไม่ว่าจะเป็นทางถนนที่มีการเชื่อมต่อทั่วสปป.ลาวและไปสู่ประเทศรอบๆ นอกจากนี้การขนส่งทางรถไฟในอาคตเมื่อโครงการรถไฟลาว – ​​จีนแล้วเสร็จจะทำให้การขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นช่องทางการค้าและการลงทุนที่สำคัญแก่สปป.ลาวต่อไป

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/freight-company-keen-cash-e-commerce-boom-laos-114397

อันดับด้านฐานะศูนย์กลางการขนส่งของกัมพูชายังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การได้รับการจัดอันดับของกัมพูชาดีขึ้นเล็กน้อยในฝั่งของดัชนีระดับโลกของตลาดโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นใหม่ในปีนี้เพิ่มขึ้นหนึ่งอันดับเมื่อเทียบกับการสำรวจเดียวกันในปีที่แล้วจากลำดับ 42 เป็น 41 จาก 50 ประเทศที่รวมอยู่ในการจัดลำดับ โดยการสำรวจจัดทำโดย Agility ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำของโลก เคยดำเนินการสำรวจครั้งแรกในปี 2551 และได้เผยแพร่ผลการวิจัยในทุกๆปี โดยการศึกษานี้เกี่ยวข้องกับประเทศที่ถูกพิจารณาว่าเป็นตลาดโลจิสติกส์ ในปีนี้กัมพูชาได้คะแนน 4.36 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกับยูกันดา โดยกัมพูชามีโอกาสในการขนส่งระหว่างประเทศดีที่สุด (4.46) ในขณะที่คะแนนต่ำสุดอยู่ที่ (4.19) ในบรรดา 50 ประเทศในการสำรวจกัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 49 ในด้านโอกาสในการขนส่งภายในประเทศอันดับที่ 33 ด้านโอกาสด้านการขนส่งระหว่างประเทศและอันดับที่ 36 ในด้านพื้นฐานธุรกิจ ซึ่งมีการจัดอันดับตามปัจจัยสามประการ โอกาสในการขนส่งภายในประเทศ, โอกาสในการขนส่งระหว่างประเทศและปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692512/cambodias-ranking-as-a-logistics-hub-remains-stable

ภาคการขนส่งเวียดนาม ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานกว่า 2 ล้านคน

จากข้อมูลของสมาคมโลจิสติกส์เวียดนาม (VLA) เปิดเผยว่าภาคโลจิสติกส์เวียดนามมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละมากกว่า 10 ต่อปี และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งตัวเลขสถิติ แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบัน เวียดนามมีบริษัทรับจัดส่งสินค้า 30,000 แห่ง รวมถึง 4,000 แห่ง ที่ดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าในประเทศและระหว่างประเทศ หากจำแนกออกเป็นขนาดธุรกิจ พบว่าส่วนใหญ่ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนแรงงานกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องมาจากเวียดนามเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการตกลงความร่วมมือการค้าเสรี (FTA) โดยคาดว่าในอีก 3 ปีข้าวหน้า ธุรกิจโลจิสติกส์เวียดนามต้องการพนักงานใหม่ 18,000 คน ทำให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมคุณภาพการฝึกอบรมแรงงานในภาคโลจิสติกส์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ตลาดโลจิสติกส์และคลังสินค้าเวียดนาม คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 13.3 ในช่วงปี 2561-2565

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-logistics-sector-faces-labor-shortage-of-2-million-people-406638.vov

การแข่งขันของธุรกิจขนส่งสินค้า “อีคอมเมิร์ซเวียดนาม” มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ‘ช้อปปี้’ (Shopee) ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวแพ็กเกจการให้บริการชุดใหญ่ อย่างไม่คาดถึง ด้วยลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าผ่านบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ และเลือกบริการขนส่งสินค้าแกร็บ (Grab) ซึ่งจะได้รับการบริการจัดส่งฟรี และได้รับสิทธิพิเศษของมูลค่าสินค้าสูงถึง 200,000 ด่อง ทั้งนี้ แพ็กเกจและโปรโมชั่นดังกล่าว จะสามารถใช้เฉพาะในเขตของนครโฮจิมินห์และฮานอยเท่านั้น และระยะเวลาในการส่งมอบภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในปี 2561 จากรายงานของบริษัท Google และ Temasek ระบุว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีอัตราการเติบโต (CAGR) ร้อยละ 35 ต่อปี ในช่วงปี 2558-2561 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คำนวณเฉพาะมูลค่าของ B2C เท่านั้น) ประกอบกับคนเวียดนามมีความต้องการสินค้าและความใจร้อนสูงมาก โดยทาง MoIT คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะมีมูลค่าราว 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ecommerce-delivery-battle-in-vietnam-becomes-more-costly-406314.vov

รัฐบาลสปป.ลาวไฟเขียว PetroTrade เพื่อการพัฒนาทางรถไฟสปป.ลาว – เวียดนาม

รัฐบาลสปป.ลาวได้มอบหมายและให้สิทธิแก่ the Petroleum Trading Lao Public Company (PetroTrade) ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟสปป.ลาว – ​​เวียดนาม กระทรวงแผนการและการลงทุนในนามของรัฐบาลและ PetroTrade ได้ลงนาม MOU เพื่อศึกษาและออกแบบรายละเอียดทางรถไฟให้เสร็จสมบูรณ์ การพัฒนาทางรถไฟสปป.ลาว – ​​เวียดนาม จากท่าแขกไปยังท่าเรือวุงอ่างในเวียดนามมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากรัฐบาลให้ความไว้วางใจและสิทธิ PetroTrade เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้โดยละเอียด ทางรถไฟจะเชื่อมต่อสปป.ลาวกับภูมิภาคอาเซียนและเปิดใช้งานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการค้าการลงทุนและการเกษตรซึ่งจะทำให้สปป.ลาวมีศักยภาพที่จะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังจะเปลี่ยนสปป.ลาวจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นประเทศที่เชื่อมโยงกับพื้นที่เชื่อมโยงภูมิภาคเพื่อให้บรรลุแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-gov%E2%80%99t-gives-green-light-petrotrade-laos-vietnam-railway-development-106395

ปริมาณการขนส่งสินค้าในกัมพูชาเพิ่มขึ้น 18% ที่ PAS

ปริมาณการขนส่งสินค้าที่ Sihanoukville Autonomous Port (PAS) ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศเพิ่มขึ้น 18% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยประธานสมาคมผู้ขนส่งสินค้ากัมพูชา (CAMFFA) กล่าวว่าการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยสิ่งทอและสินค้าเกษตร ซึ่งสังเกตว่าการเติบโตในภาคการขนส่งเป็นผลมาจากประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของกัมพูชา โดยการนำเข้าและส่งออกของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 70% ได้ทำการส่งผ่านท่าเรือและกำลังทำการก่อสร้างพื้นที่แห่งใหม่ด้วยการลงทุนประมาณ 203 ล้านเหรียญสหรัฐที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566 จะช่วยเพิ่มพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ของท่าเรือเป็น 900,000 TEUs ต่อปี ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านสัญญาเงินกู้ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) โดยลงนามกับรัฐบาลกัมพูชาไว้ในปี 2560 ซึ่งในปี 2561 มีจำนวน 541,288 TEUs ผ่าน PAS ซึ่งเพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในปี 2563 คาดว่าปริมาณของตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือจะเกินกว่า 700,000 TEUs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651165/cargo-traffic-up-18-pct-at-pas-ceo/