การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของเมียนมาร์เกิน 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมามีมูลค่ารวม 3.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา (เมษายน-มีนาคม) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการลดลง 167.7 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565-2566 อย่างไรก็ตาม เมียนมาส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดนเป็นหลัก ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยองค์กร CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-agri-produce-exports-exceed-us3-8b-in-fy-2023-2024/#article-title

การส่งออกภาคการผลิตทะลุ 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยว่า มูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตทะลุ 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งลดลง 2.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งมีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปมูลค่า 10.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมูลค่ารวมจากการขนส่งสองรูปแบบ (ทางทะเลและชายแดนทางบก)  อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ การประมง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบจากโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า CMP และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-exports-surpass-us8-8-bln-in-fy2023-2024/#article-title

การส่งออกผลิตภัณฑ์ป่าไม้ของเมียนมาทะลุ 65.7 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 11 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาระบุว่า ณ วันที่ 22 มีนาคม การส่งออกผลิตภัณฑ์ป่าไม้ของเมียนมามีมูลค่า 65.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีการเงิน 2566-2567 โดยแบ่งเป็น 0.77 ล้านดอลลาร์จากภาครัฐ และกว่า 64.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากภาคเอกชน ในขณะเดียวกันช่วงปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมา การส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าของเมียนมามีมูลค่าอยู่ที่ 139.35 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) ปี 2563-2568 เพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยมีภาคส่วนที่สำคัญของ NES ได้แก่ การผลิตทางการเกษตร เครื่องแต่งกายและเครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล , บริการโลจิสติกส์, การจัดการคุณภาพ, บริการข้อมูลการค้า, ภาคนวัตกรรมและผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-forest-product-export-surpasses-us65-7m-over-11-months/#article-title

เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก 250,000 ตัน มูลค่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม

ตามข้อมูลของสมาพันธ์ข้าวเมียนมา รายงานว่า ในช่วงเดือนมีนาคมของปีนี้ จากบริษัท 55 แห่งของเมียนมามีการส่งออกข้าว 147,041 ตัน และการส่งออกข้าวหัก 109,996 ตัน คิดเป็นยอดรวม 257,037 ตัน สร้างรายได้จากการส่งออกทั้งหมดกว่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากยอดรวมดังกล่าวเป็นการค้าต่างประเทศอยู่ที่ 252,993 ตัน และการค้าชายแดนอยู่ที่ 4,077 ตัน ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในการส่งออกข้าวของเมียนมาโดยมีการส่งออกไป 41,000 ตัน, แคเมอรูน 28,645 ตัน, โกตดิวัวร์ 24,000 ตัน, เบลเยียม 9,000 ตัน, สเปน 8,380 ตัน และประเทศอื่นๆ 36,016 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออกข้าวหักเมียนมา ส่งออกไปยังเบลเยียม 45,022 ตัน, จีน 33,299 ตัน, สเปน 10,000 ตัน, ฟิลิปปินส์ 4160 ตัน, อินโดนีเซีย 4160 ตัน และประเทศอื่นๆ 133,55 ตันตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-250000-tonnes-of-rice-and-broken-rice-worth-us-133-mln-in-march/

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 1/67 ชะลอตัวที่ 5.66%YoY คาดทั้งปี 67 เติบโต 5.8-6.0% หนุนโดยการส่งออก

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 1/67 ชะลอตัวที่ 5.66%YoY คาดทั้งปี 67 เติบโต 5.8-6.0% หนุนโดยการส่งออก

  • เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 1/2567 เติบโตชะลอตัวลง จากการชะลอตัวของการลงทุนในภาพรวม
  • การส่งออกยังเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 1/2567 โดยมูลค่าการส่งออกเติบโตเร่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2%YoY ในไตรมาสที่ 1/2567
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทั้งปี 2567 เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอยู่ที่ระดับ 8-6.0% จากแรงหนุนของการส่งออก

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Vietnam-GDP-EBR4050-29-03-2024.aspx

การส่งออกสินค้าประมงทะลุ 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 15 มีนาคม

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอ) กล่าวว่า เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีมูลค่า 675.958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยัง 45 ประเทศ ณ วันที่ 15 มีนาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินค้าประมงจะถูกจัดส่งไปยังคู่ค้าต่างประเทศผ่านช่องทางการค้าทางทะเล และทางชายแดน โดยการส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 หากเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งออกกุ้งในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างมาก และกุ้งเลี้ยงจากตะนาวศรีเป็นสินค้าซื้อขายที่มีมูลค่ามากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปลามากกว่า 20 ชนิด รวมถึงฮิลซา ปลากะพง ปลาโรหู ปลาดุกแม่น้ำ และปลาบาร์บัส โดยที่คู่ค้าหลักที่เมียนมาส่งออกไป ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมงในฐานะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในขณะที่การส่งออกอาหารทะเลไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน มีการตรวจสอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานกำลังพยายามปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกประมง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-exports-cross-us675-mln-as-of-15-march/#article-title

MCBA อำนวยความสะดวกในการรับสินค้าออกจากท่าเรือ

สมาคมนายหน้าศุลกากรแห่งเมียนมา (MCBA) จะดำเนินการให้แน่ใจว่าการรับสินค้าออกจากท่าเรือจะไม่เกิดความล่าช้า โดยเมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ด้านกรมศุลกากรของเมียนมาเริ่มมีการใช้เครื่องเอ็กซเรย์ เพื่อช่วยลดเวลาในการตรวจสอบสินค้า รวมทั้ง ท่าเรือ Asia World Port Terminal (AWPT) ก็มีการให้บริการสแกนเอ็กซเรย์เช่นกัน และด้านท่าเรืออุตสาหกรรมของเมียนมา (MIP) ก็เริ่มมีการฝึกปฏิบัติโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยด้วยการเอ็กซเรย์ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร, สมาคมขนส่งตู้คอนเทรนเนอร์เมียนมา (MCTA), การท่าเรือเมียนมา (MPA), สมาคมผู้ส่งสินค้าระหว่างประเทศเมียนมา (MFFA), AWPT, MIP และ MCBA จะอำนวยความสะดวกในการประสานงานเรื่องต่างๆ เพื่อให้การรับคืนสินค้าและการค้าเป็นไปอย่างราบรื่นทันเวลา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mcba-to-facilitate-cargo-retrieval-from-port-terminal/

การส่งออกจากภาคการผลิตทะลุ 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 1 มีนาคม

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เผยว่ามูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตมีมูลค่า 8.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 1 มีนาคมของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งลดลง 1.975 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปมีมูลค่า 10.255 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมายังคงพลักดันภาคการส่งออก ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อสนับสนุนการส่งออก ภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคส่วนของผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-from-manufacturing-sector-surpass-us8-2b-as-of-1-march/#article-title

‘เวียดนาม’ ส่งออกสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก

หนังสือพิมพ์เดอะ ฮินดู (The Hindu) รายงานว่าส่วนแบ่งการส่งออกสมาร์ทโฟนของเวียดนามในปี 2565 สูงถึง 12% ของตลาดสมาร์ทโฟนโลก ในขณะเดียวกัน อินเดียเป็นคู่แข่งของเวียดนามในตลาดสมาร์ทโฟนและอยู่ในอันดับที่ 7 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งการส่งออกมากกว่า 2.5% อย่างไรก็ดีจีนยังคงครองส่วนแบ่งการส่งออกสมาร์ทโฟนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดโลก

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนของเวียดนามในเดือน ม.ค. มีมูลค่ามากกว่า 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี และจากรายงานของธนาคาร HSBC แสดงให้เห็นว่าเวียดนามครองส่วนแบ่งทางการตลาดสมาร์ทโฟนโลกถึง 13% ในปี 2564 โดยเป็นผู้ส่งออกสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก

ที่มา : https://www.nationthailand.com/world/asean/40036303

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่ากว่า 624 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามรายงานของ U Nyunt Win ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอว์) ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ของปีการเงิน 2566-2567 เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 300 รายการไปยัง 45 ประเทศ สร้างรายได้กว่า 624.473 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการส่งออกเป็นประจำไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลรวมจำนวน 435,000 ตัน มีช่องทางการส่งออกผ่านการขนส่งทางอากาศ และผ่านชายแดนเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากการระงับเส้นทางการค้าชายแดนบางเส้นทางด้วยเหตุผลหลายประการ รายได้ในปีนี้จึงลดลง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ หากเทียบกับยอดรวมของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 676.528 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออกกำลังร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางทะเลจากเมียนมา เพื่อให้มั่นใจว่ามีการส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น จีนมีเกณฑ์การนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะปลอดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-aquatic-products-worth-over-us624m-in-2023-24-financial-year/