‘เวียดนาม’ ส่งออกสินค้าเกษตรไปรัสเซีย 5 เดือนแรก พุ่ง 48.7%

จากข้อมูลสถิติเบื้องต้นของกรมศุลกาการ เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังรัสเซีย เพิ่มขึ้น 48.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ กาแฟ มูลค่า 161.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 39%YoY รองลงมาอาหารทะเล เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผักและผลไม้ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ตลาดรัสเซียไม่ใช่ตลาดส่งออกขนาดใหญ่ของสินค้าเกษตรเวียดนาม แต่ว่าเมื่อประเมินในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ทิศทางการส่งออกไปยังรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ในขณะที่สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าการส่งสินค้าจากเวียดนามไปรัสเซีย มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ขนส่งรัสเซียได้เปิดเส้นทางขนส่งจากโฮจิมินห์-ไฮฟอง-วลาดิวอสต๊อก

นอกจากนี้ ยังมีผู้ขนส่งสินค้ารายอื่นที่เปิดเส้นทางการขนส่งใหม่ ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งและส่งสินค้าได้เร็วขึ้น ประกอบกับเวียดนามได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม- สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย หนุนให้เวียดนามยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันสินค้าเกษตรในตลาดยุโรปและรัสเซีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/five-month-farm-exports-to-russia-soar-by-487-post1102239.vov

‘กาแฟเวียดนาม’ ราคาพุ่ง

จากข้อมูลวันที่ 5 มิ.ย. ระบุว่าราคากาแฟในพื้นที่ที่ราบสูงตอนกลาง (Central Highlands) ของเวียดนาม ยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 122,000 – 123,500 ด่องต่อกิโลกรัม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ อย่างไรก็ดี ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาและการเก็งกำไรในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ รวมถึงราคากาแฟ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคากาแฟโรบัสต้าในเมืองลอนดอนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยอยู่ที่ประมาณ 3,846 – 4,319 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

นอกจากนี้ โคลัมเบีย เปรูและฮอนดูรัส อยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวกาแฟ ซึ่งคาดการณ์ว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ต่ำกว่าความต้องการของตลาด ส่งผลให้ราคากาแฟยังคงปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-coffee-prices-on-the-rise-post288072.vnp

สปป.ลาว-สหภาพยุโรป ร่วมพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าสินค้ากาแฟ ชา และผลิตภัณฑ์ป่าไม้

รัฐบาล สปป.ลาว สหภาพยุโรป (EU) ผู้แทนจากฝรั่งเศสและเยอรมนี ร่วมเปิดตัวโครงการ Global Gateway มูลค่าหลายล้านยูโร เพื่อพัฒนาห่วงโซ่มูลค่ากาแฟ ชา และป่าไม้ และสนับสนุนการเข้าถึงตลาด โครงการนี้มีขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า การลงทุน และการเชื่อมต่อในภาคการเกษตรและป่าไม้ที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนและครอบคลุมของกาแฟ ชา และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ที่ สปป.ลาว กำลังทำการค้ากับสหภาพยุโรป เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาดระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่าที่ดีขึ้นกับตลาดระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ผ่านการฟื้นฟูทางหลวงหมายเลข 2 ที่เป็นเส้นทางไปสู่ประเทศไทยและเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสหภาพยุโรป จำนวน 28 ล้านยูโร ฝรั่งเศส 4.65 ล้านยูโร เยอรมนี 11 ล้านยูโร และเงินกู้ที่ได้รับสัมปทานจากธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป 50 ล้านยูโร

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_54_LaosEU_y24.php

ความต้องการกาแฟที่ปลูกในท้องถิ่นของเมียนมาเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ตามการระบุของ ผู้ปลูกกาแฟ ระบุว่าทั้งอุปสงค์และอุปทานของกาแฟทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตลาดพืชผลเพิ่มขึ้น ซึ่งในพม่ามีการปลูกกาแฟอาราบิก้าเป็นหลัก ซึ่งกาแฟเมียนมาได้รับความนิยมทั้งในตลาดท้องถิ่นและต่างประเทศตั้งแต่ปี 2562 ตามข้อมูลของผู้ปลูกและผู้ผลิตกาแฟ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออก ความต้องการจากเวียดนามอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งจากการวิจัย พบว่าความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไร่กาแฟได้รับการสนับสนุนระดับรัฐ ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาคกาแฟมีการพัฒนาค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ในเมียนมามีกาแฟหลายประเภทที่ผลิตจาก Ywangan และ Myeik ซึ่งราคากาแฟอาราบิก้าอยู่ที่ 28,000 จ๊าดต่อกิโลกรัม และกาแฟอาราบิก้าได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-locally-grown-coffee-demand-rises-in-both-local-and-foreign-markets/

สมาคมกาแฟเมียนมาเสนอการแปรรูปกาแฟขั้นกลาง ในเมือง PyinOoLwin

สมาคมกาแฟเมียนมา (MCA) จะจัดหลักสูตร Coffee Processing Intermediate Course และชั้นเรียน CQI Intro PHP (Coffee Quality Institute – ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการหลังเก็บเกี่ยว) ที่ MCA Knowledge Center และโรงงานกาแฟ MCG ในเมือง PyinOoLwin  ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งหลักสูตรเร่งรัดเหล่านี้จะนำเสนอความรู้และมาตรฐานของการแปรรูปกาแฟเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานสากลสำหรับเมล็ดกาแฟ วิธีการแปรรูป และผลิตภัณฑ์ของกาแฟผ่านแนวทางเชิงปฏิบัติและทางเทคนิค ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรองการสำเร็จหลักสูตร CQI Post-Harvest Processing Class ค่าเรียนอยู่ที่ 450,000 จ๊าด และหลักสูตรระดับกลางในการแปรรูปกาแฟรอบที่สองจะเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 26 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีค่าธรรมเนียม 600,000 จ๊าด โดยสมาชิกที่ชำระค่าสมาชิกรายปีแล้ว จะได้รับส่วนลด 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม หลักสูตรยังครอบคลุมถึงประวัติความเป็นมาของกาแฟ การแปรรูปกาแฟ หลักการพื้นฐานและแนวปฏิบัติของมาตรฐานกาแฟ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแปรรูปกาแฟ ลักษณะของเมล็ดกาแฟสุก วิธีการเก็บเกี่ยวและคุณประโยชน์ของกาแฟ การวิเคราะห์ตัวอย่างเมล็ดกาแฟและการควบคุมคุณภาพ อุปกรณ์ในการ วัดความชื้นของกาแฟและเครื่องวัดการหักเหของแสงเพื่อทดสอบปริมาณน้ำตาลและทดสอบการสุกของกาแฟ และวิธีการแปรรูปกาแฟตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การคั่ว ไปจนถึงการต้มเบียร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-coffee-association-to-offer-intermediate-coffee-processing-cqi-intro-php-class-in-pyinoolwin/#article-title

‘เวียดนาม’ เผย ม.ค. ยอดส่งออกกาแฟ พุ่ง 2 เท่า

กระทรวงเกษตรและพัฒนาขนบท เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกกาแฟไปยังต่างประเทศในเดือน ม.ค. อยู่ที่ 230,000 ตัน ทำรายได้ราว 623 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 61.6% และ 100.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่ราคากาแฟเฉลี่ยของภาคกลางปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาอยู่ที่ประมาณ 78,200-79,400 ดองต่อกิโลกรัม และคาดว่าทิศทางของราคากาแฟจะสูงขึ้นทะลุ 80,000 ดองต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ราคากาแฟเพิ่มขึ้นมาจากผู้ค้าซื้อกาแฟมีความต้องการสูง ก่อนที่จะถึงเทศกาลตรุษเต็ด (Tet) ของเวียดนาม ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกมองว่าจะขาดแคลนผลผลิตเหมือนกับปีที่แล้ว จึงมีความต้องการซื้อมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650432/viet-nam-s-coffee-export-value-doubles-in-january.html

AIDC ผนึกกลุ่ม ปตท. ร่วมพัฒนาสวนกาแฟวนเกษตร

Asia Investment, Development and Construction Sole Co., Ltd. (AIDC) และกลุ่ม ปตท. ได้แก่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ บริษัท ปตท. (ลาว) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ความเข้าใจ (MOU) ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในการสนับสนุนสวนกาแฟวนเกษตรในประเทศลาว เป้าหมายของความร่วมมือคือเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมีสถานที่ปลูกพืชที่มีประสิทธิผลและยั่งยืนมากขึ้น ข้อตกลงดังกล่าวลงนามระหว่างประธาน AIDC นายเพชรสภา ภูมิมาศักดิ์ และตัวแทน OR ปตท. และ ปตท. (ลาว) ซึ่งมี CEO ของ OR นายดิสทัต ปันยารชุน และบุคคลอื่น ๆ เป็นสักขีพยาน

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_08_AIDC_y24.php

ผู้ประกอบการไทย-จีน MOU ซื้อขายมัน,กาแฟกว่า 5,430 ล้านบาท

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย-จีน ที่โรงแรม Wanda Vista Kunming นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ เกิดขึ้นตามนโยบาย Quick Win ของรัฐบาล ในการผลักดันการส่งออก โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าทางออนไลน์ล่วงหน้าให้กับผู้ประกอบการไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าแป้งมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์กาแฟ กับผู้นำเข้าสินค้าไทยในจีน (Thai-Yunnan Quick Win Business Matching and Networking) ซึ่งสามารถตกลงซื้อขายกันได้ และนำมาซึ่งการลงนามในครั้งนี้ ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้นำเข้าจีน โดยเป็นการตกลงสั่งซื้อสินค้าแป้งมันสำปะหลังและสตาร์ชที่ผลิตได้จากหัวมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์กาแฟ คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,430 ล้านบาท

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/politics/news_654821/#google_vignette

‘เวียดนาม’ ส่งออกกาแฟ 1.7 ล้านตัน ปี 66

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม เปิดเผยว่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามในปีนี้ อยู่ที่ 1.7 ล้านตัน มูลค่า 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 152 ล้านบาท ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ หลังจากทำสถิติส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว

ทั้งนี้ Pham Quang Anh ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลการแลกเปลี่ยนการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามมีแนวโน้มที่จะทำสถิติส่งออกสูงสุดในปีนี้ เนื่องจากราคาในประเทศและราคาโลกปรับตัวพุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี เหตุจากการขาดแคลนผลผลิต ปริมาณกาแฟสำรองที่ต่ำและความต้องการกาแฟทั่วโลกที่แข็งแกร่ง

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าอุตสาหกรรมกาแฟจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ เพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มและการส่งออกที่ยั่งยืน

ที่มา : https://thailand.postsen.com/world/200821/Vietnam-expects-%E2%80%98coffee%E2%80%99-exports-to-reach-17-million-tons-in-2023.html

วงการกาแฟเวียดนามจ่อปรับตัวตามกฎระเบียบด้านป่าไม้ของอียู

เวียดนาม นิวส์ (Vietnam News) สื่อท้องถิ่นของเวียดนาม รายงานว่า อุตสาหกรรมกาแฟของเวียดนามควรยกระดับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม เผยว่าการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของที่ดินทุกแปลง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกำหนดของกฎระเบียบฯ ถือเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุด เนื่องจากเป็นงานที่มีค่าใช้จ่ายสูงสำหรับผู้ดำเนินงานจำนวนมาก จึงทำให้เวียดนามต้องพัฒนาฐานข้อมูลระดับชาติเกี่ยวกับพื้นที่ปลูกป่าและกาแฟ

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/327681