“รถไฟลาว-จีน” เผยยอดการขนส่งสินค้าแข็งแกร่ง

วันที่ 2 ม.ค. เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรในเมืองคุนหมิง รายงานว่ามีปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านรถไฟลาว-จีน อยู่ที่ 2.23 ล้านตัน นับตั้งแต่เปิดให้บริการ 13 เดือนที่ผ่านมา ปัจจุบันการขนส่งสินค้ามีมูลค่าราว 2.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หากพิจารณาในเดือนธันวาคม พบว่าศุลกากรคุนหมิงมีการขนย้ายสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออก จำนวนทั้งสิ้น 286,000 ตันที่ผ่านเส้นทางรถไฟ เพิ่มขึ้น 6 เท่าจากเดือนแรกของปี

นอกจากนี้ คุณ Zhang Xianzhou ผู้อำนวยการของธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่าตั้งแต่เปิดเส้นทางรถไฟลาว-จีน ปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกของธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพิ่มขึ้นราว 40% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และยังช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจอีกด้วย

ที่มา : https://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=70871

‘รถไฟจีน-ลาว’ ทำรายได้จากการขนส่งสินค้า เพียง 1 ปี ทะลุ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัทรัฐวิสาหกิจ Yunnan International Railway Service ระบุว่าการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยรถไฟจีน-ลาว มีมูลค่าเกินกว่า 10 พันล้านหยวน (1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพียงแค่ 1 ปี หลังจากเปิดให้บริการเดินขบวนรถไฟ ในขณะที่ปริมาณขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนของบริษัท เพิ่มขึ้นจากเดิมต่ำกว่า 30,000 ตันต่อเดือน ขยับมาอยู่ที่ 200,000 ตันต่อเดือน ทั้งนี้ ตามภูมิภาคทั่วประเทศ มีสินค้ากว่า 1,200 รายการที่ใช้บริการเส้นทางรถไฟจีน-ลาว และขนส่งไปยัง 10 ประเทศที่อยู่ภายใต้โครงการ “Belt and Road Initiative (BRI)” ได้แก่ สปป.ลาว ไทย เมียนมาและเวียดนาม นอกจากนี้ สถาบันการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ของมณฑลยูนาน ชี้ให้เห็นว่าการเปิดเส้นทางรถไฟแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดเส้นทางเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นการก่อสร้างระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว และประชาคมแห่งอนาคตร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศ

ที่มา : http://www.chinadaily.com.cn/a/202212/01/WS6387fd3aa31057c47eba2087.html

คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว

โดย ศุทธาภา นพวิญญูวงศ์ สิรีธร จารุธัญลักษณ์ และอภิชญาณ์ จึงตระกูล

สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกบทความ “คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว” โดยให้มองว่า รถไฟจีน-ลาวที่ได้เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการขนส่ง1 ทั้งนี้ การค้าจะเป็นด้านแรกที่ได้รับโอกาสและผลกระทบ จากการทะลักของสินค้าขาเข้าได้ทันที

นอกจากนี้ เส้นทางรถไฟจีน-ลาวจะทำให้การขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-จีนผ่านภาคอีสานทางบกมีบทบาทสำคัญมากขึ้น จากเดิมการขนสินค้าผ่านทางถนนก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว จากประมาณร้อยละ 8 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 12 ในปี 25642 และหากมีเส้นทางรถไฟเข้ามาจะทำให้การขนส่งสินค้าเร็วกว่าทางถนนมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นทางเลือกที่ช่วยกระจายความเสี่ยงด้านการขนส่งได้

ดังนั้น เส้นทางรถไฟนับว่าเป็นการเปิดประตูการขนส่งเส้นทางใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสของการค้าข้ามแดนระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย-ลาว-จีน มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับมณฑลยูนนาน บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปิดเส้นทางการขนส่งใหม่เส้นนี้ต่อภาคการค้าของไทยกับจีน รวมถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ในการแข่งขันบนเส้นทางที่ท้าทายนี้

โอกาสและความท้าทาย : เบื้องต้นไทยจะเผชิญกับความท้าทายของสินค้านำเข้าจากจีน แต่ในทางกลับกันไทยก็มีโอกาสในการขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดมายังมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นปลายทางรถไฟ จากเดิมที่สินค้าไทยส่วนใหญ่จะนิยมขนส่งไปทางจีนตะวันออกผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางถนน รวมถึงมณฑลกวางตุ้งและอื่น ๆ ทางเรือ

ด้านการนำเข้า : ไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากสินค้านำเข้าของจีนที่จะมีมากกว่าสินค้าส่งออกจากไทย ซึ่งสินค้าจากจีนจะเข้ามาไทยผ่านทางรางเพิ่มขึ้น จากที่ไม่เคยขนส่งผ่านทางรางมาก่อน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบต่าง ๆ และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ

อย่างไรก็ดี ไทยสามารถคว้าโอกาสจากการเข้ามาของสินค้ากลุ่มนี้ได้ เนื่องจากการขนส่งผ่านทางรางทำให้ต้นทุนทั้งระยะเวลาและค่าขนส่งถูกลง ดังนี้ กลุ่มวัตถุดิบต่าง ๆ และกลุ่มผลผลิตทางการเกษตร และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ

ด้านการส่งออก : ไทยมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปจีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังมณฑลยูนนาน รวมทั้งมณฑลใกล้เคียง โดยระยะแรกคาดว่าสินค้าส่งออก จะเป็นสินค้าเดิมที่เคยส่งออกไปมณฑลยูนนาน หรือสินค้าที่มีการขนส่งทางถนนอยู่เดิม

 

โดยสรุปแล้ว การเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ส่งผลกระทบต่อภาคการค้าของไทย ทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า เช่น วัถตุดิบ ผลผลิตทางการเกษตร และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าในช่วงแรกยังไม่สามารถดำเนินการได้สะดวก เนื่องจากยังมีการปิดพรมแดนทั้ง สปป. ลาว และจีน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

1.โครงสร้างพื้นฐานใน สปป. ลาว อาทิ Vientiane Logistics Park (VLP) ซึ่งเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าใน สปป. ลาว และด่านรถไฟโม่ฮานในจีนที่ยังดำเนินการได้ไม่สมบูรณ์

2.มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของจีน เช่น ความเข้มงวดด้านการนำเข้าสินค้าของจีน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโคโรน่าไวรัส โดยเฉพาะอาหารสดและผลไม้ และ

3.มาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษีศุลกากร อาทิ ระเบียบพิธีการด้านการขนส่งทั้งใน สปป.ลาว และจีน อย่างไรก็ดี ข้อตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 ม.ค. 2565 จะมีส่วนช่วยบรรเทาข้อจำกัดด้านภาษีศุลกากรได้บ้าง และควรมีการหารือเรื่องการขนส่งร่วมกันระหว่าง สปป. ลาว และจีนเพิ่มเติม เพื่อให้การขนส่งไปจีนมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อ : https://thaipublica.org/2022/01/bot-regional-letter-china-lao-train/

‘เวียดนาม’ เผยปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ ‘คาร์โก้’ แตะ 1.1 ล้านตัน ปี 64

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งเวียดนาม (CAAV) ได้ประเมินว่าในปีนี้  ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศไปยังต่างประเทศ อยู่ที่ 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 21.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน และยังกล่าวว่าธุรกิจสายการบินเวียดนามและต่างชาติจำเป็นต้องใช้เครื่องบินโดยสารในการขนส่งสินค้า ในทางตรงกันข้ามนั้น การขนส่งผู้โดยสารทางอากาศระหว่างประเทศยังคงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยจำนวนผู้โดยสารของเวียดนามในปีนี้ อยู่ที่ 500,000 คน หดตัว 93% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-outbound-air-cargo-throughput-estimated-at-1-1-million-tons-this-year/

หวั่นโควิดรอบ 2 จำกัดขนส่งสินค้าข้ามเมียนมาเหลือ 6 คัน

นายยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เปิดเผยถึงการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-เมียนมาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า ปัจจุบันปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณด่านพรมแดนแม่สาย จังหวัดเชียงรายลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในเมียนมา ทำให้ไทยต้องยึดมาตรการด้านสาธารณสุขเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน ปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณด่านพรมแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีปริมาณการขนส่งสินค้าราว 1,000 เที่ยวต่อวัน แต่ปัจจุบันหลังเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทางประเทศเมียนมามีการจำกัดปริมาณการเดินรถขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งสินค้าด่านดังกล่าวเหลือเพียง 6 คันต่อวัน ขณะเดียวกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างหนักในเมียนมา ทำให้ต้องควบคุมด้านความปลอดภัยในการเข้า-ออกประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบ 2

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/450100

รถไฟลาว จีนบรรลุเป้าหมายในการก่อสร้าง

การก่อสร้างทางรถไฟลาว – ​​จีนได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2559 และมีเป้าหมายจะแล้วเสร็จในปลายปี 2563 แต่มีความกังวลจากความคืบหน้าของโครงการที่ไม่น่าพอใจ จากสถานการณ์การระบาดของโรคระบาด COVID-19  อย่างไรก็ตามรัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจว่างานก่อสร้างโดยรวมของรถไฟลาว – ​​จีนจะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ บริษัท รถไฟลาว – ​​จีน จำกัดที่เป็นผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างดังกล่าวจี้แจ้งว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ไม่มีความคล่องตัวมากนักในการก่อสร้างทำให้อาจมีการล่าช้ากว่ากำหนด แต่อย่างไรก็ตามในวันที่7 พฤษภาคมที่ผ่านมาทางบริษัทได้บรรลุข้อตกลงในเรื่องการก่อสร้างกับทางรัฐบาลสปป.ลาวทำให้ในขณะนี้การก่อสร้างสามารถทำได้คล่องตัวมากขึ้น และจะเร่งให้ทันตามกำหนดการส่งมอบแก่รัฐบาลสปป.ลาว รถไฟขบวนนี้จะใช้มาตรฐานเดียวกับประเทศจีนและระบบเทคนิคทั้งหมดของจีนโดยความเร็วจะสูงถึง 160 กม. / ชม. ซึ่งเป็นรถไฟไฟฟ้าที่ขนส่งสินค้าและผู้โดยสารขนส่งสินค้าด้วยกัน เป็นประโยชน์ต่อการส่ออกของทั้ง 2 ประเทศรวมถึงการสนับสนุนการท่องเที่ยวไปด้วย

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/05/13/78008/

นายกฯ มอบ มท.-พาณิชย์จัดการ แก้ปัญหาขนส่งสินค้าข้ามเขต ชี้เคอร์ฟิวเป็นเหตุน้ำพริกบูด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รมว.กลาโหม มอบหมายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้หน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทยและฝ่ายความมั่นคง ร่วมกันหาทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่จำเป็นต้องส่งสินค้าข้ามจังหวัดในช่วงที่มีการเคอร์ฟิว หลังพบการร้องเรียนจากผู้ประกอบธุรกิจหลายรายว่า แต่ละจังหวัดมีมาตรการการตรวจสอบไม่เหมือนกัน ทำให้การขนส่งสินค้าไม่สะดวก โดยผลการประชุมสำคัญเรื่องแรกเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 มาตรการการกีดกันการเคลื่อนย้ายพรมแดนควรขึ้นอยู่กับการพิจารณาด้านสาธารณสุข ไม่ควรมีการจำกัดการค้าในภูมิภาคโดยไม่จำเป็น รวมถึงได้ข้อตกลงร่วมกันเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาด พร้อมเห็นชอบในหลักการการลดค่าธรรมเนียมการให้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศให้เป็นอัตราเดียวกันในอาเซียน โดยรอผลการพิจารณาจากองค์กรรายสาขาที่เกี่ยวข้อง และยังเห็นชอบให้มีการลงนามความตกลงยอมรับร่วมสาขายานยนต์อาเซียนภายใน ส.ค.63 นี้

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1827079

ขนส่งสินค้าผ่านแดนไปเวียดนาม โอกาสที่ไม่ควรมองผ่าน

โดย กมลมาลย์ แจ้งล้อม I ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ I SCBS

การค้าผ่านแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งถือเป็นประเทศคู่ค้าผ่านแดนสำคัญ มีสัดส่วนปริมาณการค้ากว่า 60% ของปริมาณการค้าผ่านแดนโดยรวม โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2014-2018) การค้าชายแดนไปเมียนมา ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย ขยายตัวราว 3% CAGR ขณะที่ การค้าผ่านแดนไปจีนตอนใต้ สิงคโปร์และเวียดนาม เติบโตกว่า 12%CAGR โดยในปี 2018 ปริมาณการค้าผ่านแดนไปเวียดนามสูงถึง 1.3 ล้านตัน หรือมีสัดส่วนกว่า 60% ของปริมาณการค้าผ่านแดนโดยรวม

เวียดนามจึงเป็นตลาดที่น่าจับตามองและเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปเวียดนาม ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็งและอบแห่ง, เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ในระยะกลาง (2019-2021) การค้าผ่านแดนของไทยกับเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 30%CAGR ตามทิศทางเศรษฐกิจเวียดนามที่เติยโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการผลิตและการบริโภคภาคในประเทศ เวียดนามถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเป็นอันดับต้นๆ ของโลกและยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติในการตั้งฐานการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะนักลงทุนจีนที่มีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนามมากขึ้นเพื่อเลี่ยงสงครามการค้า อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการผลิตของเวียดนามส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศ

ด้านการบริโภคภายในประเทศ ด้วยจำนวนประชากรชาวเวียดนามที่มากถึง 90 ล้านคนและราว 15% เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพ รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการขยายอย่างรวดเร็วของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade)

ที่ผ่านมา ปัญหาสภาพถนน ความแตกต่างของกฎหมายขนส่ง และความซับซ้อนของพิธีการศุลกากร ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขนส่งสินค้าผ่านแดนจากไทยไปเวียดนาม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการขนส่ง โดยส่วนใหญ่การขนส่งสินค้าผ่านแดนจากไทยไปเวียดนามใช้เส้นทาง R12 เป็นหลัก เนื่องจากระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางอื่นและเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังนครหนานหนิงมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีนใต้

เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ในเดือนมิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา กลุ่มประเทศสมาชิกในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจึงเริ่มเปิดเดินรถขนส่งสินค้าผ่านแดนอย่างเป็นทางการภายใต้ข้อตกลง GMS-CBTA ซึ่ง อีไอซี ประเมินว่า จะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งลงราว 45% และลดต้นทุนการขนส่งลงกว่า 20% โดยกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ (GMS-CBTA) เพื่อลดข้อจำกัดและอุปสรรคของการขนส่นผ่านแดนรูปแบบเดิม โดยครอบคลุทั้งทางด้านพิธีการศุลกากรและระบบการจราจร เช่น การดำเนินพิธีการศุลกากรแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (SWI) การปฏิบัติการร่วมกันในการตรวจสอบสินค้า ณ จุดผ่านแดน (SSI) และการกำหนดเส้นทางเดินรถที่ชัดเจน เป็นต้น ซึ่งตามกรอบความตกลงนี้จะอนุญาตให้รถบรรทุกสัญชาติไทยสามารถขนส่งสินค้าไปถึงเวียดนามได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าที่พรมแดนลาว

จากการเติบโตของการค้าผ่านแดนที่ผ่านมา ส่งผลให้รายได้ผู้ประกอบการเติบโตเฉลี่ยราว 10% และอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ที่ราว 20% และคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยของผู้ประกอบการภายใต้โควตา GMS-CBTA จะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากต้นทุนการขนส่งที่ลดลง จากการวิเคราะห์ของอีไอซี พบว่าจำนวนรถขนส่งสินค้าที่จดทะเบียนไม่ได้แสดงถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ สะท้อนจากอัตรากำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนรถขนส่งสินค้าน้อยกว่า 30 คันเฉลี่ยสูงถึงราว 23% และการเติบโตของรายได้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนรถขนส่งสินค้าระหว่าง 30-100 คันอยู่ที่ 13%

หลังจากเปิดการเดินรถขนส่งสินค้าผ่านแดนภายใต้กรอบความตกลง GMS-CBTA อีไอซี ประเมินว่าผู้ประกอบการที่ถือโควตาจะสามารถควบคุมต้นทุนการขนส่งและลดระยะเวลาในการขนส่งให้แข่งขันได้มากขึ้น จากการลดการพึ่งพาผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี ความท้าทายสำคัญของธุรกิจนี้ ได้แก่

  1. ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  2. การแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และจากผู้ประกอบการต่างชาติภายใต้โควตา GMS-CBTA
  3. การขยายโครงข่ายขนส่งระบบรางในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/6139