นายกฮุนเซนสั่งห้ามส่งออกข้าวเพื่อป้องกันอุปทานภายในประเทศ

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้สั่งหยุดการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกทั้งหมดกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนจนกว่าจะมีประกาศให้ทำการส่งออกดังเดิม โดยนายฮุนเซนกล่าวในการแถลงข่าวหลังจากการประชุมรัฐสภาว่าการตัดสินใจในครั้งนี้ทำไปเพื่อปกป้องอุปทานภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อการขาดแคลนอาหารในช่วงของการระบาด COVID-19 ซึ่งรัฐบาลได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์เพื่อให้ผู้ผลิตข้าวและผู้ส่งออกสามารถจัดการและควบคุมสต็อค รวมถึงเคลียคำสั่งซื้อต่างๆที่มีอยู่ จากรายงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กัมพูชาได้ส่งออกข้าวสาร 214,612 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยคิดเป็นส่งออกไปยังประเทศจีน 94,060 ตัน สหภาพยุโรป 62,998 ตัน ตลาดอาเซียน 27,937 ตัน และตลาดอื่น ๆ 29,617 ตัน รวมไปถึงการส่งออกอย่างไม่เป็นทางการที่คาดว่ามากกว่า 800,000 ตัน ไปยังเวียดนาม ซึ่งรองประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวว่าการส่งออกข้าวขาวของกัมพูชายังคงมีเสถียรภาพ โดยข้าวขาวที่ผลิตในประเทศส่งออกประมาณ 20 ถึง 25% ในแต่ละเดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707627/pm-bans-white-rice-and-paddy-exports-in-effort-to-safeguard-local-supply/

กระทรวงเสนอจำกัดปริมาณการส่งออกข้าว 400,000 ตันต่อเดือน

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ได้เสนอแผนต่อนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการควบคุมปริมาณส่งออกข้าวต่อเดือนและการกักตุน 400,000 ตัน จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยข้อเสนอดังกล่าวนั้น คาดว่าปริมาณการส่งออกข้าวในเดือนเม.ย.-พ.ค. อยู่ที่ประมาณ 800,000 ตัน และนากยรัฐมนตรีจะนำไปพิจารณาถึงการส่งออกข้าวในเดือนพ.ค. ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเม.ย. ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ เสนอให้ส่งออกข้าวผ่านชายแดนระหว่างประเทศเท่านั้น ซึ่งมีอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตครบครันที่จะทำให้กรมศุลกากรสามารถตรวจสอบได้ สำหรับความต้องการบริโภคและการเก็บสินค้า ทางกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทคาดว่าความต้องการข้าวเปลือกในประเทศปีนี้ อยู่ที่ 29.96 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะนำไปส่งออกประมาณ 13.5 ล้านตัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ministry-proposes-limiting-rice-exports-to-400000-tonnes-per-month-411991.vov

กัมพูชายังคงมีข้าวสำรองสำหรับความต้องการภายในประเทศและต่างประเทศ

หน่วยงานภาครัฐและเอกชนรับรองว่ากัมพูชาจะมีสต็อกข้าวรวมกันเพียงพอที่จะรองรับอุปสงค์ภายในประเทศในช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ ซึ่งด้วยจำนวนผู้ป่วย ณ ปัจจุบนของกัมพูชาอยู่ที่ 35 ราย ส่งผลทำให้มีการเริ่มกักตุนอาหาร โดยในแถลงการณ์ร่วมระหว่าง Green Trade Company (GTC) ของรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสหพันธรัฐข้าวกัมพูชา (CRF) เราเรียกร้องให้ประชาชนไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนข้าวเพราะหากมีการซื้อในจำนวนมากท่ามกลางความกังวลของไวรัส จะทำให้ผู้ประกอบการบางรายใช้โอกาสนี้ในการขึ้นราคาข้าวสารได้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจสหพันธ์ฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าทั้งข้าวในระบบของกว่า 400 บริษัท สามารถตอบสนองความต้องการภายในประเทศได้เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงเพียงพอต่อการส่งออกอีกด้วย โดยกระทรวงพาณิชย์ (MOC) ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับเจ้าของธุรกิจ เช่น เจ้าของร้านและผู้ค้าในตลาดที่ค้ากำไรเกินควรจากสถานการณ์การระบาดโดยการเพิ่มราคาสินค้ากลุ่มจำเป็น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50703131/plentiful-rice-reserves-for-domestic-and-interl-demand-government/

เมียนมาส่งออกข้าว 40,000 ตันผ่านด่านมูเซ

จำนวนข้าวและข้าวหักรวมประมาณ 40,000 ตันถูกส่งออกผ่านแดนมูเซ 105 ไมล์ในหนึ่งเดือนเนื่องจากความต้องการจากตลาดจีน ซึ่งถือเป็นโอกาสของตลาดการค้าชายแดนกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง โดยรัฐบาลจีนอนุญาตให้ส่งออกผ่านประตูชายแดนเนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้น และไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต การส่งออกรายวันอยู่ที่ประมาณ 1,700 ตันทั้งข้าวและข้าวหัก การค้าชายแดนของมูเซเกือบหยุดชะงักเนื่องจาก COVID-19 แต่การค้าขายกลับอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ และถูกส่งออกอย่างสม่ำเสมอด้วยรถบรรทุก 40 หรือ 50 คันทุกวัน องค์การอนามัยโลกประกาศว่า COVID-19 เป็นการระบาดใหญ่ การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีนได้รับผลกระทบจากการปิดชายแดนและการส่งออกที่ลดลง จำนวนข้าวส่งออกและถุงข้าวหักเพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันต่อวันจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หากเปรียบเทียบกับรถบรรทุกเพียง 20 คันในเดือนตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคมปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/40000-tonnes-rice-exported-muse.html

กรมการค้าต่างประเทศ เดินสายประชาสัมพันธ์ข้าวไทย

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เข้าร่วมงานงานแสดงสินค้า Gulfood 2020 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 16 – 20 ก.พ. 63 ที่ผ่านมา เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ข้าวไทยรวมทั้งสร้างความรับรู้เกี่ยวกับมาตรฐานข้าวไทยและศักยภาพของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยได้นำตัวอย่างข้าวคุณภาพดีของไทย ชนิดต่างๆ เช่น ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวเหนียว ไปจัดแสดงร่วมกับการจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐานข้าวไทยนอกจากนี้ยังได้นำเสนอข้าวที่มีคุณลักษณะพิเศษของไทยและข้าวเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อาทิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล ข้าวกล้องแดง ข้าว กข 43 และข้าว กข 79 ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ตลอดจนการจัดให้ชิมตัวอย่างข้าวไทยชนิดต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัสรสชาติของข้าวไทยที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ผู้กระจายสินค้า และผู้สนใจทั่วไป ได้มีการสอบถามรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องคุณลักษณะและมาตรฐาน รวมถึงเรื่องราคาข้าวรวมทั้งยังได้นำผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรนวัตกรรมเข้าร่วมจัดแสดงและประชาสัมพันธ์ด้วย โดยผู้นำเข้าทั้งจากตะวันออกกลางและจากทั่วโลกกว่า 100 ราย อาทิ อินเดีย ฟิลิปปินส์ บาห์เรน จอร์แดน ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้  ได้ให้ความสนใจสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร  ซึ่งสินค้าที่ได้รับความสนใจสูงสุด ได้แก่ กระเทียมดำ โยเกิร์ตจากมะพร้าว น้ำนมข้าวยาคู ผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นเทียมจากส่วนผสมธรรมชาติ และอาหารสำหรับทารก

ที่มา :https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870189?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ราคาส่งออกข้าวพุ่ง ตามความต้องการเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าเมื่อไม่นานมานี้ ราคาส่งออกข้าวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นของตลาดบางแห่ง อาทิ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นต้น ทางตลาดมาเลเซียได้ตกลงที่จะซื้อธัญพืชจากเวียดนาม 90,000 ตัน และจะนำเข้าเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า สำหรับเกาหลีใตให้โควตานำเข้าอาหารเวียดนาม 55,112 ตันในปีนี้ ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจำนวนมากจากเวียดนาม ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2562 และคาดว่ายังคงรักษาตำแหน่งสูงสุดในปี 2563 คิดเป็นปริมาณนำเข้า 2.6 ล้านตัน ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ มีกำหนดการเข้าเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปข้าวเวียดนาม เพื่อที่จะเตรียมนำเข้าในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ จีนที่เคยเป็นตลาดข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามาหลายปีนั้น แต่ในปี 2562 ยอดส่งออกข้าวไปยังประเทศดังกล่าวลดลงอย่างมากร้อยละ 64.2 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัวสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-export-prices-surge-amid-high-demand/169579.vnp

รายได้ของลาวจากการขายข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้น

ข้าวที่ส่งออกไปยังจีนสร้างรายได้แก่สสป.ลาวในปี 62 มากถึง 14.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากการลงนามการค้า ACFTA ทำให้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสปป.ลาวส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนได้มากขึ้นโดยข้อตกลงนี้จะลดหรือยกเว้นภาษีแก่สินค้าที่สปป.ลาวส่งไปยังจีนและนโยบายการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศทำให้การค้าจีนกับสปป.ลาวขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาว ในแต่ละปีสปป.ลาวมีโควตาส่งออกข้าวให้แก่จีนถึง 50,000 ตันและมีแนวโน้มที่จะส่งออกได้มากกว่าเดิมจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนทั้งในแง่ของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รายได้ต่อหัวที่สูงขึ้น กำลังซื้อคนในประเทศเพิ่มขึ้นปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการนำเข้าข้าวจากสปป.ลาวมากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ 

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos%E2%80%99-earnings-rice-sales-china-rise-114545

เสียมราฐเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมข้าวเพื่อความยั่งยืน

การประชุมสุดยอดด้านข้าวเพื่อความยั่งยืนครั้งแรกในกัมพูชาจัดขึ้นในจังหวัดเสียมราฐโดยมีตัวแทนจากสหกรณ์การเกษตร ผู้ผลิตข้าวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจำนวน 180 คน ได้หารือเกี่ยวกับการปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศ โดยการประชุมจัดโดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF), Amru Rice และ บริษัท สหกรณ์การเกษตรกัมพูชา จำกัด (มหาชน) (CACC) โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกัมพูชา ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีที่ปรึกษาอาวุโสของสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ, ประธาน CACC และประธาน CRF เข้าร่วมด้วย ภายใต้หัวข้อ การสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์การเกษตรในประเทศกัมพูชา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวรวมถึงการอภิปรายที่สำคัญในหัวข้อต่างๆ เช่นการสนับสนุนสหกรณ์ การเข้าถึงการเงินผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและนวัตกรรมการเข้าถึงการเงินสำหรับเกษตรกรรายย่อยและวิธีการก้าวไปข้างหน้าในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าข้าวอย่างยั่งยืน โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าวสารประมาณ 620,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งประธานซีอาร์เอฟกล่าวว่ากัมพูชาตั้งเป้าส่งออกข้าวสารอย่างน้อยหนึ่งล้านตันในปี 2566

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50694140/siem-reap-hosts-first-sustainable-rice-summit

เกษตรฯชงอาเซียนเพิ่มปริมาณสำรอง‘ข้าวฉุกเฉิน’ รองรับภัยพิบัติ-โรคระบาด

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้แทนประชุมคณะมนตรีองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve (APTERR) Council) หรือคณะมนตรีแอปเทอร์ ครั้งที่ 8 โดยที่ประชุมทบทวนปริมาณข้าวสำรองให้เหมาะสมกับความต้องการการบริโภคในภาวะวิกฤติ ทั้งนี้ไทยเสนอให้คณะมนตรีแอปเทอร์พิจารณาเพิ่มปริมาณข้าวสำรองในประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามในรูปสัญญา (Earmarked Stock) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติ รวมทั้งโรคระบาดในคน พืช และสัตว์ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โรคอหิวาต์อัฟริกาในสุกร (African Swine Fever) เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้แก่ ภัยแล้ง พายุไต้ฝุ่น ตลอดจนปริมาณความต้องการบริโภคตามจำนวนประชากรในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นด้วยปัจจุบันมีปริมาณข้าวสำรองรวมของภูมิภาคในการซื้อขายข้าวเพียง 7.87 แสนตัน

ที่มา : https://www.naewna.com/local/474256

ผู้เชี่ยวชาญชี้เวียดนามจำเป็นหาตลาดข้าวใหม่ แทนตลาดจีน

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-2019) จะส่งผลต่อการส่งออกของเวียดนามไปยังประเทศจีน สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ใบไม้ผลิที่จะเริ่มต้นเก็บเกี่ยวในพื้นที่กู๋ลองยาง (ราบลุ่มแม่น้ำโขง) ทั้งนี้ ในจังหวัดเหิ่วซางมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ที่ 1,000 เฮกตาร์ ได้รับผลกระทบจากการรุกตัวของน้ำเค็ม แต่ชาวเกษตรได้เก็บเกี่ยวข้าวก่อนที่จะได้รับผลกระทบอยู่หลายร้อยเฮกตาร์และผลผลิตเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 7.7 ตันต่อเฮกตาร์ ในส่วนราคาสินค้าเกษตรยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากต้องหาตลาดใหม่ นอกจากนี้ ทางบริษัท VinaFood เปิดเผยว่าเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดจีนเป็นตลาดข้าวของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ในปัจจุบันมีการขยายตัวส่งออกไปยังหลายๆประเทศ แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของไวรัสอาจไม่กระทบมากนักต่อการส่งออกของเวียดนาม ซึ่งในปีที่แล้ว ตลาดฟิลิปปินส์ถือเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่วุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงควรขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ได้แก่ แอฟริกาและตะวันออกลาง เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592304/viet-nam-needs-to-find-new-rice-markets-to-replace-china-experts.html