ทางการกัมพูชาและองค์กรของ UN เรียกร้องเสริมการลงทุนสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

รัฐบาลกัมพูชา รวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) เรียกร้องให้มีการลงทุนเกี่ยวกับระบบแปรรูปอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในระดับโลก โดยปัจจุบันกัมพูชาได้กำหนดแผนดังกล่าวเป็นวาระสำคัญระดับชาติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาห่วงโซ่ระบบการแปรรูปอาหารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในประเทศ ภายในปี 2030 เพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณอาหารจะมีเพียงพอสำหรับประชากร ภายใต้คุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีสำหรับทุกคน กล่าวโดน Om Kimsir รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง โดยจากข้อมูลล่าสุดของ WFP ราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของกัมพูชายังคงค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ราคาอาหารนำเข้ากลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นกว่า 39.7% ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้เทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501169436/cambodia-un-agencies-call-for-more-investment-to-ensure-food-security/

เกษตร ถก อาเซียน +3 ถกปัญหาโควิดกระทบความมั่นคงอาหาร

นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (SOM-AMAF Leader) เข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้กับเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 20 สมัยพิเศษ (Special SOM-20th AMAF Plus 3) ผ่านการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของกิจกรรมความร่วมมืออาเซียนบวกสามด้านอาหาร เกษตร และป่าไม้ ภายใต้ ASEAN Plus Three Cooperation Strategy (APTCS) Framework on Food, Agriculture, and Forestry และรับทราบผลการดำเนินงานขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve: APTERR) และสำนักงานเลขานุการระบบข้อมูลสารสนเทศความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Food Security Information System: AFSIS) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยไทยได้กล่าวในที่ประชุมถึงสถานการณ์ปัจจุบันของวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบอาหารทั้งหมด ประเทศไทยเห็นควรส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของอาเซียนบวกสามมากยิ่งขึ้น ในด้านการแบ่งปันข้อมูลความมั่นคงด้านอาหารระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนบวกสาม การส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาในด้าน Food system ความมั่นคงอาหาร

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956592

กองทุนลดความยากจน (PRF) เปิดตัวโครงการใหม่เพื่อปรับปรุงโภชนาการในภาคเหนือของสปป.ลาว

ชุมชนท้องถิ่นในแขวงทางตอนเหนือของสปป.ลาวจะได้รับประโยชน์จากโครงการนำร่องของกองทุนลดความยากจน (PRF) โครงการนี้จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและคำแนะนำเพื่อให้ชุมชนสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูงขึ้น เมื่อผลผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นจะทำให้ความมั่นคงด้านโภชนาในพื้นดีขึ้น จากข้อมูลของกองทุนลดความยากจน PRF พบว่าอัตราการขาดสารอาหารยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 19 ในพื้นที่ทางเหนือขอวสปป.ลาว ผู้อำนวยการกองทุนลดความยากจน PRF กล่าวว่า “ปัญหาดังกล่าวต้องการนโยบายที่ชัดเจนในการประสานงานและจำเป็นต้องมีการเปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร” การจำกัดปัญหาดังกล่าวได้นั้นมีความสำคัญต่อการส่งเสริมทุนมนุษย์ในสปป.ลาวและทำให้ประชาชนมีชีวิตที่มีประสิทธิผลและมีชีวิตที่สมบูรณ์ตามที่พันธกิจของธนาคารโลกที่เป็นพันธมิตรที่สำคัญในการให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวตลอดมา

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-09/29/c_139406890.htm

ถกความมั่นคงทางอาหารภูมิภาคอาเซียน

นางมนัสนิตย์ จิรวัฒน์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศในฐานะเลขานุการถาวรคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน (AFSRB Secretariat) ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน (AFSRB) ครั้งที่ 40 ผ่านระบบ VDO Conference เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ซึ่งมีเวียดนามเป็นเจ้าภาพ โดยปีนี้มีสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ (ยกเว้นมาเลเซีย และ สปป.ลาว) สำนักเลขานุการระบบข้อมูลสารสนเทศความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียน (AFSIS) และองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (APTERR) เข้าร่วมประชุม อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมครั้งนี้ประเทศสมาชิกแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาหารปัจจุบัน รวมทั้งคาดการณ์ผลผลิต การบริโภค การค้า และปริมาณสำรองอาหารของภูมิภาคและของโลก นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับรองกรอบนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (AIFS) และแผนกลยุทธ์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน ทั้งนี้ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนปริมาณความต้องการบริโภคตามจำนวนประชากรในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นนั้น ล้วนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหารของประเทศ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ได้นิ่งนอนใจในการกำหนดนโยบายเพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สินค้าเกษตรของไทย ตลอดจนแสวงหากลไกความร่วมมือกับนานาประเทศ

ที่มา : https://tna.mcot.net/business-488996

การเปลี่ยนแปลงของกัมพูชาจากความไม่มั่นคงด้านอาหารสู่ประเทศผู้ส่งออกข้าว

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ากัมพูชากำลังส่งเสริมภาคเกษตรกรรมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ซึ่งนายกฯย้ำว่ากัมพูชาจะไม่ประสบกับความไม่มั่นคงด้านอาหารเหมือนในอดีตอีกต่อไป คำแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “โครงการเยียวยาสำหรับครอบครัวผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสในช่วง Covid-19″ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 โดยจุดแข็งของกัมพูชาคือมีผลผลิตส่วนเกินถึง 6 ล้านตัน ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวหลัก ๆ สามประเภท ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาวและข้าวสวยไปยังจีน สหภาพยุโรป และ อาเซียน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยกัมพูชามีรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือนแรกในปี 2563 ซึ่งส่งออกข้าว 356,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีการส่งออกเพียง 250,000 ตัน โดยตัวเลขการส่งออกในปี 2563 ถือเป็นการเติบโตที่สำคัญที่สุดในกัมพูชาซึ่งเป็นปริมาณการส่งออกที่สูงที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738817/cambodias-transformation-from-a-food-insecurity-to-a-rice-exporting-nation/

ธนาคารโลกปล่อยสินเชื่อภาคเกษตรให้เมียนมา

เมียนมาได้รับเงินกู้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารโลก เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและการเกษตรในเมียนมา เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การดูแลปศุสัตว์ การช่วยเหลือทางการเงินสำหรับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และการขับเคลื่อนโภชนาการในชนบท การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2562 และอีกครั้งในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-receive-agriculture-loan-world-bank.html

รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการเร่งด่วนด้านความมั่นคงทางอาหาร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานด้านเกษตรดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับรองความมั่นคงด้านอาหารของประเทศเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19 โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้ทำการบันทึกสต๊อกข้าวและข้าวในโรงสีชุมชน รวมถึงในแต่ละครัวเรือนเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์อาหารและระบุพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกผักเพื่อทำการรับมือ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรยังเรียกร้องให้ทำการประมาณการปริมาณความต้องการซื้อเนื้อสัตว์ในประเทศในปี 2563 นอกจากนี้ยังได้สั่งให้หน่วยงานการประมงประเมินความต้องการและอุปทานของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาตอบสนองความต้องการภายในประเทศ โดยราคาในตลาดต้องมีเสถียรภาพ รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่ามีสต็อกเพียงพอสำหรับคนในประเทศ ซึ่งความต้องการเนื้อสุกรจากประเทศกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 2.9 ล้านตันต่อปี ปริมาณปศุสัตว์เพิ่มขึ้น 37% ในปี 2562 เมื่อเทียบกับปี 2561 ในแง่ปริมาณสต็อกข้าวตัวเลขทางการแสดงว่าในปี 2562 ผลผลิตรวมอยู่ที่ 10.88 ล้านตัน โดยมีส่วนเกิน 5.76 ล้านตัน ปลาจากธรรมชาติและปลาจากฟาร์มเลี้ยงก็เพิ่มขึ้นในปี 2562 เช่นกันอยู่ที่ 908,000 ตัน มีไว้เพื่อการบริโภคในปี 2562 เพิ่มขึ้น 21% เมื่อปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712467/govt-call-for-urgent-action-on-food-security/