‘PMI’ ภาคการผลิตเวียดนามลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

เอสแอนด์พี โกลบอล เวียดนาม (S&P Global Vietnam) รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม ลดลงสู่ระดับ 49.9 ในเดือน มี.ค. จากระดับ 50.4 ในเดือน ก.พ. แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การผลิตของธุรกิจมีแนวโน้มที่จะคงที่หรือไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าที่มีการเติบโตดีขึ้น ท่ามกลางอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลง และส่งผลกระทบต่อผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่ลดลง

ทั้งนี้ นาย Andrew Harker ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของ S&P Global Market Intelligence กล่าวว่าการเติบโตของภาคการผลิตเวียดนามได้หยุดชะงักในเดือน มี.ค. เนื่องมาจากความต้องการหรืออุปสงค์ที่ชะลอตัวลง ทำให้ยอดคำสั่งซื้อและการผลิตใหม่เกิดหยุดชะงัก รวมถึงอุปสงค์ที่ยังอ่อนแอ สะท้อนให้เห็นจากดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อของต้นทุนวัตถุดิบ และราคาสินค้าที่ลดลง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1653138/production-dips-for-first-time-in-three-months-pmi.html

‘S&P Global’ เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเวียดนาม ขยายตัวต่อเนื่อง

เอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนามในเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 50.4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 50.3 ในเดือน ม.ค. และยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 50.0 นับเป็นการเติบโต 2 เดือนติดต่อกัน และจากรายงานแสดงให้เห็นว่าธุรกิจต่างๆ ยังคงลดต้นทุนด้านการจัดซื้ออย่างต่อเนื่องและหันมาใช้สินค้าคงคลัง เพื่อรองรับกับผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อแทน ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต่างๆ ปรับขึ้นราคาสินค้า เนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นสองเดือนติดต่อกัน โดยกลุ่มตัวอย่างบางรายได้รับคำสั่งซื้อใหม่จากต่างประเทศมากขึ้น แต่ว่าอัตราของคำสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1651266/manufacturing-sector-continues-to-grow-business-sentiment-at-one-year-high-pmi.html

‘เวียดนาม’ ชี้คำสั่งซื้อเริ่มกลับมาฟื้นตัว

บริษัท เอบีบี ฮาร์เวสท์ แพคเกจจิ่ง เปิดเผยว่าคนงานจำนวน 400 คน เริ่มกลับมาทำงานในโรงงานแล้ว เนื่องจากมีคำสั่งซื้อในไตรมาสที่ 2-3 ของปีนี้ และบริษัทต้องจัดส่งมอบในเดือน มี.ค. และ เม.ย. นอกจากนี้ ธุรกิจหลายแห่งมีการลงทุนเชิงรุกมากขึ้นและปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อที่จะตอบสนองกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน โรงงานปั้นด้ายแห่งหนึ่งในเกาะฟู้โกว๊ก จังหวัดเกียนซาง ได้มีการปรับปรังโครงสร้างธุรกิจและการพัฒนาอุปกรณ์ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถทางการแข่งขัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงกลางเดือน ก.พ. การค้าระหว่างประเทศ มีมูลค่าสูงถึง 84.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออก มูลค่า 44.42 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/export-orders-spring-back/280037.vnp

‘รายได้เฉลี่ยของคนงานเวียดนาม’ เพิ่มขึ้น 6.9% ปี 66

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ารายได้เฉลี่ยของคนงานเวียดนามในปี 2566 อยู่ที่  7.1 ล้านดองต่อคนต่อเดือน (หรือมากกว่า 291 ดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 6.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่รายได้เฉลี่ยของคนงานเพศชายและเพศหญิงอยู่ที่ 8.1 ล้านดอง และ 6 ล้านดอง ตามลำดับ โดยสาเหตุที่รายได้ของคนงานปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากภาคธุรกิจมีการผลิตมากขึ้นและกิจกรรมทางธุรกิจฟื้นตัวจากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-labourers-average-income-up-69-in-2023/275932.vnp

“เวียดนาม” เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 6 เดือนแรกปี 66 ขยายตัว 0.44%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวเพียง 0.44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อลดลง อุปสงค์จากต่างประเทศที่น้อยลง และต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ สำนักงานฯ ยังแสดงข้อมูลให้เห็นว่ามีสาขาการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี ได้แก่ ถ่านหินและปิโตรเลียม (13.2%), แร่โลหะ (11.5%), ยางพาราและพลาสติก (7.2%), บุหรี่ (6.7%) และเครื่องดื่ม (5.7%) ในขณะที่สาขาการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ (7.7%), กระดาษและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากกระดาษ (7.5%), เสื้อผ้าและยานยนต์ (6.8%)

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้ขอความร่วมมือกับหน่วยท้องถิ่นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ดำเนินโครงการ การวางแผนกลยุทธ์และแผนการในการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนแก้ไขปัญหากับอุปสรรคที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา : https://en.nhandan.vn/index-of-industrial-production-up-044-in-six-months-post127057.html

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมามุ่งผลิต-ส่งออกที่หลากหลายขึ้น

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมาจำเป็นต้องเน้นความหลากหลายโดยการกระจายตลาดเนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดน้อยลงอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19  ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาต้องเอาชนะความท้าทายที่เกิดจากการระบาดในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความไม่แน่นอนว่าจะมีวัคซีนป้องกัน COVID-19 เมื่อใด ปัจจุบันตลาดเครื่องนุ่งห่มของเมียนมา ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น และเยอรมนี และอีกเล็กน้อยในตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของหลายประเทศเหล่านี้กำลังได้รับผลกระทบส่งผลให้มีคำสั่งซื้อน้อยลง ทั้งนี้ประเทศที่นำเข้าผ้าดิบจากจีนและเมียนมาอาจพิจารณาหันมานำเข้าจากอินเดียหรือปากีสถานแทน การระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลให้อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมนี้สูงขึ้น และการยกเลิกคำสั่งซื้อซึ่งส่งผลให้งานหายากขึ้นและการปลดแรงงานออกเนื่องจากนักการถอนการลงทุนของต่างชาติ ขณะนี้โรงงาน CMP (Cut-Make-Pack) ปิดตัวลงมากถึง 64 แห่งส่งผลให้มีผู้ตกงานมากกว่า 25,000 คน ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจาก CMP ไปเป็นแบบ FOB (Free on Board) เพื่อะเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานและการขยายตลาด ทั้งนี้ภายใต้โครงการที่ริเริ่มโดยสหราชอาณาจักรซึ่งสนับสนุนให้โรงงานเสื้อผ้า 5 แห่งในย่างกุ้งและพะโคเริ่มผลิต อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) แทน เมียนมามีรายได้เกือบ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกเสื้อผ้าในปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งลดลงกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-garment-sector-told-diversify.html