ท่าเรือแห่งใหม่ของ PAS ในกัมพูชา จะเริ่มเปิดดำเนินการเร็วกว่ากำหนดภายในกลางปี 2025

ท่าเรือปกครองตนเองสีหนุวิลล์ (PAS) เตรียมเปิดเทอร์มินัลคอนเทนเนอร์แห่งใหม่ภายในปี 2025 โดยโครงการขยายท่าเรือในเฟสแรกของท่าเรือพาณิชย์ดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกลางปี ซึ่งเดิมทีโครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2026 แต่ด้วยแนวทางการผลักดันอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของนายกรัฐมนตรีฮุนมาเนต ได้ร้องขอให้ PAS เร่งดำเนินการ เพื่อหวังให้ท่าเรือแห่งนี้เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค โดยคาดว่าหลังปรับปรุงจะสามารถรองรับคอนเทนเนอร์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,150,000 TEUs ซึ่งเทอร์มินัลคอนเทนเนอร์แห่งใหม่นี้มีความยาว 350 เมตร และความลึก 14.50 เมตร ช่วยให้เรือขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ที่มีความจุ 60,000 DWT (ประมาณ 4,000 TEUs) สามารถเทียบท่าเรือได้ ด้าน Kim Chhun CEO ของ PAS ได้เปิดเผยกำหนดการโครงการปรับปรุงใหม่นี้ในระหว่างประกาศงบการเงินของบริษัทซึ่งได้ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) สำหรับโครงการขยายท่าเรือดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) ด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมูลค่า 203 ล้านดอลลาร์ และเมื่อดำเนินการแล้วเทอร์มินัลใหม่จะช่วยให้ PAS สามารถแข่งขันด้านต้นทุนการขนส่งสินค้าทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501403122/pas-new-terminal-to-go-operational-in-2025/

คณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ได้รับการจัดตั้งใหม่

ตามคำสั่งที่ 3/2023 ของคณะกรรมการกลางเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์ ที่ออกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ขึ้นใหม่ ภายใต้บทที่ 5 มาตรา 9 (D) ของกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์ พ.ศ. 2557 ทั้งนี้คณะกรรมการกลางได้ปฏิรูปคณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ และแต่งตั้ง U Kyaw Shwe Tun จากกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมทั้งมีนาย U Win Myint รองอธิบดีกรมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยซึ่งเกษียณอายุแล้วทำหน้าที่เป็นรองประธาน และสมาชิกประกอบด้วย U San Shwe Maung จากรัฐบาลรัฐยะไข่ หัวหน้าแผนกการวางแผนภายใต้กระทรวงการวางแผนและการเงิน ผู้บริหารเขต ของกรมบริหารทั่วไปเขตเจ้าผิวก์ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือเมียนมา (รัฐยะไข่) ภายใต้กระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร และผู้อำนวยการกรมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย (รัฐยะไข่) ภายใต้กระทรวงการก่อสร้าง นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้แต่งตั้ง ดร. จ่อ ซาน อู เป็นเลขานุการและรองผู้อำนวยการใหญ่องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมาร์ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการร่วม โดนคณะกรรมการมีหน้าที่ปฏิบัติตามภารกิจของคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กำหนดไว้ในกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์อย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyaukpyu-sez-management-committee-reestablished/#article-title

บริษัทขนส่งในกัมพูชาอาจจะเผชิญกับปัญหาหากการแพร่ระบาดไม่คลี่คลาย

ท่าเรือสีหนุวิลล์ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ดำเนินกิจการท่าเรือน้ำลึกในกัมพูชา รายงานว่าบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ในช่วงครึ่งแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 มาอยู่ที่ 44 ล้านดอลลาร์ โดยปริมาณขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5 คิดเป็นกว่า 3.5 ล้านตัน ซึ่งแบ่งออกเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 คิดเป็น 2.6 ล้านตัน การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 สู่ 830,000 ตัน โดยการจัดส่งสินค้าจากกัมพูชาส่วนใหญ่ได้แก่ วัตถุดิบผ้า เสื้อผ้า รองเท้า ข้าว เครื่องจักร ไม้แปรรูป และบุหรี่ เป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ประธานสมาคมโลจิสติกส์แห่งกัมพูชา ได้เตือนว่าบริษัทภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 60 กำลังประสบกับปัญหารายรับที่ลดลง และอีกร้อยละ 30 กำลังจะล้มละลายหรือมีแนวโน้มว่าจะเลิกกิจการลง เว้นแต่สถานการณ์โดยภาพรวมจะดีขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50893244/transport-firms-face-bankruptcy-if-pandemic-worsens/

รายงานผลการดำเนินงานท่าเรือซึ่งจดทะเบียนในกัมพูชา

ท่าเรือสองท่าเรือที่จดทะเบียนในกัมพูชาเปิดเผยข้อมูลทางการเงินล่าสุดระบุว่าการค้าระหว่างประเทศกำลังเริ่มกลับมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ยังมีปริมาณไม่เท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาด ทั้งท่าเรือพระสีหนุวิลล์ (PSAP) และท่าเรือพนมเปญ (PPAP)  โดย PSAP ท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของกัมพูชาสร้างผลกำไรก่อนหักภาษีได้ประมาณ 9.875 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นอย่างมากจากประมาณ 1.105 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วส่วนรายได้รวมของ PSAP เพิ่มขึ้นจาก 17.618 ล้านดอลลาร์สู่ประมาณ 19.973 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสินทรัพย์รวมของบริษัทมีมูลค่า 94 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าคงเหลือคิดเป็นหนึ่งในสามอยู่ที่ 36.586 ล้านดอลลาร์ ด้านฝั่ง PPAP สร้างผลกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.76 สู่ 3.913 ล้านดอลลาร์ โดยรายรับรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.51 สู่ 7.165 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีทรัพย์สินรวม 210.583 ล้านดอลลาร์ ด้านรายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากการดำเนินงานท่าเรือโดยเพิ่มขึ้นเป็น 7.753 ล้านดอลลาร์ ทางด้านมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) หุ้น PSAP ซื้อขายภายใต้ชื่อ PAS ปิดตัวลงที่ราคา 14,540 เรียลต่อหุ้น หดตัวลงเล็กน้อย ส่วน PPAP ราคาปิดตัวลงที่ 15,720 เรียลต่อหุ้น ขยายตัวเล็กน้อย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50858799/bourse-listed-ports-release-quarterly-financial-reports/

กัมพูชาวางแผนจัดซื้อเครนใหม่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท่าเรือน้ำลึก

Kalmar ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Cargotec ได้สรุปข้อตกลงระหว่าง Phnom Penh Autonomous Port (PPAP) เพื่อจัดหาเครนจาก Kalmar SmartPower Rubber-Tyred Gantry (RTG) จำนวน 4 ตัว สำหรับท่าเรือ LM17 Container Terminal โดย Cargotec จำทำการส่งมอบเครนภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ซึ่งท่าเรือ LM17 ของ PPAP เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ในเดือนมกราคมปี 2013 ในจังหวัดกันดาล สามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ได้ราว 150,000 TEUs ณ ปัจจุบัน ซึ่งการสั่งซื้อเครนในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการขยายโครงสร้างพื้นฐานภายในท่าเรือน้ำลึก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตของบริษัทภายในประเทศที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเทอร์มินัลขนส่งให้เป็นสองเท่า รวมถึงเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ภายในท่าเรือที่ได้มาตรฐานในระดับสากล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50758112/kalmar-smartpower-rtgs-chosen-for-port-expansion-in-cambodia/

กัมพูชาวางแผนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพิ่มเติมในสีหนุวิลล์ปีหน้า

การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก Phase 1 ในจังหวัดสีหนุวิลล์มีกำหนดเริ่มต้นในปี 2021 และคาดว่าจะใช้เวลาสามปีในการก่อสร้างจึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยรองผู้อำนวยการท่าเรืออัตโนมัติสีหนุวิลล์กล่าวว่าการออกแบบรายละเอียดของโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกบริษัทเพื่อทำการก่อสร้าง ซึ่งท่าเรือน้ำลึกที่กำลังจะก่อสร้างนี้มีความยาว 350 เมตร มีความลึกอยู่ที่ 14.50 เมตร โดยสามารถรองรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 13 เมตร และเรือขนาดกลางที่มีความจุ 5,000 TEU ได้ ซึ่งใช้เงินทุนจากการกู้ยืมเงินทางญี่ปุ่นประมาณ 209 ล้านดอลลาร์ ในเฟสแรกของท่าเรือน้ำลึกในการสร้างขึ้นด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50747703/deep-water-port-terminal-construction-at-sihanoukville-to-begin-next-year/

เริ่มแล้วสำหรับ EIA ท่าเรือน้ำลึกเจาะพยู

CITIC Group กลุ่มทุนใหญ่จากจีนเริ่มการประมูลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาสำหรับโครงการท่าเรือในใจกลางยะไข่ หลังจากผ่านการคัดกรองข้อเสนอที่ได้รับจาก CITIC Group ในเดือนกันยายน 2562 โครงการเจาะพยู หมายถึง เขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งมีท่าเรือน้ำลึก สวนอุตสาหกรรม และโครงการอื่น ๆ โครงการขนาดใหญ่ซึ่งนำโดย CITIC และประกอบด้วย บริษัทจีนอีกสี่แห่งและกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ของไทย เจาะพยูเป็นที่ตั้งของท่อส่งน้ำมันคู่ที่ผลิตและส่งออกน้ำมันไปยังประเทศจีน การมีท่าเรือในใจกลางยะไข่เป็นสิ่งสำคัญทางภูมิศาสตร์สำหรับประเทศจีนในการลดการพึ่งพาช่องแคบมะละกาผ่านระเบียงเศรษฐกิจจีน – เมียนมาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/eia-process-kyaukphyu-port-start.html

CSOs ร้องให้รัฐบาลเมียนมาระงับสัญญาโครงการท่าเรือน้ำลึกจ่าวผิว

กลุ่มเฝ้าระวังเขตเศรษฐกิจพิเศษจ่าวผิว ซึ่งเป็นพันธมิตร 18 องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มกราคมเรียกร้องให้มีการระงับแผนการลงนามข้อตกลงในการดำเนินการโครงการท่าเรือน้ำลึกจ่าวผิว ในเมืองจ่าวผิว รัฐยะไข่ ในความขัดแย้งทางอาวุธที่ดำเนินอยู่ในรัฐยะไข่มีผู้พลัดถิ่นมากกว่า 100,000 คน รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขข้อพิพาทเรื่องที่ดินในโครงการวางท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่เริ่มในปี 53 พบว่ารัฐบาลไม่เห็นถึงสิทธิของคนในท้องถิ่น ซึ่งควรทำการประเมินสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ (SEA) และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลกับชาวบ้าน นอกจากนี้ควรมีการเตรียมการเพื่อรับรู้ถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสร้างงานทดแทนที่เพียงพอเมื่อมีการลงนามข้อตกลง และยังเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการขายป่าชายเลนและที่ดินอีกครั้ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/csos-demand-suspension-of-contract-signing-for-kyaukphyu-deep-seaport-project

อัตราการเติบโตที่มั่นคงของท่าเรือขนส่งกัมพูชา

ท่าเรือขนส่งภายในประเทศกัมพูชามีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งทั้งด้านการขนส่งตู้สินค้าและการระวางในปี 2562 เนื่องจากรัฐบาลได้ขยายกำลังการผลิตเพื่อเพิ่มการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกจัดการใน Sihanoukville Autonomous Port (SAP) ท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศ เพิ่มขึ้น 17% เป็น 633,099 TEUs (หน่วยเทียบเท่า 20 ฟุต) จากปี 2018 จนถึง 2019 ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ซึ่ง Phnom Penh Autonomous Port (PPAP) มีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งถึง 29% โดยมีจำนวนตู้คอนเทนนอร์อยู่ที่ 275,000 TEUs ในช่วงเวลาเดียวกันกับ SAP ซึ่งน้ำหนักระวางของ SAP มีการจัดการที่ 6.533 ล้านตันและ PPAP จัดการได้ 3.810 ล้านตัน ทำให้มีการเติบโตที่โดดเด่นถึง 22% ในการเติบโตรวมกันในช่วงระยะเวลา 1 ปี โดยในปี 2562 มีการจัดการระวางน้ำหนักรวมผ่านทาง PPAP จำนวน 1.740 ล้านตัน มาจากการนำเข้าน้ำมัน และ 2.070 ล้านตัน มาจากสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ซึ่งรายรับรวมในช่วงระยะเวลาของ SAP มีการรายงานอยู่ที่ 80.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17% และรายรับของ PPAP เพิ่มขึ้น 35% สู่ 30.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677964/solid-growth-in-nations-ports