‘ตะวันออกกลาง’ ผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลุ่มประเทศในตะวันออกกลางกลายมาเป็นผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและกลุ่มตลาด CPTPP และเวียดนามมีสัดส่วนการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพียง 10% ของมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าทั้งหมด โดยจากตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร ชี้ให้เห็นว่าเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง มูลค่า 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะประเทศอิสราเอล เลบานอน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และตุรกี เพิ่มขึ้น 37%, 17%, 23% และ 73% ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดอื่นๆ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อียิปต์และซาอุดีอาระเบีย ลดลง 47% และ 78%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650464/middle-east-the-fourth-largest-importer-of-vietnamese-tuna.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนของปีนี้ แตะ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี อาหารทะเลของเวียดนามปรับตัวลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่เพียง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กุ้งของเวียดนามนับเป็นสินค้าทะเลที่ขายดีที่สุด ทำรายได้มากกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาปลาดุก 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากประเมินยอดขายของสินค้าดังกล่าวจะพบว่าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 29% และ 24% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผู้นำเข้าปลาทูน่าเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ อิสราเอล ไทย ญี่ปุ่น แคนาดา และเยอรมนี ถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังอิสราเอล ไทยและเยอรมนีจะมีการเติบโต  แต่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และแคนาดากลับลดลง โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงมากที่สุดในสหรัฐฯ ถึง 41% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1636885/vietnamese-tuna-fetches-693-million-in-the-first-ten-months-of-2023.html

‘เวียดนาม’ คาดรับอานิสงส์ส่งออกปลาทูน่าไปยังสหราชอาณาจักรดีขึ้น

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าการส่งออกปลาทูน่าไปยังสหราชอาณาจักร (UK) ในช่วงที่เหลือของปีนี้ มีมุมมองชิงบวก เนื่องจากเวียดนามมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหราชอาณาจักร – เวียดนาม รวมถึงข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ที่สร้างโอกาสอาหารทะเลของเวียดนาม โดยเฉพาะปลาทูน่าที่สามารถเข้าถึงตลาดสหราชอาณาจักรได้ นอกจากนี้ กรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกปลาของเวียดนาม มีมูลค่าเกินกว่า 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 77% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-tuna-exports-to-uk-positive-in-coming-months-association/267929.vnp

สหภาพยุโรปจะยกเลิกภาษีปลาทูน่าจากเวียดนาม เมื่อข้อตกลงการค้ามีผลบังคับใช้

สหภาพยุโรปจะปรับลด/ยกเลิกภาษีผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าของเวียดนาม (สด,แช่เย็นแช่แข็ง) ประกอบไปด้วยปลาทูน่ากระป๋อง ปริมาณ 11,500 ตัน และลูกชิ้นปลาทูน่ากระป๋อง 500 ตัน ล้วนได้รับการยกเว้นทุกปี เมื่อข้อตกลงการค้าเสรีทั้งสองฝ่ายมีผลบังคับใช้ในเดือนสิ.ค. ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว คาดว่าจะสร้างโอกาสอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมปลาทูน่าของเวียดนามเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดใหม่ ได้รับการลดภาษีและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ อาทิ ไทยและจีน ในขณะที่ กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีส่วนแบ่งการตลาดขนาดใหญ่ในตลาดอียู แต่ว่ายังไม่ได้รับข้อตกลงการค้าเสรีใดๆเลย ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล (VASEP) ระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในตลาดส่งออกสำคัญ ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ ซึ่งคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ เอกวาดอร์ ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA ถือเป็นข้อตกลงทันสมัยที่สุด ครอบคลุมด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอียูกับประเทศกำลังพัฒนา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/738477/eu-to-remove-tariffs-on-vietnamese-tuna-once-trade-deal-takes-effect.html

เวียดนามเผยส่งออกทูน่ามีความไม่แน่นอน

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง สมาคมผู้ส่งออกและอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) แนะนำผู้ประกอบการแปรรูปและส่งออกทูน่าให้ขยายตลาดในประเทศ ทว่าหากมองดูสถานการณ์เวียดนามปัจจุบันที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว แต่ยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา อีกทั้งตลาดส่งออกทูน่ายังคงมีความยากลำบากและไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้แล้ว ปลาทูน่ามักเป็นเมนูอาหารราคาแพง เหมาะกับผู้ที่มีรายได้สูง แต่ด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าว ส่งผลให้ภัตตาคารส่วนใหญ่สูญเสียรายได้และการบริโภคลดลงถึงแม้ว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมการสมาคมอาหารทะเล เผยว่าเวียดนามไม่ได้เป็นเพียงผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่เท่านั้น แต่ยังเป็นตลาดบริโภคที่มีศักยภาพของอีกหลายๆประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/tuna-export-market-still-unstable/173962.vnp

กรีซนำเข้าปลาทูน่าพุ่งสูงขึ้นจากเวียดนาม

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังประเทศกรีซ ด้วยมูลค่าราว 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งสมาคมฯ มองว่าสถานการณ์การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปนั้นลดลง แต่ทางด้านตลาดกรีซกลับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าแปรรูปกระป๋องของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94 ของมูลค่าส่งออกปลาทูน่าไปยังตลาดโลก อีกทั้ง กลุ่มผู้บริโภคชาวกรีซนิยมทานปลาทูน่ากระป๋องจากอิตาลี อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 ความต้องการสินค้าคุณภาพสูงลดลง เป็นผลมาจากการปรับขึ้นราคาสินค้า ดังนั้น กรีซจึงต้องนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากกลุ่มประเทศในแถบเอเชียเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตุรกี ซึ่งกลุ่มประเทศดังกล่าว ล้วนเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/greece-increases-imports-of-vietnamese-tuna/160255.vnp