ตัวแทนอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สปป.ลาว ร่วมหารือลดต้นทุนด้านพลังงาน

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สปป.ลาว (ALGI) เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนด้านพลังงาน รวมถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยทางสมาคมได้จัดหลักสูตรทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับระบบการจัดการพลังงาน รวมถึงการฝึกอบรม ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การดำเนินการตามแผนที่มีอยู่ของบริษัทสำหรับภาคส่วนอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน ณ หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติ สปป.ลาว (LNCCI) ที่ได้รับความร่วมมือกับทางกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาว ในการถ่ายทอดความรู้

โดยภาคอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระบบการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสอดคล้องกับนโยบายและพระราชกฤษฎีกาการอนุรักษ์พลังงานของรัฐบาล นอกจากนี้ คู่ค้าในปัจจุบันยังต้องการสินค้าที่ผลิตโดยกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังเป็นมิตรต่อแรงงานในสายการผลิต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Garment120.php

“เมียนมา” เผยราคาเชื้อเพลิงในประเทศ พุ่ง 2,000 จ๊าดต่อลิตร

คณะกรรมการกำกับการนำเข้า การจัดเก็บและการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเมียนมา รายงานว่าราคาน้ำมันเตาในประเทศ (ดีเซลและออกเทน 92) ขยับเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 2,000 จ๊าดต่อลิตร โดยราคาเชื้อเพลิงในประเทศถูกกำหนดมาจากราคาน้ำมันเบนซินอ้างอิงราคากลางของเอเชีย (MOPS) ซึ่งเป็นที่กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลในเดือน สิ.ค. 65 พบว่าราคาน้ำมันออกเทน 92 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 2,605 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันออกเทน 95 และดีเซล ขยับเพิ่มสูงขึ้นแตะ 2,670 จ๊าดต่อลิตร และ 3,245 จ๊าดต่อลิตร ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-honey-exports-exceed-330-tonnes-in-may/#article-title

พลังงานเผยช่วง 4 ด.ใช้น้ำมัน/วันเพิ่ม 3.1%

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รอบ 4 เดือน ของปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 158.86 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.1 และคาดว่าในครึ่งปีหลัง การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศอย่างเห็นได้ชัด โดยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม – เมษายน ของน้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.86 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.8 การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ 74.63 ล้านลิตร/วัน ลดลงร้อยละ 3.4 เนื่องจากเดือนเมษายน 2565 มีการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็วสูงเนื่องจากการคลายความกังวลของประชาชนจากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COIVD-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลต่อการเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 13.89 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 92.4 ตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของหลายประเทศ การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 17.18 ล้าน กก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.3 การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.50 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 ในส่วนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณการนำเข้ารวม เฉลี่ยอยู่ที่ 1,098,731 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.9 และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณส่งออกรวม อยู่ที่ 151,539 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 2.6 คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 15,164 ล้านบาท/เดือน ขณะที่ การคาดการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 2566 คาดว่า น้ำมันกลุ่มเบนซินปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 น้ำมันกลุ่มดีเซลปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 น้ำมันเตาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และ LPG ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 โดยการคาดการณ์ของกรมสอดคล้องกับการคาดการณ์ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปี 2566 ทุกชนิดจะกลับมาใกล้เคียงกับในปี 2562 ยกเว้นน้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เนื่องจากหลายประเทศยังคงมาตรการจำกัดการเดินทาง ประกอบกับสายการบินอยู่ระหว่างการฟื้นฟู

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_563394/

เวียดนามจัดโครงสร้างแหล่งพลังงานใหม่ หวังดูดเงินลงทุนต่างชาติหลายพันล้านดอลลาร์เข้าประเทศ

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า แหล่งข่าวจากวงการพลังงานเวียดนามระบุว่า รัฐบาลเวียดนามอยู่ระหว่างพิจารณาปรับเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 2 เท่าภายในปี 2030 โดยมีแผนลดเป้าหมายสำหรับพลังงานลมนอกชายฝั่งลง และจะพึ่งพาถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักเพิ่มขึ้นเป็น 30.1 กิกะวัตต์ จากแผนเดิมปี 2020 อยู่ที่ 21.4 กิกะวัตต์ และยืนยันว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นแหล่งไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งคิดเป็น 19% ของโรงไฟฟ้าทั้งหมด ส่วนไฟฟ้าพลังน้ำจะเป็นแหล่งพลังงานหลักอันดับ 2 รองลงมาคือ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และพลังงานลม ส่วนแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง โดยมีการคาดการณ์ว่า กำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น 158 กิกะวัตต์ในอีก 7 ปี เพิ่มขึ้นราว 2 เท่าจากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิต 69 กิกะวัตต์ ทั้งนี้ ก็เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่คาดว่าจะเข้ามาหลายพันล้านดอลลาร์  อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวมีความสำคัญต่อการปลดล็อกกองทุนเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานมูลค่า 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่ให้คำมั่นไว้ในเดือนธันวาคมโดยกลุ่ม 7 ชาติและประเทศที่ร่ำรวย แต่การอนุมัติยังล่าช้าไปหลายปี ท่ามกลางความขัดแย้งภายในและการปฏิรูปที่ซับซ้อน

ที่มา : https://thestandard.co/vietnam-new-energy-resource-structure/

ไทยเล็งร่วมผลิตปิโตรเลียมกับกัมพูชา

คณะรัฐมนตรีของไทยจัดการหารืออย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (3 ม.ค.) เกี่ยวกับการร่วมมือในการผลิตปิโตรเลียมในอ่าว กัมพูชา-ไทย ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งการหารือนำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กับ Suy Sem รัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์ในการพิจารณาความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานในภูมิภาค ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นจังหวะที่ดีในการรื้อฟื้นข้อตกลงการผลิตปิโตรเลียม บนพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน (OCA) ของทั้งสองประเทศ โดยทั้งสองประเทศกำลังเร่งเจรจากันเกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน (OCA) 26,000 ตร.กม. ซึ่งคาดว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งน้ำมันและก๊าซใต้พื้นทะเลมากถึง 500 ล้านบาร์เรล ขณะที่กัมพูชายังมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากราคาน้ำมันและก๊าซในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นหลังเกิดสงครามยูเครน ซึ่งความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านตันในปี 2030 เพิ่มขึ้นจาก 2.8 ล้านตันในปี 2020

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501214065/thailand-keen-on-joint-petroleum-production-with-cambodia/

บริษัทท้องถิ่นของเมียนมา เข้าซื้อ Puma Energy ของ Trafigura เพื่อขยายธุรกิจพลังงานในประเทศ

วันที่ 5 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา Puma Energy บริษัทลูกในเมียนมาของ บริษัท Trafigura จากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์และโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก อีกทั้งยังเป็นซัพพลายเออร์หลักด้านเชื้อเพลิงการบินในเมียนมา ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อขายหุ้นหุ้น Puma Energy Asia Sun (PEAS) และ National Energy Puma Aviation Services (NEPAS) ในเมียนมาให้กับบริษัทเอกชนในท้องถิ่นเพื่อดำเนินการขายเชื้อเพลิงการบินในประเทศแทน โดย NEPASC ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Puma Energy จากสิงคโปร์และ Myanmar Petrochemical Enterprise ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้ดำเนินธุรกิจเชื้อเพลิงเครื่องบินมาในประเทศ มาตั้งแต่ปี 2558

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/trafiguras-puma-energy-to-sell-myanmar-business-to-local-private-company/#article-title

“สิงคโปร์-สปป.ลาว” กระชับความสัมพันธ์ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมและดิจิทัล

เดอะสเตรตส์ไทมส์ (The Straits Times) รายงานว่าประเทศสิงคโปร์และสปป.ลาว กำลังยกระดับความร่วมมือในสาขาใหม่ ได้แก่ พลังงาน ดิจิทัล ความยั่งยืนและการปกป้องสิ่งแวดล้อม เนื่องจากครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ทั้งนี้ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ และนายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) จำนวน 4 ฉบับ พิธีลงนามในครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นของความร่วมมือเพื่อโครงข่ายไฟฟ้าระดับภูมิภาค พลังงานหมุนเวียนและการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าสำหรับการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดน สิ่งนี้จะข่วยส่งเสริมการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดนในภูมิภาคและทำให้ประเทศต่างๆ ร่วมกันลดคาร์บอน ในขณะเดียวกันก็สร้างงานและยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Singapore189.php

บ.ญี่ปุ่น เข้าซื้อหุ้น 35.1% ในบ.พลังงานเวียดนาม

สำนักข่าวนิกเคอิ (Nikkei) เปิดเผยว่าบริษัทผลิตไฟฟ้าของญี่ปุ่น JERA Co., Inc ลงนามในข้อตกลงที่จะซื้อหุ้น 35.1% ของบริษัทเวียดนาม Gia Lai Electric Joint Stock Company (GEC) ด้วยการตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการลดการปล่อยคาร์บอน ทั้งนี้ บริษัทญี่ปุ่น JERA ถือเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Tokyo Electric Power และ Chubu Electric Power ที่จะเข้ามาลงทุน 15 พันล้านเยน (112 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในบริษัทพลังงานหมุนเวียนของเวียดนาม โดยการซื้อหุ้นในครั้งนี้ ทางบริษัท JERA ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน 5,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2568

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-firm-buys-351-stake-at-vietnams-power-company/235754.vnp

“สุพัฒนพงษ์” แจงสภาฯ ไทย รั้งอันดับ6 ใน8ประเทศอาเซียน ราคาพลังงานสูง

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานตอบกระทู้ถามสดในที่ประชุมสภาฯ ต่อประเด็นปัญหาราคาค่าน้ำมันแพง ตั้งถามโดยนายกิตติกร โลห์สุนทร ส.ส.ลำปาง พรรคเพื่อไทย  โดยยอมรับว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและความขัดแย้งของประเทศมหาอำนาจมีความล่มแหลมและอาจนำไปสู่วิกฤตได้ อย่างไรก็ดีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรัฐบาลได้คำนึงถึงและตระหนักต่อการแก้ไขปัญหา ทั้งการใช้กองทุนน้ำมันเพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซล โดยปัจจุบันใช้กกองทุนไปแล้ว 1.5หมื่นล้านบาท และยังเตรียมที่จะกู้เงินอีก 2-3หมื่นล้านบาทเพื่อดำเนินการต่อ เบื้องต้นอยู่ในกระบวนการกู้เงิน และเชื่อว่าจะไม่เป็นปัญหา

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/politics/987576

กัมพูชา สปป.ลาว ให้คำมั่นหนุนภาคพลังงาน

กัมพูชาและสปป.ลาวตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในภาคพลังงาน เนื่องจากกัมพูชานำเข้าพลังงานหมุนเวียนจากลาวในปัจจุบัน ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่ Suy Sem และ Daovong Phonekeo ถ้อยแถลงของกระทรวงกล่าวว่าในการประชุม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและขยายความร่วมมือในภาคพลังงาน ทั้งกรอบทางเทคนิคและเชิงพาณิชย์ และแลกเปลี่ยนการศึกษาสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำของทั้งสองประเทศ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮงและภาคกลางตอนล่าง 2 ในอนาคต แก้ว รัตนนัค อธิบดีการไฟฟ้าของกัมพูชา (EDC) ระบุว่า ไฟฟ้าที่นำเข้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของลาวมีส่วนทำให้พลังงานหมุนเวียนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามในปี 2562 กัมพูชาซื้อไฟฟ้า 2,400 mW จากสปป.ลาว โดยระยะแรกเริ่มในปี 2567 ตามด้วยระยะที่สอง ระยะที่สาม และระยะที่สี่ในปี 2568, 2569 และ 2570 ตามลำดับ ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยผลักดันภาคพลังงานของสองประเทศให้เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้นและมีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนและภาคเศรษฐกิจโดยรวม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980061/cambodia-laos-pledge-to-boost-energy-sector/