โอกาสสำหรับนักธุรกิจอเมริกาในประเทศกัมพูชา

สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยมีสินค้าส่งออกรวมร้อยละ 37 ของยอดการส่งออกทั้งหมดที่มูลค่า 4.2 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 กล่าวโดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต หลังเข้าพบกับสมาชิกสมาคมกลุ่มนักธุรกิจอเมริกันในวันศุกร์ที่ผ่านมา (22 ก.ย.) ในระหว่างงาน “US-Cambodia Business Forum” ในนครนิวยอร์ก ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับภาคธุรกิจของอเมริกันในการพบปะกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกัมพูชา รวมถึงกัมพูชาพร้อมที่จะสนับสนุนต่อบริษัทอเมริกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้ามาลงทุนยังกัมพูชาเพิ่มขึ้น เพื่อหวังดึงการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนกัมพูชา เนื่องด้วยกัมพูชาสามารถเป็นซัพพลายเชนส่งต่อไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงมีโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจแบบ 100% ในการครอบครองธุรกิจ

อีกทั้งภาคแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานคนหนุ่มสาวกว่าร้อยละ 65 ของกลุ่มประชากร รวมถึงกัมพูชายังอยู่ภายใต้โครงการ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ที่เอื้อต่อภาคการส่งออกของกัมพูชา และกัมพูชายังมีสิทธิพิเศษอื่นๆ อาทิเช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และ ข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้ (CKFTA) เอื้อต่อภาคการส่งออกของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501365721/an-opportunity-for-american-business-in-cambodia/

กัมพูชาหารือร่วมกับสหรัฐฯ หวังต่ออายุสิทธิพิเศษ GSP

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาและสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาหารือร่วมกัน นำโดย Pan Sorasak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือทางการค้าในแง่มุมต่างๆ รวมถึงข้อตกลงทางการค้าใหม่ๆ และการต่ออายุระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) โดยปัจจุบันด้วยยุทธศาสตร์ชาติของกัมพูชา ประกอบกับฐานการผลิตในประเทศที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศต่างเข้ามาแสวงหาโอกาสสำหรับทั้งการค้าและการลงทุน ซึ่งการต่ออายุระบบสิทธิพิเศษดังกล่าว มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ จากความได้เปรียบทางภาษีศุลกากรสำหรับผู้ส่งออกกัมพูชา ที่มีส่วนในการสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาเป็นอย่างมาก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501337672/renewal-of-generalised-system-of-preferences-gsp-discussed-in-cambodia-u-s-trade-talks/

“เมียนมา” เผยราคาขายส่งน้ำมันปาล์มในย้างกุ้ง ดีดตัวขึ้นในสัปดาห์นี้

คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันเพื่อการบริโภคของเมียนมา เปิดเผยว่าราคาขายส่งน้ำมันปาล์มในตลาดย้างกุ้ง ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นที่ 4,000 จ๊าดต่อ viss ในสัปดาห์นี้ (2 ก.ค.66) โดยราคาอ้างอิงของน้ำมันปาล์ม ณ วันที่ 19-25 มิ.ย.66 ได้ตั้งราคาอยู่ที่ 3,860 จ๊าดต่อ viss แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้นราว 150 จ๊าดต่อ viss เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ทำการติดตามราคา FOB ของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงค่าขนส่ง ภาษีศุลกากรและอื่นๆ เป็นต้น ตลอดจนกำกับราคาน้ำมันปาล์มให้เป็นธรรมกับผู้บริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-wholesale-reference-price-in-yangon-region-rebounds-this-week/#article-title

รัฐบาลกัมพูชา เห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยแหล่งกำเนินสินค้า

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติร่างกฎหมายว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้า นอกจากนี้ยังจะช่วยป้องกันการปลอมแปลงของสินค้าที่มีการผลิตในกัมพูชา ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการอนุมัติในการประชุมระหว่างคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ ที่มีนายกรัฐมนตรีฮุน เซน เป็นประธาน ซึ่งร่างกฎหมายนี้มี 9 บท และมี 35 มาตรา ในการกำหนดหลักการและกฎเกณฑ์สำหรับการกำหนดแหล่งกำเนิดของสินค้าที่ส่งออกและนำเข้าระหว่างกัมพูชา

นอกจากนี้ยังช่วยให้กัมพูชาสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กรอบ WTO และส่งเสริม อำนวยความสะดวกทางการค้ากับภาคเอกชน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ากัมพูชาที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากประเทศผู้นำเข้าที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับกัมพูชาและภายใต้การค้าเสรีต่างๆ รวมถึงความตกลงที่กัมพูชาเป็นสมาชิก ซึ่งในปี 2022 กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองรวม 8.6 ล้านตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ 74 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501294323/government-approves-draft-law-on-rules-of-origin/

“เมียนมา” เผยแนวโน้มราคาข้าวโพดในประเทศปรับตัวลดลง

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งภูมิภาคย่างกุ้ง เปิดเผยข้อมูล ณ สิ้นเดือน ม.ค. พบว่าราคาข้าวโพดอยู่ในระดับทรงตัวที่ 1,300 จัตต่อ viss และได้ปรับตัวลดลงเหลืออยู่ที่ 1,200 จัตต่อ viss ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาระบุว่าในปัจจุบัน เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยผ่านชายแดน และยังส่งออกไปทางเรือไปยังจีน อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยประเทศไทยได้รับอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดจากเมียนมาภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 31 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ 73% สำหรับในกรณีที่มีการนำเข้าข้าวโพดในช่วงฤดูข้าวโพดของไทย นอกจากนี้ อู มิน ข่าย ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพด เมียนมา กล่าวว่าทิศทางการส่งออกข้าวโพดไปยังต่างประเทศจะเกินกว่า 2 ล้านตัน ในปี 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-price-on-downward-trend-in-domestic-market/#article-title

ครึ่งปีแรก กัมพูชาจัดเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าแล้วกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์

กรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชาได้รายงานถึงการจัดเก็บภาษีศุลกากรในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 1,293 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 50.1 ของแผนการจัดเก็บภาษีประจำปี 2022 ด้าน Khun Nhim อธิบดี กล่าวเสริมว่า รายรับจากการจัดเก็บภาษีศุลกากรและสรรพสามิต ส่วนใหญ่มากจากภาษีรถยนต์และเครื่องจักร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 43 ของการจัดเก็บทั้งหมด โดยหากรวมทั้งภาษีสำหรับสินค้าขาเข้าและขาออกแล้ว กัมพูชาสามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีอยู่ที่ 1,726 ล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม ปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้เปิดพรมแดนใหม่อีกครั้ง เพื่อเป็นการพลักดันให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเดินได้อีกครั้ง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501108599/cambodia-2022-first-half-customs-income-at-1-2-billion/

Tariff MOU ลงนามสำเร็จสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำปากเบ็ง

China Datang Overseas Investment Co., Ltd. (China Datang) และ Gulf Energy Development Public Company Limited (GULF) ลงนามบันทึกความเข้าใจด้านอัตราภาษีศุลกากรสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำปากแบงในสปป.ลาวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บันทึกความเข้าใจเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาตลาดการขายไฟฟ้า และได้วางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำสปป.ลาว ปัจจุบันโครงการ HPP ปากเบ็ง ตั้งอยู่บนแม่น้ำสายหลักของแม่น้ำโขง ในไซยะบุรีและอุดมไซของสปป.ลาว เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว ทั้งนี้ทั้ง 2 บริษัท มุ่งมั่นที่จะสร้างโครงการให้เป็น โครงการต้นแบบและโครงการสำคัญที่จะผลักดันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการก่อสร้างพลังงานไฟฟ้าควบคู่การดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อนำพาสปป.ลาวสู่ “แบตเตอรี่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าของสปป.ลาวและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten79_TariffMOU.php

กรมศุลกากรกัมพูชารายงานรายรับ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี

กรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) รายงานถึงรายรับที่ได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่ารวม 1.5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นร้อยละ 64.2 ของแผนการจัดเก็บรายปี โดยการนำเข้ารถยนต์ เครื่องจักร รถจักรยานยนต์ และยานพาหนะอื่น ๆ ถือเป็นแหล่งที่มาของรายรับด้านการจัดเก็บภาษีศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้าน อาทิเช่น โครงสร้างพื้น การศึกษา สาธารณสุข และอื่นๆ จากเงินได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษีนำมาบริหารจัดการให้ครอบคลุม โดยในปี 2020 GDCE รวบรวมรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่ารวม 2.420 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 24.8 เมื่อเทียบกับปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50934455/cambodian-customs-department-nets-1-52-billion-in-eight-months/

รายรับคลังพุ่งเกินเป้าหมายปี 2019 สูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

รายได้จากการจัดเก็บภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับปี 2019 ที่เป้าหมาย 700-800 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เกินจากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 400-500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งกว่าครึ่งมาจากการจัดเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ โดยนายกฮุนเซนกล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาครัฐถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีเพื่อที่จะนำรายได้ไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะภายในประเทศ ซึ่งล่าสุดรัฐบาลได้พัฒนาโครงการลงทุนสาธารณะในจังหวัดพระสีหนุและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในจังหวัดกันดาล โดนในอดีตรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีสัดส่วนเพียง 33% ของรายได้ทั้งหมดจากจัดเก็บภาษี แต่ปีนี้ตัวเลขเพิ่มเป็น 52% จากปริมาณการซื้อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในประเทศ ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน GDT มีรายรับ 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 492 ล้านเหรียญสหรัฐจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายรับจากกรมศุลกากรและสรรพสามิตเพิ่มขึ้นกว่า 35% สู่ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50661039/fiscal-revenue-to-surpass-2019-target-by-1-billion-prime-minister/

เวียดนามเผยการส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐอเมริกา ได้รับสิทธิภาษีนำเข้าในอัตรา 0%

จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (DOC) ในวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา เปิดเผยผลการประเมินรอบสุดท้ายครั้งที่ 13 อย่างเป็นทางการ (POR 13) ผู้ส่งออกกุ้งเวียดนามกว่า 31 รายที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรมีอัตราร้อยละ 0 ในขณะที่ ซึ่งก่อนหน้าที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้สอบสวนถึงสถานการณ์การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งในสหรัฐฯ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าสถานการณ์การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ จะกลับมาฟื้นตัว โดยจากตัวเลขสถิติ เผยว่าในเดือนกรกฎาคมของปีนี้ มูลค่าการส่งออกกุ้งของเวียดนามไปสหรัฐฯ อยู่ที่ 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีตลาดส่งออกกุ้งที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และจีน เป็นต้น

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7843202-vietnamese-shrimp-exporters-enjoy-zero-taxes-to-us.html