‘เวียดนาม-มาเลเซีย’ จับมือส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ ดันโอกาสครั้งใหญ่

คุณ Lê Phú Cường ที่ปรึกษาการค้าประจำประเทศมาเลเซีย กล่าวในที่ประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจ ปี 2567 ณ กรุงกัลป์ลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่าเวียดนามมีข้อได้เปรียบอย่างมากทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง ในขณะที่มาเลเซียมีความแข็งแกร่งทางด้านการผลิตไฟฟ้าและการผลิตแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ แต่มีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่มีจำนวนจำกัด หากเวียดนามร่วมมือกับมาเลเซียจะสามารถช่วยลดต้นทุนการวิจัยและได้รับประสบการณ์ที่มีค่าจากการร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการผลิตไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655360/big-opportunities-remain-for-vietnam-and-malaysia-to-partner-in-new-technology-areas-official.html

เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า กระทบเงินบาทของไทย-ริงกิตของมาเลเซีย รวมถึงสกุลอื่นๆ ในอาเซียน

สกุลเงินบาทของไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในช่วงเริ่มต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงขยายตัวและข้อมูลการจ้างงานที่สดใส ความคาดหวังที่เพิ่มสูงขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกนาน ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เงินบาทของไทยและริงกิตของมาเลเซียได้รับผลกระทบหนักที่สุด แม้ว่าจะมีการฟื้นตัวในช่วงสั้นๆ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา ตามการตัดสินใจครั้งล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ “สกุลเงินเกือบทั้งหมดในโลกอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรก Joey Chew หัวหน้าฝ่ายวิจัย FX ของเอเชียของธนาคาร  HSBC กล่าวกับ The Business Times.

ที่มา : https://www.businesstimes.com.sg/international/asean/strong-us-dollar-hits-thai-baht-malaysian-ringgit-hardest-among-asean-currencies

แรงงานเมียนมาเตรียมย้ายจากมาเลเซีย หลังประกาศกำหนดเส้นตายวีซ่า

เจ้าหน้าที่จากสหพันธ์หน่วยงานจัดหางานในต่างประเทศ (MOEAF) ของเมียนมา กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลมาเลเซียประกาศว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุมัติให้เรียกวีซ่าจะถูกคัดเลือกในมาเลเซียภายในวันที่ 31 พฤษภาคม แรงงานเมียนมาจำนวนมากก็กระตือรือร้นที่จะไปที่นั่น ดังนั้นคนหนุ่มสาวจึงต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการฉ้อโกง ทั้งนี้ ธุรกิจในมาเลเซียจะต้องดำเนินการยื่นวีซ่าเรียกให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 31 มีนาคม สำหรับแรงงานต่างชาติที่ได้รับการอนุมัติจาก KSM แล้ว ซึ่งยังมีเงื่อนไขอยู่ ธุรกิจของมาเลเซียจะรับสมัครแรงงานต่างชาติที่ได้รับวีซ่าเรียกจากกรมตรวจคนเข้าเมืองภายในวันที่ 31 พฤษภาคม เข้าสู่มาเลเซีย ตามประกาศดังกล่าว อย่างไรก็ดี เมื่อแผนการสรรหาบุคลากรของมาเลเซียหยุดชะงัก จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหันไปให้ความสนใจมากขึ้นสำหรับการไปทำงานในเกาหลีใต้และไทย นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม รัฐบาลมาเลเซียหยุดการอนุมัติ KSM สำหรับการหาแรงงานต่างชาติตามโรงงาน และบริษัทต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หน่วยงานที่ส่งคนงานเมียนมาไปมาเลเซียโดยเฉพาะอาจหยุดการดำเนินงาน ตามที่เจ้าของตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศระบุ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/many-myanmar-workers-prepare-to-go-to-malaysia-after-announcement-on-deadline-for-submission-of-calling-visa/

ไทยจับตาข้อตกลง 4 ชาติเพื่อนบ้าน หวังผลักดันยกเว้นวีซ่าเชงเก้น

ประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะร่วมมือกับเวียดนาม กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย จัดการเจรจากับสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเปิดตัวรายการวีซ่าต่างตอบแทน นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเทศไทยจะขอการสนับสนุนจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างข้อตกลงให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางอย่างเสรีระหว่าง 5 ชาติอาเซียน หลังจากได้รับวีซ่าเข้าประเทศแล้ว เขากล่าวว่าเวียดนามขอความช่วยเหลือจากไทย โดยเฉพาะเพื่อสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว ประเทศไทยจะนำการเจรจาให้นักท่องเที่ยวต้องมีวีซ่าเข้าประเทศเพื่อเดินทางร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ หากรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ เห็นพ้องกันอย่างเป็นทางการ รัฐบาลไทยก็มุ่งหวังที่จะใช้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้ในการเจรจากับสหภาพยุโรป เพื่อขอยกเว้นวีซ่าเชงเก้นตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ที่มา : https://www.nationthailand.com/thailand/tourism/40035307?fbclid=IwAR3NaDaOsc_k-GirkTZkYPnJXoAboLJZTt8NlE7eTe1zghWuU5UZ4n3S–g

สปป.ลาว-มาเลเซีย ให้คำมั่นส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว

รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสของ สปป.ลาว และมาเลเซีย ได้หารือถึงแนวทางในการกระชับความร่วมมือในภาคการท่องเที่ยว รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สปป.ลาว ได้กล่าวระหว่างการหารือว่า ทั้งสองประเทศจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อกระชับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของกรอบอาเซียน รวมถึง สปป.ลาว ในฐานะประธานอาเซียนปี 2567 และมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียนปี 2568 จะทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมเสาหลัก 3 ประการของอาเซียน ขณะที่ฝ่ายมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับ สปป.ลาว เป็นอย่างมาก และกระตือรือร้นที่จะขยายความร่วมมือในด้านการท่องเที่ยวและสาขาอื่นๆ ทั้งนี้ มาเลเซียเป็นหนึ่งในนักท่องเที่ยวจากอาเซียน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน สปป.ลาว โดยมีจำนวนกว่า 14,990 คนที่เดินทางมาเยือนประเทศลาวในปี 2566

ที่มา : https://english.news.cn/20240126/a5644770579a4a73bda410dea3b2fb1e/c.html

บริษัทผู้ผลิตเหล็กมาเลเซีย จัดทำข้อตกลงร่วมกับผู้ประกอบการกัมพูชาในการจัดหาทรัพยากร

บริษัท LEFORM Bhd ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เหล็ก ได้ทำสัญญาร่วมกับ บริษัท Nim Meng Group Co., Ltd. ประเทศกัมพูชา ผ่านบริษัทย่อยอย่าง บริษัท Leform Metal SdnBhd ในการจัดหาทรัพยากรเผื่อการผลิตราวกั้นทางหลวง สำหรับโครงการปรับปรุงถนนแห่งชาติหมายเลข 5 ด้วยมูลค่าสัญญารวมกว่า 1.95 ล้านดอลลาร์ โดยโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งและประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ในกัมพูชา ซึ่งสัญญาดังกล่าวจะเริ่มต้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2024 และสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2024

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501398756/listed-malaysian-steel-products-manufacturer-leformbags-supply-deal-in-cambodia-worth-1-9-million/

รัฐบาลไทยหนุนธุรกิจสินค้าฮาลาลในมาเลเซีย มุ่งเป้า 1.02 ล้านล้านบาทในปี 68

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีกับความร่วมมือทางการค้าของไทย-มาเลเซียที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นการค้าทั้งสองฝ่ายจะบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.02 ล้านล้านบาท) ในปี 2568 รวมถึงจะมีการหารือเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ระดับรัฐมนตรี ซึ่งมีแผนจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2566นี้

ที่มา : https://www.posttoday.com/politics/domestic/697479

“พาณิชย์” จับมือมาเลเซีย ส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ เร่งฟื้นฟูการค้าชายแดน-ท่องเที่ยว

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบหารือกับดาตุ๊ก อัซมัน บิน โมฮัมหมัด ยูโซฟ ปลัดกระทรวงการค้าภายในและค่าครองชีพมาเลเซีย และคณะ โดยมี ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นายกำแหง กล้าสุคนธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เข้าร่วม โดยได้หารือถึงความร่วมมือด้านการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ การกำกับดูแลการค้าภายในประเทศให้มีความเป็นธรรม และการฟื้นฟูการค้าชายแดน เพื่อให้การค้าทั้งสองฝ่ายบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 102,000 ล้านบาท ในปี 2568 ทั้งนี้ ในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์ มาเลเซียแจ้งว่ามีความสนใจที่จะร่วมมือเพื่อส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์กับไทย ซึ่งถือเป็นประเด็นใหม่ที่ยังไม่เคยมีความร่วมมือระหว่างกันมาก่อน โดยจะเริ่มจากการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์เข้าร่วมงานแสดงสินค้าของแต่ละฝ่าย เพื่อสร้างโอกาสขยายพันธมิตรทางการค้า การจับคู่ทางธุรกิจ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องขั้นตอนและกฎระเบียบเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังจะเร่งฟื้นการค้าชายแดนและเศรษฐกิจท้องถิ่นแถบพรมแดน ทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายแดน และการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งจะช่วยให้มูลค่าการค้าระหว่างกันบรรลุตามเป้าหมายได้เร็วขึ้น โดยจะหารือเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ระดับรัฐมนตรี ซึ่งมีแผนจะจัดขึ้นในช่วงปลายปีนี้

ที่มา : https://ibusiness.co/detail/9660000065727

ท่าเรือ สปป.ลาว-มาเลเซีย มองหาช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างกัน

Sake Philangam กรรมการผู้จัดการของท่าเรือบกท่านาแล้ง สปป.ลาว และ Mr. Wan Ahmad Azheed Wan Mohamad กรรมการผู้จัดการกลุ่มและซีอีโอของ Mutiara Perlis Sdn Bhd ได้จัดพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างกัน (MoC) โดยมีนายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว และมาเลเซียร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีความต้องการในการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ระหว่างกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าการลงทุนต่อไปในอนาคต ขณะที่รัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งชาติลาวและการรถไฟมาเลเซีย Keretapi Tanah Melayu Berhad (KTMB) ก็ได้ลงนามใน MoC ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการขนส่งทางราง หวังเชื่อมโลจิสติกส์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งหากเกิดการเชื่อมกันอย่างสมบูรณ์จะช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนในการขนส่งลงอย่างมาก โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าไปยังจีนที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของกลุ่มประเทศอาเซียน ยกตัวอย่างเช่น การขนส่งทุเรียนจากประเทศไทยผ่านทางรถไฟใช้เวลาเพียง 3 วัน ในการขนส่งไปยังจีน เร็วกว่าการขนส่งแบบดังเดิมถึงสองเท่า และด้วยความได้เปลี่ยนนี้คาดว่าจะถือเป็นการดึงดูดนักลงทุน เข้ามาลงทุนยังภูมิภาคมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง สปป.ลาว ยังได้เพิ่มสิ่งจูงใจในการเข้ามาลงทุนอีกมากมาย เช่น ยกเว้นภาษีนิติบุคคล 8-16 ปี การลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น อีกทั้ง สปป.ลาว ยังมีข้อตกลงทางด้านการค้าอีกหลายฉบับกับนานาประเทศทั่วโลก

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaoMalasian125.php

นายกฯ มาเลเซียเยือน สปป.ลาว เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี

การมาเยือน สปป.ลาว อย่างเป็นทางการ ของนายกรัฐมนตรี Datuk Seri Anwar Ibrahim นายกฯ มาเลเซีย ในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. ซึ่งคาดว่าจะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันหลัง สปป.ลาว จะต้องเป็นประธานในการจัดการประชุมอาเซียนในปีหน้าที่จะต้องรับตำแหน่งต่อจากอินโดนีเซีย โดยผู้นำทั้งสองพร้อมที่จะเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoC) ระหว่าง Keretapi Tanah Melayu Berhad (KTMB) และรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งชาติ สปป.ลาว (LNRSE) รวมถึง Mutiara Perlis Sdn Bhd (MPSB) ขณะที่ท่าเรือบกท่านาแล้ง (TDP) กล่าวว่า การค้าทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและ สปป.ลาว เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 425 จากมูลค่าการค้ารวม 48.7 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 เป็น 255.6 ล้านดอลลาร์ ในปี 2022 เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของมาเลเซียที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งมาเลเซียยังคงเป็นกลุ่มประเทศผู้เข้ามาลงทุนโดยตรงมายัง สปป.ลาว (FDI) รายใหญ่อันดับ 4 ของประเทศ รองจากจีน ไทย และเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในโครงการลงทุนภาคพลังงาน เขตการค้าเสรี ยานยนต์ และการธนาคาร

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten122_PM_Anwar_y23.php