การส่งออกประมงของเมียนมามีมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐใน 2 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยว่า การส่งออกประมงของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 102.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้น 33.545 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับสถิติที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2023-2024 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 69.425 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งสินค้าประมง เช่น ปลา ปู และกุ้ง ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (จีนและไทย) ผ่านด่านชายแดน Muse, Myawady, Kawthoung, Myeik, Sittway และ Maungtaw นอกจากนี้ยังจัดส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในยุโรป จีน ไทย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคผ่านช่องทางเดินเรือ ซึ่งสหพันธ์ประมงเมียนมาระบุว่า ปลามากกว่า 20 สายพันธุ์ รวมถึงฮิลซา โรฮู ปลาดุก และปลากะพงขาว ถูกส่งไปยังตลาดต่างประเทศ โดยส่งออกไปยังกว่า 40 ประเทศ และผู้นำเข้าประมงชั้นนำของเมียนมาคือไทย รองลงมาคือจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fisheries-exports-bag-us100m-in-2-months/#article-title

“เวียดนาม” เผย 2 เดือนแรก ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โต 1.3%

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อยู่ที่ประมาณ 1.18 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี และหากพิจารณาเฉพาะในเดือน ก.พ. พบว่าผลผลิตประมงอยู่ที่ราว 593,400 ตัน เพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้แนะนำให้หน่วยงานในท้องถิ่นทั่วประเทศทำการเชื่อมโยงระบบการทำงาน ปรับโครงสร้างภาคประมงด้วยการปรับโครงสร้างการผลิตใหม่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเวียดนาม นอกจากนี้ จำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบการจัดการให้มีความทันสมัย นำเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมประมงให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์สัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/aquaculture-output-grows-13-in-two-months/249504.vnp

ปีงบฯ 63 –64 เมียนมาส่งออกสัตว์น้ำลดฮวบ 8.6%

กระทรวงพาณิชย์ .เผย มูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำของเมียนมาร์ในปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค.-63-ก.ย.64) ลดลง 784.889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ต่ำกว่าถึง 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกมูลค่า 858.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2562-2563 สหพันธ์ประมงแห่งเมียนมา (MFF) พยายามขยายการส่งออก แม้มีการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบในการส่งออกทางทะเล การปิดพรมแดน และความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ด้าน Mawlamyine Commodity Center ระบุ ราคาปลาลดลง แต่ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น เช่น อวนจับปลา ราคาน้ำมัน ควบคู่ไปกับค่าเงินจัตที่อ่อนค่าของตลาดฟอเร็กซ์ MFF จึงหันไปมองตลาดบังคลาเทศและร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้การส่งออกเติบโตอย่างยั่งยืน ณ ปัจจุบันการส่งออกประมงผ่านพรมแดนจีน-เมียนมาต้องหยุดชะงักหลังผลกระทบของโควิด-19  ซึ่งตลาดจีนคิดเป็นร้อยละ 65 ของการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดของเมียนมา :ซึ่ง MFF ระบุว่ามีเพียงข้อตกลงแบบ G2G เท่านั้นที่สามารถจัดการกับปัญหาการส่งออกสินค้าประมงได้ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปลา กุ้ง และปู ไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aquaculture-exports-down-by-8-6-in-2020-2021fy/

บริษัทจากญี่ปุ่นทำการศึกษาการลงทุนในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกัมพูชา

บริษัทจากญี่ปุ่นกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อเพาะเลี้ยงปลานิล ซึ่งเป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืดในกัมพูชา จากข้อมูลดังกล่าวได้รับการเผยแพร่โดยตัวแทนของ JICA ในประเทศกัมพูชาในระหว่างการประชุมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกัมพูชา ซึ่งการลงทุนจะเน้นไปที่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาเพื่อการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรยินดีต้อนรับการลงทุนซึ่งมองว่าจะสร้างงานใหม่และช่วยลดการจับปลาจากทะเลสาบธรรมชาติและแม่น้ำได้ ซึ่งในการประชุม JICA ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับโครงการที่ประสบความสำเร็จในการแปรรูปวัตถุดิบจากผ้าไหมสู่ผลิตภัณฑ์สบู่และแชมพูซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50704397/japanese-firm-to-conduct-study-on-investment-in-aquaculture-industry-in-cambodia/