ผลิตภัณฑ์ CMP ของเมียนมาร์เข้าถึงตลาดมากกว่า 80 แห่ง รวมถึงสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี

U Min Min รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า เสื้อผ้าของเมียนมาร์ส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง 12 ประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี โดยสินค้า CMP มีส่วนสำคัญ ในภาคการส่งออกสิ่งทอของเมียนมาร์โดยมีประเทศปลายทางมากกว่า 100 ประเทศ และรายได้สุทธิ อยู่ที่ 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2565-2566 ทั้งนี้ ตลาดหลักสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของเรา ได้แก่ ญี่ปุ่น โปแลนด์ สเปน เยอรมนี เกาหลี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และเบลเยียม อย่างไรก็ดี ประเทศที่จ้างเหมานำเข้าวัตถุดิบหลักส่วนใหญ่สำหรับโรงงาน CMP นำเข้าผ่านทางตลาดจีน 90% ซึ่งในปีนี้มีการนำเข้าสิ่งทอดิบมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัวระบบออนไลน์ Myanmar Tradenet 2.0 เพื่ออำนวยความสะดวกใน กระบวนการนำ เข้าวัตถุดิบและส่งออกผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรม CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-cmp-products-reach-over-80-markets-including-us-japan-korea/

“เวียดนาม” ขึ้นแท่นผู้ส่งออกเส้นใยและเส้นด้ายรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก

ตามรายงานของสมาคม Vietnam Cotton and Spinning Association (VCOSA) พบว่าเวียดนามขยับอันดับผู้ส่งออกเส้นใยและเส้นด้ายรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก มีมูลค่า 2.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 แซงหน้าเกาหลีใต้ โดยสมาคมมีรายได้เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ การส่งออกกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เส้นใย เส้นด้ายและผ้าผืน มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 18.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.81% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยสมาคมได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าตลาดจีนมีสัดส่วนราว 60% ของยอดการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ลดการนำเข้าจากประเทศจีน ทำให้เวียดนามมีโอกาสขยายส่วนแบ่งการตลาดได้

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-becomes-world-s-sixth-largest-fibre-yarn-exporter-2042957.html

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าเกี่ยวกับการเดินทาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2

กัมพูชาส่งออกเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และสินค้าเกี่ยวกับการเดินทางเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 ในปี 2021 ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต โดยส่งออกไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลค่ารวม 11.38 พันล้านดอลลาร์จากมูลค่า 9.88 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และสินค้าท่องเที่ยวถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศในด้านการส่งออก โดยในปัจจุบันกระทรวงแรงงานระบุว่าภาคส่วนนี้มีโรงงานประมาณ 1,100 แห่ง สร้างการจ้างงานถึงประมาณ 750,000 คน สำหรับปี 2022 ทางการคาดว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะกลับมาเติบโตในอัตราที่สูงขึ้นประมาณร้อยละ 5.6 โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ทั่วโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501024109/cambodias-garment-footwear-travel-goods-exports-up-15-2-pct-in-2021/

ดีมานด์ตลาดสิ่งทอพุ่ง หนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยและกัมพูชา

อุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาไม่สามารถรองรับกับสถานการณ์การขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอของไทยปรับตัวพุ่งสูงขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 ในปีนี้ ทางด้านสื่อไทยรายงานถึงการส่งออกสิ่งทอที่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการในสินค้าทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น รวมถึงภาคการผลิตในภูมิภาคเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง อาทิเช่น กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย รวมถึงจากโซนยุโรป และสหรัฐฯ โดยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอของไทยกลับมามีกำลังการผลิตเต็ม 100% อีกครั้ง แต่ยังคงติดอยู่กับปัญหาการขาดแคลนแรงงานหลังจากแรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศของตนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันโรงงานภายในประเทศไทยขาดแคลนแรงงานสูงถึง 30,000-50,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001754/soaring-demand-from-cambodia-other-countries-leads-to-thai-textile-industry-exports-surging/

‘เวียดนาม’ คาดอุตสาหกรรมสิ่งทอ โต 11.2%

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าภาคธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศ ตั้งเป้าว่าจะมียอดส่งออกในปีนี้ อยู่ที่ 39 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.2% และ 0.2% เมื่อเทียบกับปี 63 และ 62 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการแพร่ระบาดขงโรคโควิด-19 ที่ยังคงยืดเยื้อ แต่ภาคธุรกิจได้เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับวิกฤติดังกล่าวและคงรักษาระดับการส่งออกให้มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ การส่งออกที่คงเติบโตในระดับสูง เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามร่วมลงนามกับประเทศคู่ค้า

นอกจากนี้ การที่รัฐบาลเวียดนามได้ปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ทำให้ภาคธุรกิจมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/garment-sector-set-to-enjoy-growth-rate-of-112-909982.vov

‘เวียดนาม’ ชี้กิจการสิ่งทอกว่า 68% ถูกเรียกค่าปรับ

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนามและสมาคมหนัง รองเท้าและกระเป๋าถือแห่งประเทศเวียดนาม และคณะการทำงานหุ้นส่วนภาครัฐฯ-เอกชน เปิดเผยผลการสำรวจ พบว่าผู้ประกอบการเสื้อผ้าและรองเท้าในเวียดนามส่วนใหญ่ 68% รับโทษจากลูกค้าต่างชาติ เนื่องจากปัญหาการจัดส่งล่าช้า บางกิจการถูกยกเลิกคำสั่งซื้อและชดเชยค่าปรับ โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่าระยะเวลาการขนส่งใช้เวลา 80 วันแทนที่เดิมจะใช้ 40 วันก่อนที่จะส่งไปยังสหรัฐฯ ดังนั้น ลูกค้าต่างชาติบางรายจึงย้ายคำสั่งซื้อไปยังประเทศอื่น ทั้งนี้ การส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอในเดือน ก.ย. ลดลง 9% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/68-pct-of-garment-footwear-firms-suffer-cancellations-penalties-4369724.html

 

ในช่วง 8 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้ารวมกว่า 5 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 คิดเป็นมูลค่า 5.021 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่า 4.861 พันล้านดอลลาร์ ตามการรายงานจากกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา โดยมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มคิดเป็นถึงร้อยละ 45 ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ ถึงแม้กัมพูชาจะเผชิญอยู่กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการถูกถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า Everything But Arms (EBA) จาก EU แต่ถึงอย่างไรภาคการส่งออกผลิตเครื่องนุ่งห่มก็ยังคงมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้ามูลค่ารวม 7.420 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2020 ของกระทรวงพาณิชย์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50937900/garment-exports-net-5-billion-in-eight-months/

‘เวียดนาม’ ชี้อุตสาหกรรมสิ่งทอเผชิญปัญหาการหยุดชะงักของซัพพลายเชน

นาย Vu Duc Giang ประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) กล่าวว่าห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มใกล้ที่จะหยุดชะงักลง หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ตลอดจนผลกระทบต่อชื่อเสียงของอุตสาหกรรมนี้ไปในทิศทางเชิงลบในมุมมองนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ คุณ Le Uyen Trang Nha อำนวยการทั่วไปของ บ. Viking Vietnam เผยว่าเพื่อรักษาระดับการผลิตนั้น บริษัทจำเป็นต้องจัดเตรียมหาที่พักและห้องรับประทานอาหารแก่พนักงาน ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจำนวนพนักงานกว่า 150 คนที่อยู่ทำงานในโรงงาน คิดเป็นต้นทุนกว่า 450 ล้านดองต่อเดือน อย่างไรก็ดี มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในหลายๆจังหวัด ส่งผลให้การขนส่งวัตถุดิบชะลอกตัวลง

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83598/apparel-sector-faces-supply-chain-disruption.html

ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มกัมพูชาเรียกร้องการเยียวยาสำหรับพนักงาน

ด้วยโรงงานมากกว่า 200 แห่ง ในภาคอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋าและสินค้าการเดินทาง ที่ถูกสั่งปิดชั่วคราวในเขตเมืองหลวงและเขตเมืองตาเขมาจังหวัดกันดาล จากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล โดยสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่ากำลังต้องการการสนับสนุนทางด้านค่าตอบแทนเพื่อชดเชยให้กับคนงานนับหมื่นรายเป็นการชั่วคราวหลังโรงงานถูกสั่งปิด ส่งผลทำให้สายการผลิตต้องหยุดชะงัก รวมถึงคนงานขาดรายได้ ซึ่งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในพนมเปญและตาเขมาถูกสั่งปิดตั้งแต่ในวันที่ 14 เมษายน เป็นเวลาสองสัปดาห์หลังจากพบว่ามีคนงานเกือบ 800 คน จากโรงงาน 36 แห่ง ติดเชื้อโควิด-19 โดยอุตสาหกรรมนี้ถือเป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจกัมพูชาและมีพนักงานมากกว่า 800,000 คน ในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศผ่านการส่งออกสูงถึง 9.5 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วแม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50845549/garment-employers-urged-to-provide-additional-allowances-in-spirit-of-humanity/

อุตฯ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม มีแนวโน้มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 65

แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มของเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจอาจจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ในขณะที่สถานการณ์จะกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติในช่วงสิ้นปี 2566 บริษัท Vietnam National Garment and Textile Group (Vinatex) ผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มรายใหญ่ของเวียดนาม เผยว่าโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้ากำลังทำงานอย่างเต็มกำลังจนถึงเดือนก.ค.และสิ.ค. ถือว่าเป็นสัญญาที่ดีของอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ธุรกิจดังกล่าว ได้ตั้งเป้ามูลค่าการส่งออก 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่ากับช่วงก่อนที่จะเกิดโควิด-19 นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) จากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของปี 2564 อุตสาหกรรมคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 39 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ โดยจะขยายไปยังตลาดอื่นๆ จากการใช้ประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่เวียดนามร่วมลงนามไว้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-textile-and-apparel-industry-may-recover-in-2h-2022-316797.html