กัมพูชาเตรียมจัดตั้งสหพันธ์อุตสาหกรรมการเกษตร

กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรภายในกัมพูชาเตรียมจัดตั้งสหพันธ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเติบโตภายในอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลในการเพิ่มการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในอนาคต โดยคาดว่าสมาพันธ์จะมีบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรในกัมพูชาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ครอบคลุมพืชผลและภูมิศาสตร์ทุกประเภททั่วประเทศในอนาคตอันใกล้ ซึ่งกัมพูชาส่งออกพืชเศรษฐกิจสำคัญ 6 อย่างรวม 8.55 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.32 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50875165/cambodia-agro-industry-federation-to-be-established/

กระทรวงเกษตรฯ กัมพูชา ชี้ผู้ปลูกมะม่วงขึ้นทะเบียนเพิ่มมาตรฐานสินค้า

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ได้เรียกร้องให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงขึ้นทะเบียนการปลูกมะม่วงกับกรมวิชาการเกษตรอีกครั้ง เพื่อเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐานของผลไม้ภายในกัมพูชา นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถจัดตั้งกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินการแปรรูปมะม่วง และร่วมงานกับบริษัททั้งในและต่างประเทศในการทำคอนแทรคฟาร์มมิ้งเพื่อแปรรูปและส่งออกมะม่วง โดยจากข้อมูลของ MAFF ราคาสินค้าเกษตรรวมทั้งมะม่วงมีความผันผวนตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมถึงอุปสงค์และอุปทานในตลาดที่ไม่แน่นอน กระทรวงฯ จึงพยายามอย่างมากในการแสวงหาตลาดเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์มะม่วงของกัมพูชา โดยเฉาพะเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วง 131,890 เฮกตาร์ สร้างผลผลิตเฉลี่ย 18.78 ตันต่อเฮกตาร์ โดยผลผลิตในปี 2020 อยู่ที่ 1.75 ล้านตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50817427/mango-farmers-asked-to-register-to-boost-standards/

เวียดนามตั้งเป้าปี 73 ยอดส่งออกภาคเกษตร ป่าไม้และประมง 60-62 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ตามคำสั่งอนุมัติของนายกรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆนี้ ต่อโครงการเกษตรกรรม เผยว่าเวียดนามตั้งเป้าการส่งออกภาคเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ประมาณ 60-62 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2573 โดยโครงการดังกล่าวเล็งเห็นถึงการเข้าร่วมของห่วงโซ่อุปทานภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพและมูลค่า เพื่อที่จะส่งออกให้เป็นไปตามกฎระเบียบของผู้นำเข้าและพัฒนาเครื่องหมายการค้าในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ การส่งออกของภาคเกษตร ป่าไม้และประมง คาดว่าจะเติบโต 6-8% ต่อปี ประมาณ 40% มาจากการส่งออกสินค้สที่เป็นแบนด์ระดับชาติ, 70% มาจากธรรมชาติ และ 60% มาจากการส่งออกสินค้าที่ผ่านกระบวนการแปรรูป  ดังนั้น โครงการแห่งนี้จึงกำหนดเป้าหมายและนโยบาย เพื่อรองรับกับความปลอดภัยทางอาหารและพัฒนาอุตสาหกรรมที่สนับสนุน รวมไปถึงช่วยเหลือธุรกิจเกี่ยวกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในตลาดส่งออก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-targets-60-62-bln-usd-from-agroforestryfisheries-export-by-2030/196140.vnp

พาณิชย์ปรับแผนหนุนเกษตรกร-เอสเอ็มอีใช้เอฟทีเอควบคู่ค้าขายออนไลน์

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ปรับกลยุทธ์การทำงาน ปี 2564 แก้เกมโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โดยให้เน้นการใช้เทคโนโลยีออนไลน์สำหรับกิจกรรมฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อติดอาวุธให้กับกลุ่มเกษตรกรเอสเอ็มอี สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน พร้อมใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถจับคู่ธุรกิจเพิ่มยอดขาย และบุกตลาดต่างประเทศได้จริง โดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เสริมว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กรม จะดำเนินการ ในปี 2564 และจะเพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ในการจับคู่ธุรกิจ ตามนโยบายของ รมช.พาณิชย์ ได้แก่ โครงการจัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ เน้นขยายตลาดส่งออกไปอาเซียนและจีน โครงการจับมือผู้ประกอบการใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ เพิ่มการส่งออกต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ ร่วมกับ ศอ.บต. โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทยให้สามารถเพิ่มการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าสหกรณ์ไทยสู่โลกการค้าเสรี และโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทยผ่านโลกการค้าเสรี ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีความตกลงเอฟทีเอ จำนวน 14 ฉบับ รวมอาร์เซ็ป กับ 18 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับประเทศคู่เอฟทีเอ 18 ประเทศ มีมูลค่ารวม 302,991 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2 ใน 3 สัดส่วน 63% ของมูลค่าการค้าไทย กับโลก

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_5726321

การส่งออกมะม่วงไปเกาหลีใต้ได้รับการอนุมัติ

หลังจากการเจรจาเรื่องข้อกำหนดการส่งออกมาเป็นเวลานาน โดยการส่งออกมะม่วงในประเทศรอบแรกจะถึงเกาหลีใต้ก่อนสิ้นปีตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีใต้ ซึ่งการประชุมระหว่างกันในครั้งนี้ถูกจัดขึ้น ณ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเมืองปูซานของเกาหลีใต้ โดยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการเกษตร ซึ่งกัมพูชาสามารถเริ่มส่งออกมะม่วงอย่างเป็นทางการไปยังตลาดเกาหลีได้ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง Veng Sakhon อธิบายว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างประเทศในภาคเกษตรกรรมและขอความช่วยเหลือจากเกาหลีในการปรับปรุงภาคการเกษตรของกัมพูชาให้ทันสมัย ซึ่งผู้บริโภคชาวเกาหลีมีความคาดหวังเป็นอย่างมากสำหรับมะม่วงของกัมพูชา โดยประธานสมาคมกำปงสปือได้ชื่นชมการทำงานของรัฐบาลในการขยายตลาดสำหรับผู้ส่งออกมะม่วง ซึ่งกำปงสปือสามารถผลิตผลไม้ได้ 500,000 ถึง 700,000 ตันต่อปี ราคาต่อกิโลกรัมอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.50 เหรียญสหรัฐ ถึง 0.86 เหรียญสหรัฐ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664792/mango-exports-to-south-korea-given-greenlight/

ผู้ส่งออกตกลงราคาข้าวเปลือกอินทรีย์ในชุมชนกัมพูชา

ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียได้ตกลงลงนามซื้อข้าวเปลือกจากชุมชนเกษตรกรรมในพระวิหารบนราคาเดียวกันในฤดูเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายแม้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศจะลดลงก็ตาม  โดยราคาที่ตกลงกันสำหรับข้าวขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้าวแต่ละชนิด เช่นข้าวขาวปกติจะถูกซื้อในราคา 1,200-1,300 เรียลต่อกิโลกรัม ส่วนราคาของข้าวหอมมะลิถูกตั้งไว้ที่ 1,450-1,650 เรียลต่อกิโลกรัม ซึ่งบริษัทได้เข้าร่วมโครงการทำสัญญากับชุมชนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงตลาดให้กับเกษตรกรและช่วยให้พวกเขาเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งออกข้าวไปยังยุโรปนอกจากนี้ยังมีผู้ซื้อในสหรัฐฯและออสเตรเลีย โดยบริษัทกำลังมองหาซัพพลายเออร์ข้าวอินทรีย์ในจังหวัดบันทายมีชัยและจังหวัดเสียมราฐเพิ่มเติม ซึ่งระบุว่าข้าวอินทรีย์มีปริมาณมากกว่าข้าวธรรมดาทั่วไป 25-30% ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งAmru Rice คือผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่รายหนึ่งประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า บริษัท ได้เข้าร่วมโครงการทำสัญญากับเกษตรกรประมาณ 5,000 รายและตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวอินทรีย์กว่า 20,000 ตันไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50659140/exporter-communities-agree-price-for-organic-paddy-rice/

กลุ่มนักลงทุนจีนลงทุนในอุตสาหกรรมกล้วยมูลค่าโครงการกว่า 30 ล้านเหรียญ

Beijing Capital Agribusiness Group ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนประกาศที่จะศึกษาโครงการการลงทุนมูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทำสวนกล้วยในกัมพูชา โดยบริษัทกำลังพิจารณาการซื้อที่ดิน 1,500 เฮกตาร์ ที่จะใช้ในการปลูกกล้วย ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรของกัมพูชาให้การต้อนรับแผนของ บริษัท และให้คำมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการลงทุนเนื่องจากมองว่าการลงทุนจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา โดยให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความทันสมัยของภาคและส่งเสริมการแปรรูปบรรจุภัณฑ์รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพสูง จากรายงานล่าสุดของกระทรวงเกษตร กัมพูชาได้ส่งออกกล้วยสดจำนวนกว่า 110,512 ตัน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศจีน เวียดนามและญี่ปุ่น โดยมองว่าในอนาคตมูลค่าการส่งออกกล้วยอาจจะสูงมากกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวสารภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653739/chinese-group-unveils-plan-to-invest-30m-in-banana-industry/

สปป.ลาวตั้งเป้าหมายการลงทะเบียนปุ๋ยเคมีและชีวภาพ

เจ้าหน้าที่กำลังหาทางจดทะเบียนบริษัทปุ๋ยเคมีและชีวภาพเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม ขณะนี้มีบริษัทปุ๋ยเคมีและชีวภาพเพียง 3 แห่งเท่านั้นที่จดทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย ได้แก่ Savannakhet Fertiliser Limited, Maliny Agriculture Limited, and Lao Kai Yuan Mining Limited ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาผู้ประกอบการจากต่างประเทศได้ลงทุนในด้านการเกษตรผลิตพืชเพื่อการส่งออก แต่หลายคนใช้สารเคมีจำนวนมากรวมถึงปุ๋ยซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพดินและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในท้องถิ่น นโยบายของรัฐบาลคือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้นในการผลิตพืชและส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก โรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพบางแห่งได้หยุดการดำเนินงานเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงจากการนำเข้าปุ๋ยเคมี ซึ่งอุปสรรคที่สำคัญมีตั้งแต่ความยากลำบากในการเข้าถึงการเงิน การขาดการส่งเสริมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และนโยบายภาษีที่ยืดหยุ่น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-targets-chemical-biological-fertiliser-registration-106476

อุตสาหกรรมผัก สปป.ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทาย

อุตสาหกรรมผักสปป.ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง เวทีสนทนาเรื่องผักระดับภูมิภาคหัวข้อ“ การยอมรับเพื่อสนับสนุนการแทรกแซงในเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตผักสดที่ปลอดภัยตลอดทั้งปี” ที่จัดขึ้นในเวียงจันทน์เมื่อวานนี้ งานนี้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจในประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ เทคนิค และที่เป็นประเด็นท้าทายในห่วงโซ่ผักและอุปสรรคสำคัญต่างๆ และการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการผลิตผักเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเกษตรกรและเป็นแหล่งอาหารและรายได้ และสามารถเป็นความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนได้ ที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกผักทั้งหมดเพิ่มขึ้นทุกปีแต่มีความท้าทายหลายอย่าง บางครั้งในฤดูฝนผักหลายชนิดต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสามารถในการปลูก ทั้งการเข้าถึงข้อมูลตลาดทั้งในและต่างประเทศของเกษตรกรค่อนข้างลำบาก ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น ต้นทุนแรงงาน เป็นสาเหตุให้ความสามารถในการแข่งกันกับประเทศเพื่อนบ้านลดลง ดังนั้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และภาคเอกชนต้องพัฒนานวัตกรรมการผลิตและระบบห่วงโซ่อุปทานตลอดจนการแก้ไข เพื่อให้มีผักบริโภคได้ทั้งปี

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vegetable-industry-laos-facing-several-challenges-103966