จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำสำหรับนักธุรกิจชาวเกาหลีใต้เดินทางไปยังเวียดนาม

จากรายงานของสำนักข่าว Yonhap News Agency เปิดเผยว่าสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ (Republic of Korea : ROK) มีแผนที่จะส่งนักธุรกิจจำนวนมากไปยังเวียดนามและจีนผ่านเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งแผนการดังกล่าวมาจากกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานที่จะนำนักธุรกิจจำนวน 240 คน จากบริษัท 240 แห่ง เดินทางไปยังเวียดนามผ่านเที่ยวบินเช่าเหมาลำภายในวันที่ 22 ก.ค. หลังจากการจราจรทางอากาศทั่วโลกระงับเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้น เกาหลีใต้ยังมีแผนที่จะส่งคนงานจำนวน 1,500 ไปยังเวียดนามในเดือนสิ.ค. ทั้งนี้ หลังจากที่นักธุรกิจเดินทางถึงจุดมุ่งหมายแล้ว ต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะได้รับอนุญาตเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางสุดท้าย ขณะที่ เกาหลีใต้ยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์รายใหญ่ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการค้า ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/chartered-flights-to-bring-businessmen-into-vietnam-from-rok-416340.vov

เกาหลีใต้ส่งออกไอศกรีมพุ่งไปเวียดนาม

จากรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งประเทศเกาหลีในต่างประเทศ (KOTRA) เมื่อวันที่ 19 ก.ค. เปิดเผยว่าการส่งออกไอศกรีมไปเวียดนามของเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปี 2562 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีใต้ที่เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในปี 2562 มูลค่าส่งออกไอศกรีมไปเวียดนามอยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามนำเข้าไอศกรีมจากเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 ทั้งนี้ ทางฝั่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าการเติบโตดังกว่าว เป็นผลมาจากคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี “ฮันรยู” ในแถบประเทศเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าบันเทิงและอาหาร รวมถึงเวียดนามเป็นแหล่งลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมไอศกรีม เนื่องจากรายได้เฉลี่ยของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เวียดนามยังเป็นจุดมุ่งหมายของการส่งออกไปต่างประเทศอันดับที่ 3 ของเกาหลีใต้ ในปี 2562 รองจากจีนและสหรัฐฯ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/korean-ice-cream-exports-to-vietnam-surge/178826.vnp

เกาหลีใต้ขยายวงเงินกู้ 30 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนการรับมือ COVID-19 ของเมียนมา

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีจะให้เงินกู้ยืมอุปกรณ์ฉุกเฉินสำหรับ COVID-จำนวน 19 รายการ คิดเป็นเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ จากกองทุนสหกรณ์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (ECDF) ระยะเวลาเงินกู้ 40 ปีและอัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 0.01% เงินทุนจะเป็นไปตามแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจ COVID-19 ของเมียนมา (CERP) ทั้งนี้เมียนมาและเกาหลีใต้ยังอยู่ในระหว่างการหารือเพื่อดำเนินโครงการอีก 9 โครงการด้วยเงินลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์จาก ECDF สัปดาห์ที่ผ่านมาสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวมากกว่า 50% นับตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นเวลาอย่างน้อย 18 เดือน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/korea-extends-30-million-support-myanmars-covid-19-relief-plan.html

ความคืบหน้าร่างกฎหมายภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัมพูชา มาเลเซียและเกาหลีใต้

ข้อตกลงการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนของกัมพูชากับมาเลเซียและเกาหลีใต้ใกล้ที่จะบรรลุเนื่องจากรัฐบาลได้ส่งร่างกฎหมาย DTA กับทั้งสองประเทศไปยังฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อขออนุมัติร่างกฎหมาย ตามที่รัฐบาลร่างกฎหมาย DTA กับทั้งสองประเทศได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นหลัก ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายนโยบายภาษีและความร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศ ณ กรมสรรพากรกล่าวว่า DTA ไม่เพียง แต่จะส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธุรกิจในหมู่หุ้นส่วน แต่ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อปูทางสู่การเข้าถึง ข้อตกลงการค้า (FTA) กับพันธมิตรที่มีศักยภาพ โดยบริษัท DFDL หุ้นส่วนด้านภาษีและหัวหน้าฝ่ายภาษีของกัมพูชากล่าวว่าเครือข่าย DTA ที่แข็งแกร่งนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการแข่งขันเพื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเสริมว่า DTAs จะช่วยรัฐบาลในการต่อสู้กับการพังทลายของฐานภาษีของพวกเขาโดยการจัดเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยหน่วยงานภาษีของผู้ลงนามที่เกี่ยวข้องกับ DTAs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50723892/double-tax-draft-law-with-malaysia-and-south-korea-shows-progress/

การศึกษาความเป็นไปได้ของเขตการค้าเสรีระหว่างกัมพูชากับเกาหลีใต้

กัมพูชาและเกาหลีใต้ใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) โดยการศึกษาความเป็นไปได้ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของเกาหลีใต้ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ในเมืองปูซานเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว โดยโฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าทีมผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสองประเทศได้มีการจัดการประชุมอย่างต่อเนื่องผ่านการประชุมทางไกลเนื่องจากข้อจำกัดในด้านการเดินทางในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งขั้นตอนการเจรจานี้อาจใช้เวลาตั้งแต่แปดเดือนถึงหนึ่งปีเพราะกรอบเวลาจะขึ้นอยู่กับผลการเจรจาจากรอบหนึ่งไปอีกรอบหนึ่ง แม้ว่าข้อตกลงการค้ายังไม่ได้รับการลงนามกระทรวงได้เปิดให้มีการส่งออกสินค้าบางส่วนไปยังตลาดเกาหลีใต้ผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว โดยข้อตกลงการค้าเสรีนี้จะสามารถเพิ่มโควต้าการส่งออกสินค้ามากขึ้นสู่ตลาดของเกาหลีใต้ ขณะนี้การค้าระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 36% จาก 756 ล้านดอลลาร์ในปี 2561 เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปี 2560 ตามตัวเลขของทางการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50720710/fta-feasibility-study-with-s-korea-to-conclude-in-days/

การลงทุนของเกาหลีใต้ในเมียนมาหยุดชะงักจากการระบาดของ COVID-19

ข้อมูลจากเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้กล่าวว่าการให้สินเชื่อและโครงการที่ดำเนินการโดยความร่วมมือระหว่างประเทศเกาหลีและแผนการลงทุนของบริษัทเกาหลีถูกระงับหรือเลื่อนออกไปจากวิกฤตทั่วโลก เศรษฐกิจเมียนมาอาจมีผลกระทบอย่างมากและต้องใช้เวลาอีกนานกว่าวิกฤติจะหยุดลง หากเป็นเช่นนั้นรัฐบาลเกาหลีจะทำการช่วยเหลือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้แผนการลงทุนจะได้รับผลกระทบแต่การค้าทวิภาคีจะยังคงดำเนินต่อไป เกาหลีใต้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับต้น ๆ ที่ลงทุนในเมียนมา และคิดเป็นตัวเลขการลงทุนสะสมจากประเทศเอเชียตะวันออกถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ เดือนมีนาคม 2563 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าทวิภาคีมีมูลค่าสูงกว่า 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 178 ล้านดอลลาร์และนำเข้า 158 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/south-korean-investments-myanmar-halted-pandemic.html

ตู้รถไฟจากเกาหลีใต้ถึงท่าเรือติลาว่าแล้ว

ตู้รถไฟชุดที่สองจำนวน 10 ลำจากเกาหลีใต้ที่ซื้อโดยการรถไฟแห่งเมียนมา (MR) ภายใต้เงินกู้ 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก EXIM Bank ของเกาหลีใต้มาถึงท่าเรือติลาว่าในวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่วนอะไหล่กำลังถูกส่งไปยังโรงงานขนส่งรถไฟมยิแง ซึ่งรถไฟจำถูกนำมาใช้ในเส้นทางมัณฑะเลย์ มิตจีนา ตู้ขบวนใหม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 33 คนและเริ่มให้บริการได้ในต้นเดือนมี.ค.นี้ MR ได้กู้ยืมเงิน 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเกาหลีใต้ภายใต้กองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (EDCF) และได้ลงนามในสัญญากับ บริษัท Dawonsys จากเกาหลีใต้เพื่อซื้อตู้รถไฟใหม่ 100 คัน เมียนมามีโครงการพัฒา เช่น โครงการยกระดับรางรถไฟย่างกุ้ง โครงการยกระดับรางรถไฟย่างกุ้ง – มันดาเลย์ ด้วยเงินกู้ยืมจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังจับมือกับญี่ปุ่นในการสร้างสนามบินนานาชาติหันตาวดี ทั้งนี้เมียนมาใช้เงินกู้ 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เพื่อยกระดับเส้นทางรถไฟย่างกุ้ง – มัณฑะเลย์ด้วยแผนห้าปีตั้งแต่ปี 61 ถึง ปี 66

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/ten-train-coaches-from-south-korea-arrives-in-thilawa-port

เกาหลีใต้จัดตั้งกองทุน 860 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเวียดนาม

สำนักงานเงินบำนาญแห่งชาติเกาหลี (National Pension Service) พึ่งเปิดตัวกองทุนหุ้นส่วนของกลุ่มบริษัท SK Group เกาหลีใต้ ทำให้สามารถเพิ่มเงินทุนในกลุ่มบริษัท Masan Group และ Vingroup ของเวียดนาม ซึ่งการเป็นหุ้นส่วนดังกล่าวนั้น จะทำให้บริษัท SK Group สามารถร่วมทุนกับบริษัทเวียดนามในสาขาธุรกิจใหม่และการดำเนินธุรกิจที่ดีที่สุด ผ่านการควบรวมและการซื้อกิจการในบริษัท Masan และ Vingroup โดยในช่วงเดือน พ.ค. กลุ่มบริษัท SK Group ได้ลงทุนกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อหุ้นในกลุ่มบริษัทเวียดนามข้างต้น นอกจากนี้ นโยบายใหม่ของรัฐบาลเกาหลีใต้ ระบุว่าอาเซียนและเวียดนามถือเป็นจุดมุ่งหมายของการลงทุนที่สำคัญที่สุด สำหรับสาขาธุรกิจที่นักลงทุนเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก การเงินและอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว ในส่วนของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ต้องการเงินทุนจากผู้ประกอบการเกาหลีอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rok-group-sets-up-860-mln-usd-investment-fund-for-vietnam/165908.vnp

สปป.ลาวและสาธารณรัฐเกาหลีลงนามในบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ

สปป.ลาวและสาธารณรัฐเกาหลี  ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ ซึ่งข้อมูล MOU เกี่ยวกับการบริหารจัดการท่าเรือทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางวิชาการและอาชีพ มีการลงนามในโอกาสการประชุมทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีสปป.ลาวและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี  จัดขึ้นในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ในระหว่างการประชุมทวิภาคีทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับมิตรภาพและทบทวนความร่วมมือในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการตามผลการเยือนสปป.ลาว ในการหารือทวิภาคีทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่นการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สุขภาพ การลงทุน การท่องเที่ยวและการสนับสนุนการส่งเสริม SMEs และธุรกิจที่เกิดใหม่

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos262.php

เกาหลีใต้สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของสปป.ลาว

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้กล่าวเมื่อวันอังคารว่าประเทศของเขาจะช่วยสปป.ลาวให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาค ซึ่งให้คำมั่นสัญญาในการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของความสัมพันธ์ ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมการเชื่อมโยงและเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการศึกษา ซึ่งเกาหลีใต้จะ “ร่วมมืออย่างแข็งขัน” ในความพยายามของประเทศแม่น้ำโขงในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาค ซึ่งนายกรัฐมนตรีสปป.ลาวกล่าวแสดงคาดหวังสำหรับบทบาทของเกาหลีใต้ในการพัฒนาภูมิภาคแม่น้ำโขง และการพัฒนาความร่วมมือใหม่ ๆ ที่เชื่อมโยงกับนโยบายมุ่งใต้ใหม่และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของรัฐบาลสปป.ลาว

ที่มา : http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20191126000869