เดือนเม.ย.-ก.ค. 65 เมียนมามีรายได้จากการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ทะลุกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 (วันที่ 1 เม.ย.ถึงวันที่ 31 ก.ค.2565) เมียนมามีรายได้จาการส่งออกก๊าซธรรมชาติถึง 819.503  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณการส่งออกจำนวน 77.89 ล้านกิโลกรัม โดยการส่งออกก๊าซธรรมชาติของประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่แล้วจะมาจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในเมียนมานอกชายฝั่ง 4 โครงการ ได้แก่ ยาดานา, เยดากุน, ฉ่วย และซอติก้า

ที่มา : https://english.news.cn/20220826/0dedf051781f4e5bbbf355a8fc2c2c93/c.html

หลวงน้ำทาเซ็นสัญญาสายส่งไฟฟ้า

จังหวัดหลวงน้ำทาได้ลงนามในสัญญากับ บริษัท พีที คอนสตรัคชั่น แอนด์ ทราเวล จำกัด สำหรับการก่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้า 22kW และสายส่งไฟฟ้าขนาด 0.4kW การสำรวจและออกแบบกริดเกิดขึ้นในปี 2563 และ 2565 โดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้อนุมัติโครงการภายใต้แผนการลงทุนภาครัฐ โครงการจะดำเนินการตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2569 โดยมีการชำระเงินตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2568 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างต้องปราศจากข้อบกพร่องและต้องมีใบรับรองตามสัญญา วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจะต้องขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างและมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 97.75 พันล้านกีบ ค่าก่อสร้าง 97.23 พันล้านกีบ ในขณะที่มูลค่าการจัดการโครงการอยู่ที่ 514 ล้านกีบ ตามรายงานของ Electricite du Laos (EDL) ลาวมีแผนที่จะกระชับการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน และเปลี่ยนแหล่งน้ำให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนความพยายามของประเทศในการเป็น “แบตเตอรี่พลังงานสะอาด” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากลาวยังคงปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโครงข่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยเพิ่มยอดขายไฟฟ้าให้กับประเทศอาเซียนอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2564-2568 รัฐบาลมีแผนจะผลิตไฟฟ้า 1,807 เมกะวัตต์ โดยไฟฟ้าพลังน้ำคิดเป็นร้อยละ 57 ของทั้งหมด ไฟฟ้าจากถ่านหินร้อยละ 19 และพลังงานแสงอาทิตย์ร้อยละ 24

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Luang124.php

สปป.ลาวมอบสัมปทาน 25 ปีให้ บริษัท จีนจัดการ Power Grid

Électricité du Laos Transmission Company Ltd.  ในนามตัวแทนรัฐบาลสปป.ลาวและ China Southern Power Grid Company ได้ลงนามในข้อตกลงสัมปทาน 25 ปีซึ่งอนุญาตให้ บริษัท สร้างและจัดการโครงข่ายไฟฟ้ารวมถึงการส่งออกไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันและหนี้สินจำนวนมหาศาลทำให้รัฐบาลลาวไม่มีความสามารถในการจัดการและดำเนินการเครือข่ายสายไฟฟ้า ดังนั้นรัฐบาลจึงตัดสินใจอนุญาตให้ชาวจีนซึ่งมีคามแข็งแกร่งด้านการเงิน ความสามารถทางเทคโนโลยีและกำลังคนเข้ามารับช่วงต่อเพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://www.voanews.com/east-asia-pacific/laos-grants-25-year-concession-chinese-company-manage-power-grid

EDL-T เซ็นสัญญาสัมปทานกับรัฐบาล

Electricite du Laos Transmission Company Limited (EDL-T) ซึ่งเป็น บริษัท ร่วมทุนระหว่าง China Southern Power Grid (CSG) และ Electricite du Laos (EDL) ได้ทำสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลซึ่งถือเป็นก้าวต่อไปในความร่วมมือด้านการส่งไฟฟ้าระหว่างจีนและสปป.ลาว ข้อตกลงดังกล่าวอนุญาตให้ EDL-T ภายใต้การดูแลของรัฐบาลสปป.ลาวทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติ เพื่อลงทุนสร้างและดำเนินการโครงข่ายไฟฟ้า 230kV ขึ้นไปในสปป.ลาว และดำเนินโครงการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าระหว่างสปป.ลาวและประเทศเพื่อนบ้าน EDL-T จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสปป.ลาวและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยการส่งไฟฟ้าที่ปลอดภัยมั่นคงและยั่งยืน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EDL_51.php

โรงไฟฟ้า 2 แห่งในสปป.ลาวมีแผนที่จะขายไฟฟ้าให้กัมพูชา

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่งจะเริ่มในปลายปีนี้ในแขวงเซกองทางตะวันออกเฉียงใต้ของสปป.ลาวซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งแรกจะสร้างโดย บริษัท โฟนแซคกรุ๊ป จำกัด มีกำลังผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 1,800 เมกะวัตต์ โรงงานดังกล่าวบริษัท โฟนแซคกรุ๊ป จำกัด จะลงทุนประมาณ 3-4 พันล้านเหรียญสหรัฐในโรงไฟฟ้ารวมถึงการสร้างสายไฟเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกัมพูชา ส่วนโรงไฟฟ้าแห่งที่สองจะสร้างโดยบริษัทจากจีน มีแผนจะลงทุนมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ไม่ได้สร้างสายกระแสไฟฟ้าแต่ซึ่งจะร่วมมือกับElectricite du Laos (EDL) ในการส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปยังกัมพูชา โดยโรงงานแห่งที่สองมีกำลังผลิตไฟฟ้า 700 เมกะวัตต์ กระแสไฟฟ้ากว่า 600 เมกะวัตต์ จะถูกส่งออกไปยังกัมพูชา เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ กล่าวว่าโรงงานเหล่านี้จะเปิดดำเนินการและเริ่มส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกัมพูชาในปี 2568 ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในแขวงและภาพเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Two25.php

โรงไฟฟ้าสองแห่งในกันดาลของกัมพูชาเรื่องผลิตกระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลขนาดใหญ่ในจังหวัดกันดาลได้เริ่มเดินเครื่องยนต์ สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับกริดแห่งชาติ ตามข้อมูลของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยเครื่องยนต์ของโรงไฟฟ้ารวมกันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งเริ่มผลิตไฟฟ้าไปเมื่อต้นเดือน ม.ค. ผู้อำนวยการใหญ่ด้านพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวโรงงานดังกล่าวได้เริ่มผลิตไฟฟ้าแล้ว แต่ยังไม่สามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังการผลิตที่ 400 เมกะวัตต์ โดยการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าเริ่มในเดือนตุลาคม 2019 ประกอบด้วยโรงงานสองแห่ง แห่งแรกใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย บริษัท Wartsila ของฟินแลนด์ และได้รับการพัฒนาโดยบริษัท CGGC-UN Power Co. จากจีน ส่วนโรงงานแห่งที่สองใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย Man Group ของเยอรมนี สร้างโดย China National Heavy Machinery Corp (CHMC) ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 380 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลให้กู้ยืม 300 ล้านดอลลาร์ และส่วนที่เหลือมาจากเงินกองทุนของ EDC โดยในปี 2019 กัมพูชาใช้พลังงานทั้งหมด 12,014.59 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803643/two-power-plants-in-kandal-start-their-engines/

กัมพูชาวางโครงการสายส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อทำการนำเข้าพลังงานไฟฟ้า

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน (MME) ระบุว่าการก่อสร้างสายส่งกำลังไฟฟ้ามูลค่ารวมกว่า 400 ล้านดอลลาร์ที่เชื่อมระหว่างกัมพูชากับสปป.ลาวและชายแดนไทยจะแล้วเสร็จในปีหน้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน โดยรัฐบาลผ่านคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการลงทุนสายส่งกำลัง 500 กิโลโวลต์ จากพนมเปญไปยังชายแดนกัมพูชา-สปป.ลาวและสายส่งกำลังอีก 500 กิโลโวลต์จากพระตะบองถึงชายแดนกัมพูชา-ไทย ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพลังงานของ MME กล่าวว่ารัฐบาลได้เชิญ SchneiTec Co Ltd. เข้าลงทุนใน 2 โครงการนี้หลังจากที่ได้เสนอให้บริษัททำการศึกษาทางเทคนิคและการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมก่อนหน้านี้ โดยกล่าวว่าสายส่งกำลังที่เชื่อมต่อไปยังชายแดน สปป.ลาว จะมีความยาว 300 กม. และอีกสายหนึ่งจากจังหวัดพระตะบองถึงชายแดนไทยจะอยู่ที่ประมาณ 110 กม. ซึ่งกัมพูชาคาดว่าจะนำเข้าไฟฟ้าประมาณ 300 mW จากโรงงานในเฟสแรกภายในปี 2025 และอีก 300 mW ในปีต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50777612/400-million-transmission-line-to-bring-in-laos-thailand-power/

เวียดนามจะซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากเพื่อนบ้านรวมถึงลาว: รายงาน

เวียดนามคาดว่าจะซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว กัมพูชาและจีนเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศ นับจากนี้จนถึงปี 2573 เวียดนามอาจซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาว 14GW (14,000MW) จากจีน 3.8GW และ 4GW จากกัมพูชาตามรายงานของไซง่อนไทม์ส กระทรวงพลังงานและการเหมืองแร่ของสปป.ลาวกล่าวว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อที่จะวางแผนเพิ่มการนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาว 5,000 เมกะวัตต์ในปี 2569-2573 ไฟฟ้าส่วนใหญ่นำเข้าจากพื้นที่ทางตอนเหนือ – กลางภาคกลางและพื้นที่ที่ราบสูงตอนกลาง โดยคาดว่าภูมิภาคเหล่านี้จะขาดแคลนไฟฟ้าหลังปี 2568 ทำให้รัฐบาลเวียดนามเพิ่มแหล่งจ่ายไฟจากภาคใต้และจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งหนึ่งในปัญหาของการขาดแคลนไฟฟ้ามาจากการขาดแคลนน้ำที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้านั้นเอง เวียดนามเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่สปป.ลาวขายไฟฟ้าให้เยอะที่สุด ปริมาณไฟฟ้าที่สปป.ลาวส่งออกในช่วง 5 ปีตั้งแต่ปี 2559-2563 สูงถึง 129,605 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงมูลค่า 7,203 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 164 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ จุดนี้เองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สปป.ลาวหันมามุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อก้าวสู่การเป็น แบตเตอรี่แห่งเอเชี่ยตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vietnam_195.php

Electricite du Laos องค์กรรัฐวิสาหกิจกำลังศึกษาโครงสร้างราคาไฟฟ้าใหม่

Electricite du Laos ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกำลังศึกษาโครงสร้างราคาที่เป็นไปได้สำหรับการใช้ไฟฟ้าในช่วงปี 2564-2568 เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคาของไฟฟ้ามีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้ต้นทุนด้านไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คุณจันทบุญ สุกะลุนกรรมการผู้จัดการ EDL กล่าวในงานสัมมนาที่จัดขึ้นในเวียงจันทน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “บริษัทกำลังประสบกับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจของเราสูญเสียเงินอย่างน้อย 10 ปีที่ผ่านมา จากปัญหาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงถึง 880 กีบต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง การสูญเสียนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของ EDL” ปัจจุบันผู้บริโภคที่ใช้พลังงานอย่างน้อย 150 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน การศึกษาถึงโครงสร้างราคาเพื่อหาระดับราคาที่เหมาะสมจึงเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือภาคธุรกิรวมถึงประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Electricity_194.php

กฟผ. เดินหน้า ตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้า ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียน

ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานว่า วันนี้ (29 กันยายน 2563) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการศึกษาการพัฒนาความพร้อมเพื่อรองรับตลาดซื้อขายไฟฟ้าในระดับขายส่งฉบับที่ 2 โดยในระยะแรก กฟผ. มีแผนจัดตั้งตลาดซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย ตลาดซื้อขายไฟฟ้าล่วงหน้าหนึ่งวัน (Day-Ahead Market) และตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างวัน (Intraday Market) โดย กฟผ. จะเป็นผู้จัดทำกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้า ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบซื้อขาย เมื่อตลาดซื้อขายพลังงานไฟฟ้าทั้งสองมีเสถียรภาพและสภาพคล่องแล้ว อาจพิจารณาให้มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายกำลังการผลิตไฟฟ้า (Capacity Market) “การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการนำผลการศึกษาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฟผ. ศึกษาร่วมกันในระยะเวลา 1 ปี มาพัฒนาต่อยอด โดยที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ การส่งมอบ การชำระราคาหลักทรัพย์ และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง“

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-529078