ทางการกัมพูชาพร้อมเสนอนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาผ่าน ครม.

กระทรวงพาณิชย์พร้อมนำส่งร่างนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติประจำปี 2023-2028 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการพิจารณา นำโดย Pan Sorasak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ซึ่งได้เปิดเผยแผนดังกล่าวในระหว่างการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา หากเมื่อนำนโยบายดังกล่าวมาใช้แล้วเชื่อว่าจะนำไปสู่การส่งเสริมและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสิทธิของเจ้าของผลงาน ตราสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของกัมพูชา รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลของกัมพูชา นอกจากนี้รัฐมนตรีฯ ยังแนะนำให้ NCIPR รับรองร่างกฤษฎีกาย่อยที่ครอบคลุมสำหรับการดำเนินการตามนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อนำมาใช้ต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501317275/national-intellectual-property-policy-ready-for-council-of-ministers-review/

‘RCEP’ ถกเข้ม เร่งติดตามการดำเนินงาน หนุนผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ คาดสมาชิก 15 ประเทศ พร้อมใช้ความตกลงปีนี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยผลการประชุมคณะกรรมการร่วม RCEP ครั้งที่ 3 เร่งติดตามการดำเนินงานตามพันธกรณีความตกลง RCEP ทั้งการปรับโอนพิกัดศุลกากร การจัดตั้งหน่วยงานสนับสนุน การจัดสรรงบประมาณ คาดสมาชิก 15 ประเทศ พร้อมใช้ความตกลงปีนี้ เดินหน้าหาแนวทางสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจผ่านแผนงาน มุ่งเน้นทั้งการค้าสินค้า บริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ สำหรับในช่วง 11 เดือน (ม.ค. – พ.ย. 2565) มีการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง RCEP เพื่อส่งออกไปตลาด RCEP มูลค่า 919.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการส่งออกไปเกาหลีใต้มากที่สุด รองลงมา คือ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และนิวซีแลนด์ สำหรับสินค้าส่งออกที่ขอใช้สิทธิ์ RCEP สูงสุด อาทิ น้ำมันหล่อลื่น ปลาทูน่ากระป๋อง มันสำปะหลังเส้น ทุเรียนสด และเลนส์สำหรับกล้องถ่ายภาพ

ที่มา : http://www.acnews.net/detailnews.php?news_id=N256674555

การลงทะเบียนเครื่องหมายการค้าในกัมพูชาอยู่ที่ 9,288 ราย ในปี 2022

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา รายงานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในช่วงปี 2022 ที่จำนวน 9,288 ราย ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งออกเป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านระบบภายในประเทศอยู่ที่ 4,196 รายการ ลดลงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปี 2021 ขณะที่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านระบบระหว่างประเทศที่เรียกว่า Madrid System มีอยู่ที่จำนวน 5,092 รายการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งผู้จดทะเบียนโดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ในการคุ้มครองผู้บริโภค การควบคุมและปราบปรามการปลอมแปลงสินค้าและบริการทุกประเภท

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501230307/cambodia-trademark-registration-at-9288-in-2022/

สปป.ลาวเร่งการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เมื่อวันที่ 19 ม.ค.มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและความคืบหน้าในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังพยายามใช้ความรู้ทางปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อมาช่วยพัฒนาด้านการผลิตให้สปป.ลาวสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศโดยปัจจุบันรัฐบาลสปป.ลาวได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากระทรวงได้ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือด้านการระดมทุนและการแลกเปลี่ยนบุคลากรในสาขานี้ซึ่งบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการประดิษฐ์และนวัตกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติห้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาของประเทศในปีนี้กลยุทธ์ของกระทรวงจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความคิดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ชนบทเพื่อสร้างรากฐานที่ดีในการพัฒนาด้านนี้ต่อไปอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/ministry-pursues-technological-development-112280