เวียดนามเผยรายการสินค้าส่งออก 23 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าสินค้าส่งออกทั้งหมด 23 รายการที่มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งสินค้าส่งออกดังกล่าว ประกอบด้วยโทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, เครื่องจักร, ชิ้นส่วนอะไหล่, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้, ยานพาหนะและชิ้นส่วน, อาหารทะเล, เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น สำหรับภาคเศรษฐกิจในประเทศยังคงมีแนวโน้มสดใส ด้วยมูลค่าการส่งออกรวม 50.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในขณะเดียวกัน ภาคการลงทุนจากต่างชาติ ลดลงร้อยละ 5.7 มูลค่า 95.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (65.2% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) ทั้งนี้ สำนักงานนำเข้าและส่งออก ระบุว่ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนในการบริหารองค์กรควบคู่กับดิจิทัล

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/23-commodities-see-exports-reach-over-us1-billion-each-416715.vov

ดัชนี CPI เวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน ก.ค.

จากรายงานเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน และร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสินค้าโภคภัณฑ์หลัก 9 จาก 11 รายการที่ราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.91 ขณะเดียวกัน ที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.47, วัฒนธรรม บันเทิงและการท่องเที่ยว (0.3%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.17%) แต่ราคาในภาคร้านอาหารและงานบริการ รวมถึงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.18 และ 0.02 ตามลำดับ ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น เกิดจากราคาน้ำมันเบนซิน ก๊าซ ไฟฟ้าและน้ำที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับราคาทองคำในประเทศอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านด่ง (2,160 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตำลึง ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสด พลังงาน บริการสุขภาพและการศึกษา) ในเดือนกรกฎาคมและช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.31 และ 2.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/770319/consumer-price-index-up-04-per-cent-in-july.html

สนามบินนานาชาติย่างกุ้งขยายการระงับการให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ

รัฐบาลย่างกุ้งขยายการระงับการให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เพื่อป้องกันและควบคุมไวรัส COVID-19 ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาและกรมการบินพลเรือนได้สั่งห้ามทำการบินขาเข้าระหว่างประเทศชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2563 เนื่องจากร้านค้าทั้งหมดในสนามบินนานาชาติย่างกุ้งถูกปิดในช่วงการระบาดของ COVID-19 รัฐบาลจึงได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเช่าของร้านค้า นอกจากนี้ยังตัดเงินเดือนพนักงานสนามบินเพื่อความอยู่รอดในระยะยาว จากเที่ยวบินผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศถูกห้ามจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 จำนวนผู้ใช้เที่ยวบินลดลงเป็นสองเท่าตั้งแต่ต้นกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นมา

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/ygn-airport-extends-suspension-on-operation-of-international-flights

มาตรการป้องกัน COVID-19 ในสปป.ลาวยังคงอยู่

รองประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุม COVID-19 กล่าวว่าการระงับเที่ยวบิน และและการบังคับใช้มาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1-31ส.ค ทั้งนี้การแก้ไขของมาตรการจะได้รับการพิจารณาหลังจากเดือนสิงหาคม ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลได้ยกเลิกมาตรการควบคุมจำนวนมากที่กำหนดภายใต้คำสั่งของนายกรัฐมนตรีหมายเลข 06 หลังจากที่ไม่มีการบันทึกผู้ป่วย COVID-19 ใหม่เป็นเวลาหลายเดือน การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ได้รับการยืนยันทั่วโลกทำให้เกิดความท้าทาย มาตรการที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1-31 ส.ค.คือ ปิดสถานบันเทิงคาราโอเกะและร้านเกม  ปิดด่านชายแดนแบบดั้งเดิมและท้องถิ่นยกเว้นที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลในการขนส่งสินค้า ด่านระหว่างประเทศยังคงปิดให้บริการสำหรับนักเดินทางทั่วไปยกเว้นการข้ามที่จำเป็นสำหรับชาวสปป.ลาวและชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการเฉพาะกิจ อนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าผ่านด่านระหว่างประเทศตามปกติ ระงับการออกวีซ่าท่องเที่ยวหรือเยี่ยมชมสำหรับผู้ที่เดินทางมาหรือเดินทางผ่านประเทศที่มีการระบาดของ COVID-19 นักการทูตต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน นักธุรกิจบุคลากรด้านเทคนิคและคนงานที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจสามารถเข้าประเทศได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะทำงานเฉพาะกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_COVID147.php

กัมพูชาวางแผนการตลาดด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดแกบ

กัมพูชาวางแผนด้านการท่องเที่ยวในช่วงปี 2020-2024 เพื่อจะเปลี่ยนจังหวัดแกบเมืองชายฝั่งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา โดยจะขยายศักยภาพของจังหวัดแกบ ให้ครอบคลุมในทุกด้าน รวมถึงทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านการท่องเที่ยวและบริการ ไปจนกระทั่งทรัพยากรที่นอกเหนือจากกลุ่มตลาดภายในประเทศ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินการสำเร็จลุล่วงได้จำเป็นต้องมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในจังหวัดแกบ ซึ่งทางรัฐมนตรีสนับสนุนให้คนทุกกลุ่มร่วมมือกันในด้านการสนับสนุนการเปิดตัวของแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และยกระดับด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดแกบให้ไปอีกระดับหนึ่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50750089/keps-tourism-marketing-plan-on-its-way/

มูลค่าการส่งออกกัมพูชาเพิ่มขึ้น สวนทางการนำเข้าที่ลดลง

มูลค่าการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 8.1 พันล้านล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 1 ในช่วงเวลาเดียวกัน จากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ (MFAIC) ซึ่งมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงเป็นผลมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในเดือนมีนาคม (0.4%) และการเติบโตติดลบในเดือนเมษายน (13.9%) และพฤษภาคม (26.5%) ขณะที่การนำเข้าสินค้าสำคัญลดลงโดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (โดยเฉพาะผ้า) และเครื่องจักรกล โดยการส่งออกของกัมพูชายังคงรักษาระดับการเติบโตที่ดีแม้ว่าประเทศคู่ค้าทั่วโลกจะเผชิญกับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งการเติบโตมาจากการส่งออกที่ขยายตัวสูงในเดือนมกราคม (25.4%) และกุมภาพันธ์ (22.8%) และพฤษภาคม (25.3%) โดยการเจริญเติบโตของการส่งออกมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 45 จักรยานร้อยละ 18 ข้าวร้อยละ 29 และผลิตภัณฑ์อื่นๆร้อยละ 30

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50749966/exports-rise-in-value-lower-imports/

อาเซียน-ญี่ปุ่น จับมือฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด พร้อมบรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนฉบับใหม่เริ่ม 1 สิงหา

นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ว่าด้วยการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงการเป็นห่วงโซ่การผลิตที่สำคัญของภูมิภาคและของโลก ดังนั้นที่ประชุมจึงร่วมกันรับรองแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเป็นรูปธรรม โดยแผนดังกล่าวมุ่งเน้นเป้าหมาย 3 ประการ คือ รักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างกัน บรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ กว่า 50 โครงการ เช่น มุ่งให้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ภายในปีนี้ เร่งส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และเคมีภัณฑ์ ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี พัฒนาการค้าดิจิทัลระดับภูมิภาค ผลักดันการใช้เทคโนโลยีในการเสริมสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพของธุรกิจ MSMEs เป็นต้น

ที่มา : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2286193