เวียดนามส่งออกข้าวพุ่งไปยังจีน ในไตรมาสแรก

จากรายงานของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกข้าวไปยังจีนเพิ่มขึ้น 4 เท่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปริมาณส่งออก 162,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของปริมาณการส่งออกรวม โดยเฉพาะที่จีนนำเข้าข้าวจากเวียดนามส่งผลให้ราคาซื้อสูงสุด ปัจจุบันราคาส่งออกข้าวไปยังจีนเฉลี่ยอยู่ที่ 12.7 ล้านด่องต่อตัน เพิ่มขึ้นกว่า 1.7 ล้านด่องต่อตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากราคาข้าวนำเข้าของเพื่อนบ้านทางตอนเหนือสูงกว่าฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นผู้บริโภคข้าวเวียดนามรายใหญ่ ทั้งนี้ ยอดนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม เนื่องจากจีนเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/exports-of-rice-to-china-skyrocket-in-q1-412752.vov

รัฐบาลคาดการณ์การฟื้นตัวในรูปแบบ V-shaped สวนทางกับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชามองโลกในแง่ดีว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเห็นการเติบโตในรูป V-shaped หลังจากการระบาดของ Covid-19 ในทางตรงข้ามกับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจกลับมองว่าการฟื้นตัวจะอยู่ในรูป U-shape ซึ่งในแง่เศรษฐกิจผู้เชี่ยวชาญธุรกิจและ Bloomberg.com อธิบายการกู้คืนในรูปแบบ V-shaped ว่าเป็นวิถีการเคลื่อนที่ซึ่งการฟื้นตัวจะรวดเร็ว แต่นักวิจัยด้านธุรกิจหลายคนเตือนว่าการฟื้นตัวมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในรูปแบบ U-shaped ซึ่งหมายความว่าอาจใช้เวลาถึงสองปีในการฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารโลกและ ADB คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของกัมพูชาจะชะลอตัวลงราว 2.5% และ 2.3% ในปีนี้ตามลำดับอันเป็นผลมาจากการระบาดโดยตรง ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปี 2563 ของกัมพูชาจะหดตัวถึง -1.7% ในปีนี้ อย่างไรก็ตามอัตราการเติบโตจะฟื้นตัวเป็น 5.9% ในปี 2564 ภายใต้สถานการณ์พื้นฐานตามรายงานของธนาคารโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50714665/govt-predicts-v-shaped-recovery-economic-experts-disagree/

กัมพูชาส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น 10% ในไตรมาสแรง

การส่งออกยางของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 10% ในไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงลดลงเล็กน้อยตามรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง โดยตัวเลขแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมกัมพูชาส่งออกยาง 53,057 ตันเพิ่มขึ้น 10% โดยมีราคาเฉลี่ย 1,397 เหรียญสหรัฐต่อตันลดลง 1.2% ซึ่งรวมแล้วภาคดังกล่าวมีรายได้ประมาณ 74 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว ถึงแม้จะมีปริมาณการส่งออกลดลง 15% ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับกุมภาพันธ์จาก 12,913 ถึง 11,751 ตัน เป็นผลมาจากการหยุดชะงักในด้านการค้าข้ามพรมแดนในการตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19 รวมถึงรองประธานของ An Mady บริษัท ที่เป็นเจ้าของสวนยางและส่งออกผลิตภัณฑ์กล่าวว่าการชะลอตัวของการส่งออกส่วนใหญ่จะลดลงตามคำสั่งซื้อที่ลดลงจากผู้นำเข้ารายใหญ่

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50714831/rubber-exports-up-by-10-percent-in-q1/

ผลกระทบ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจมัณฑะเลย์

ธุรกิจจำนวนมากในมัณฑะเลย์ที่เชื่อมโยงกับการค้าชายแดนระหว่างอินเดียและจีนชะลอตัวหรือเกือบหยุดชะงักเนื่องจากการระบาดของโรคโคโรนาไวรัสและอาจใช้เวลานานในการฟื้นตัวจากสภาวะตลาดที่ซบเซา หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งมัณฑะเลย์ (MRCCI) เผยว่ารัฐบาลระดับภูมิภาคมีกองทุนประมาณ 2.5 พันล้านจัต สำหรับการจัดการปัญหาในการระบาดครั้งนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/hard-times-ahead-mandalay-economy-due-virus-observers-say.html

จุรินทร์ เตรียมนัดหารือภาคเอกชนฟื้นเศรษฐกิจหลัง โควิด-19

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีกำหนดการที่จะพบปะกับภาคเอกชนผู้ผลิตสินค้าและธุรกิจบริการ เพื่อหารือถึงการเตรียมพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ทั้งภาคการผลิต การตลาด การค้าในประเทศ และการส่งออกต่างประเทศ ในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยนายจุรินทร์รีจะไปรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการทำงานกับภาคเอกชนเป็นรายอุตสาหกรรม ก่อนที่จะนำมาประมวลผลและจัดทำมาตรการเชิงรุกในการขับเคลื่อนต่อไป สำหรับกำหนดการพบปะกับภาคเอกชนครั้งต่อไป กำหนดไว้วันที่ 22 เม.ย. 2563 จะหารือกับกลุ่มผู้ผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป เช่น สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บมจ.เบทาโกร บมจ.จีเอฟพีที และสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต การค้าภายในประเทศและ การส่งออก เพราะเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีความต้องการของผู้บริโภค และมีโอกาสในการขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น การณ์ข้าว ทั้งข้าวสาร ข้าวสารบรรจุถุง และข้าวส่งออก เพื่อบริหารจัดการให้เกิดความสมดุล ทั้งการบริโภคในประเทศและการส่งออกแล้ว ส่วนสินค้าตัวถัดมา จะนัดหารือกับกลุ่มผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กลุ่มผักผลไม้ เช่น สับปะรด ข้าวโพดหวาน ทูน่า อาหารทะเล เครื่องดื่มและนม ในวันที่ 23 เม.ย.2563 และจะเชิญเกษตรกรจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์และสมุทรสงคราม มาร่วมหารือด้วย ที่โรงงานเทพผดุงพร ซึ่งผลิตน้ำมะพร้าวและกะทิ ที่พุทธมณฑลสาย 4 โดยต้องการที่จะประเมินสถานการณ์การผลิตและการส่งออก และต้องการให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเหลือ ในด้านไหน เพื่อที่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากนั้น ได้นัดหารือกับสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง ณ ห้องประชุมโรงงานอาหารทะเล Sea Value ณ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต การตลาด และการส่งออก ร่วมกับเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ส่งออก เพื่อที่กระทรวงพาณิชย์จะได้เข้าไปช่วยเหลือและช่วยผลักดันให้มีการส่งออกได้เพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันสินค้าอาหารทะเลของไทย มีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในวันที่ 27 เม.ย.2563 ได้นัดหารือกับกลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งที่ขายสินค้าในประเทศ และต่างประเทศ ที่กระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือในการใช้ช่องทางออนไลน์ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ผู้ผลิตสินค้าชุมชน สินค้าโอทอป ไปจนถึงผู้ผลิต ผู้ส่งออก ให้มีโอกาสในการขายสินค้าทางออนไลน์ ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876987?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic