ธุรกิจสิงคโปร์ค้นหาซัพพลายเออร์สินค้าเกษตรจากเวียดนาม

คณะผู้แทนจากสิงคโปร์เข้าเยี่ยมชมเวียดนาม ในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อค้นหาซัพพลายเออร์ผักและผลไม้และเน้นในการร่วมมือธุรกิจ ตลอดจนการถ่ายทอดโอนเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าเกษตร เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดการนำเข้าจากจีนลดลง ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MOIT) ระบุว่าปัจจัยข้างต้นอาจจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมของเวียดนามจากการแพร่ระบาดชองไวรัส ทำให้ภาคธุรกิจของสิงคโปร์ต้องหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม เพื่อรองรับทางการค้าหยุดชะงักกับจีน ประกอบกับสิงคโปร์เป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร ด้วยโอกาสนี้ เวียดนามขยายการส่งออกผักผลไม้ไปยังสิงคโปร์และลดการค้ากับจีน นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติศุลกากร แสดงให้เห็นว่าในเดือนม.ค. มีมูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนก่อนหน้า สำหรับตลาดนำเข้าผักผลไม้รายใหญ๋ที่สุดของเวียดนาม ได้แก่ จีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.8 ของมูลค่าส่งออกผักผลไม้ทั้งหมด แต่ในเดือน ม.ค. มูลค่าการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 32.4 ด้วยมูลค่า 173.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/622670/singapore-firms-seek-suppliers-of-agricultural-products-in-viet-nam.html

EXIM BANK สนับสนุนทางการเงินแก่ธนาคารชเว ส่งเสริมผู้ประกอบการเมียนมานำเข้าสินค้าไทย

นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ (ที่ 3 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ ดร.ลา ตาว (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารชเว (Shwe Bank) ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK สำหรับให้ธนาคารชเวนำไปใช้สนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการเมียนมาที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้การค้าไทย-เมียนมามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยมี ดร.เตง ซอ (กลาง) รองประธานบริหาร ธนาคารชเว เป็นสักขีพยาน ณ ธนาคารชเว สำนักงานใหญ่ ย่างกุ้ง เมียนมา เมื่อเร็ว ๆ นี้

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3098728

เมียนมากำหนดเป้าหมายผลิตไฟฟ้ารองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

การกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานลงทุนประมาณ 1.2 ล้านล้านจัต เพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม 700 เมกะวัตต์สำหรับความต้องการพลังงานในประเทศ ปัจจุบันผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 700 เมกะวัตต์เพิ่มเติมและมีแผนผลิตเพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ภายในกลางปีนี้ ได้การอนุมัติให้กับบริษัทต่างประเทศ 6 แห่งเพื่อผลิตพลังงานเพิ่มเติม โดยลงทุน 6.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อผลิตเกือบ 4,000 เมกะวัตต์จากโครงการก๊าซธรรมชาติและพลังงานน้ำ นอกเหนือจากพลังงานจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานน้ำแล้วยังมีการเตรียมการเพื่อพัฒนา 40 เมกะวัตต์จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใน Minbu และอีก 50 เมกะวัตต์ จากสองพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาสายไฟฟ้าข้ามพรมแดนเพื่อให้ได้ 1,000 เมกะวัตต์อีกด้วย ปัจจุบันโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติของเมียนมาได้จัดหาพลังงานให้กับ 368 เมืองและ 16,000 หมู่บ้าน ปี 62 ร้อยละ 50 ของประเทศสามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้และมีแผนเพิ่มการเข้าถึงไฟฟ้า 55%  ในปี 64, 75% ในปี 68 และ และ 100% ในปี 73 ซึ่งมีการจัดสรรงบประมาณ 2.3 พันล้านจัต และ 1.3 พันล้านดอลลาร์จากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เมื่อรัฐบาลนี้เข้ารับตำแหน่งมีเพียง 34% ของประเทศเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงกริดแห่งชาติ แต่ตอนนี้ได้เพิ่มเป็น 50%

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-sets-goal-generating-more-electricity-meet-demand.html

ตลาดหลักทรัพย์เมียนมาอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าซื้อหุ้นในประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งเมียนมา (SECM) จะอนุญาตให้ชาวต่างชาติทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) เริ่มมีนาคมนี้ โดยชาวต่างชาติและนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศจะได้รับอนุญาตให้ลงทุน 35% ของหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนใน YSX เชื่อว่าการมีส่วนร่วมของชาวต่างชาติในตลาดหุ้นจะเติบโตมากขึ้น ปัจจุบันมีบริษัท 5 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประกอบด้วย  First Myanmar Investment, Myanmar Thilawa SEZ Holdings, Myanmar Citizens Bank, First Private Bank และ TMH Telecom. ปัจจุบัน SECM กำลังเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ YSX มีมูลค่าตลาดมากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ เปิดตัวในเดือนธันวาคม 58 และเริ่มซื้อขายตั้งแต่เดือนมีนาคม 59

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/foreigners-cleared-trade-stock-market-next-month.html