อุตสาหกรรมบริการ สปป.ลาวกับความท้าทายในการทำธุรกิจ

ในการเตรียมการสำหรับthe 13th Lao Business Forum (LBF)สำนักเลขาธิการ LBF ได้จัดประชุมคณะทำงานภาคเอกชนครั้งแรกของปีนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายที่ภาคเอกชนต้องเผชิญในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาที่ภาคธุรกิจบริการระบุว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ขั้นตอนการจดทะเบียนองค์กร การอนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจและการคืนภาษี การประชุมคณะทำงานของภาคเอกชนเริ่มต้นกระบวนการเจรจาระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนภายใต้กลไก LBF ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่ากฎหมายจะถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสะดวกในการทำธุรกิจ จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชนผ่านการปรับปรุงภาพรวมธุรกิจในสปป.ลาว ในท้ายที่สุดมันจะช่วยรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยหนึ่งในนั้นคือสปป.ลาวหลุดพ้นออกจากสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/service-industry-discusses-challenges-doing-business-113783

กัมพูชาลดการพึ่งพาการนำเข้าปูนซีเมนต์จากต่างประเทศ

รายงานจากกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานระบุว่าโรงงาน 4 แห่งในกัมพูชาผลิตซีเมนต์ได้ 7.89 ล้านตันในปี 2562 ทำให้ประเทศสามารถลดปริมาณการนำเข้าที่ป้อนให้แก่ภาคการก่อสร้างที่กำลังเฟื่องฟู โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชารายงานภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคและการธนาคารประจำปี 2562 และ 2563 ระบุว่าในปี 2562 มีการนำเข้าปูนซีเมนต์มูลค่ามากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 90 ล้านสหรัฐในปี 2561 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วการเติบโตของภาคการก่อสร้างส่งผลให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างรวมถึงปูนซีเมนต์ซึ่งกัมพูชาต้องนำเข้ามารองรับความต้องการใน อย่างไรก็ตามเนื่องจากภาคการก่อสร้างที่เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ปูนซีเมนต์ที่ผลิตในประเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มที่จึงจำเป็นต้องทำการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยจำนวนโครงการก่อสร้างทั้งหมดมีจำนวน 4,446 แห่งในปี 2562 เพิ่มขึ้น 55% จากปี 2561 จากการลงทุนมูลค่า 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 78% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวกับซีเมนต์ที่ผลิตในประเทศกว่า 8 ล้านตันกัมพูชาจะช่วยประหยัดต้นทุนการนำเข้าได้ประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690282/cambodia-reduces-reliance-on-imported-cement

เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในกัมพูชาต้องรับกับสภาวะราคายางตกต่ำ

เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราภายในประเทศกัมพูชาได้แสดงความกังวลเป็นอย่างมากต่อภาคการเพาะปลูกยางพาราในปัจจุบันในขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดพยายามดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดหลังจากราคายางตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยรองประธานของ An Mady Group บริษัทผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางอธิบายถึงปัญหาในด้านราคายางของกัมพูชาที่ราคาตกต่ำ รวมถึงยังส่งผลกระทบต่อตลาดยางในมาเลเซียและไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก โดยเน้นย้ำว่าสงครามการค้าเสรีระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทต้องจ่ายภาษีส่งออก 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ออกข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาลดอัตราภาษีปัจจุบัน ในปี 2562 กัมพูชาส่งออกยางเกือบ 300,000 ตันเพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างรายได้เกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐด้วยราคาเฉลี่ยที่ 1,336 เหรียญต่อตัน ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการกำไรจากการเพาะปลูกจำเป็นต้องขายที่ประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐต่อตัน ถึงจะเกินต้นทุนด้านการผลิต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690273/local-rubber-farmers-suffer-from-a-decade-of-low-prices

ดันไทยตั้งสถาบันฯไมซ์อาเซียน

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยในงาน MICE Standards Day 2020 ว่าอีกภารกิจสำคัญของทีเส็บนอกเหนือจากการดึงดูดงานประชุมสัมมนานานาชาติมาจัดในไทยแล้ว คือการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากล โดยวางเป้าหมายให้ไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาไมซ์แห่งอาเซียน เป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ในภูมิภาคเอเชียด้วยมาตรฐานสากล และเป็นผู้นำของการจัดงานอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย ดังนั้น ทีเส็บ จึงตั้งเป้าหมายให้ไทย จัดตั้ง “ASEAN MICE Institute” เพื่อเป็นหน่วยงาน ที่มีหน้าที่กำหนดรับรองมาตรฐานต่างๆ รวมถึง ออกแบบหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการ ไมซ์ทั้งระดับบุคคล และองค์กรให้มีศักยภาพที่แข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยทั้งนี้ในปัจจุบัน ทีเส็บพัฒนามาตรฐานต่างๆ โดยมีผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standard (TMVS) รวมทั้งสิ้น 453 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญด้านไมซ์มืออาชีพ (MICE Professionals) จำนวน 941 ท่าน MICE Coach กว่า 900 ท่าน และชมรม เยาวชนไมซ์ (Student Chapter) จำนวน 17 มหาวิทยาลัย 241 ท่าน

ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 ก.พ. 2563

โอกาสในการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคเวียดนามเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ : สัมมนา

งามสัมมนาเรื่องการส่งเสริมในการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ที่จะจัดขึ้นในวันอังคาร นครโฮจิมินห์, ผู้อำนวยการบริษัท Vietway เปิดเผยว่าบริษัทฯดำเนินการขายสินค้าเวียดนามในสหรัฐฯ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งในหลายๆประเทศทั่วโลก รวมถึงเวียดนามเห็นว่าตลาดสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกหลัก ทั้งนี้ สถานการณ์การส่งออกสินค้าเวียดนามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเน้นส่งออกสินค้าสมาร์ทโฟน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นบริษัทต่างชาติ ในขณะเดียวกัน สินค้าอุตสาหกรรมที่เจ้าของเป็นบริษัทเวียดนามได้เผชิญกับอุปสรรคจากการส่งออกในตลาดโลก ทั้งนี้ สหรัฐฯ ถือว่ามีความเข็มงวดต่อการนำเข้าสินค้า แต่ก็มีความต้องการนำเข้าสินค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสินค้าไฮเทคไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่ราคาถูก ซึ่งเป็นจุดแข็งของสินค้าเวียดนาม นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติการค้า พบว่าในสิ้นเดือนม.ค. 2563 มูลค่าส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอยู่ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592126/opportunities-to-boost-consumer-goods-exports-to-the-us-market-seminar.html