การส่งออกเพิ่มแม้เงินจัตแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

เงินจัตของเมียนมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และราคาซื้อขายอยู่ที่ 1465 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เดือนพฤศจิกายน 62 ยังอยู่ที่ 1500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ สำหรับช่วงสี่เดือนแรกของปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 62 จนถึงขณะนี้ปริมาณการส่งออกสูงถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 28% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน การนำเข้าในช่วงเวลาเดียวกันมีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 19% ต่อปี นำไปสู่ขาดดุลการค้าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันเทียบกับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความต้องการสินค้า เช่น เสื้อผ้า สินค้าเกษตร และแร่ธาตุ เนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความระมัดระวังมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ (MOC) คาดว่าการส่งออกทั้งหมดในปีนี้จะสูงถึง 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะถึง 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ 63-68 สิ่งสำคัญลำดับแรก ได้แก่ การแปรรูปเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนประกอบไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ ข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-rise-even-kyat-strengthens-against-us-dollar.html

CBM อาจลดดอกเบี้ยหากมีความจำเป็น

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นหากมีความเป็น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันคือ 10% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากขั้นต่ำตั้งไว้ที่ 8% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่ 13% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยในเมียนมาจะสูงกว่านี้มาก ขณะที่ สส.บางส่วนเห็นว่าควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้สินเชื่อในธุรกิจท้องถิ่นมีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นซึ่งจะเอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาด้านการเงินแล้ว แต่เมียนมายังไม่ถึงขั้นนั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งเมียนมา (Hluttaw) CBM จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันเพราะอยู่ในอัตราที่เหมาะสมแล้ว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/cbm-set-reduce-interest-rates-if-needed.html

การค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯแตะ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ข้อมูลการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าอยู่ที่ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐขยายตัวสูงขึ้น 40% คิดเป็น 5,356 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้าของกัมพูชาจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 15% ที่ 513 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกัมพูชาได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าในรูปแบบปลอดภาษีสำหรับการส่งออกสินค้าด้านการท่องเที่ยว เช่นกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าเป้ กระเป๋าถือและกระเป๋าสตางค์ภายใต้โครงการ Generalized System of Preferences (GSP) โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชาชื่นชมการเติบโตของการค้าและคาดว่าจะมีสินค้ามากขึ้นที่จะส่งออกไปยังตลาดสหรัฐรวมถึงเสื้อผ้า ซึ่งในปีที่ผ่านมาการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าอยู่ที่ 4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3,818 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689345/cambodia-us-trade-valued-at-5-8-billion

การส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปลดลงแต่มีแนวโน้มที่ดีในปี 2563

ข้อมูลการส่งออกข้าวสารจากกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันของข้าวในกัมพูชาลดลงมากกว่า 20% ในเดือนมกราคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากข้อมูลของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าในเดือนแรกของปีกัมพูชาได้ทำการส่งออกข้าวรวม 50,450 ตันลดลง 15% สร้างรายได้ 39 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 91% เป็นข้าวหอมและที่เหลือเป็นข้าวขาวเมล็ดยาว ซึ่งในรายงานของ CRF กล่าวว่าสหภาพยุโรปยังคงเป็นแหล่งส่งออกข้าวที่สำคัญของกัมพูชาคิดเป็น 37% ของทั้งหมดตามด้วยจีน 30%, อาเซียน 11% โดยสหภาพยุโรปเรียกเก็บภาษี 199.50 เหรียญสหรัฐต่อตันในปี 2562 ซึ่งในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมากัมพูชาเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกอยู่ที่ 7.9 ล้านตัน ในขณะที่การส่งออกข้าวสารมีปริมาณ 620,106 ตัน ลดลงจากปีก่อนประมาณ 1%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689327/kingdoms-rice-exports-to-eu-declined-through-tariffs-but-2020-outlook-good

สปป.ลาวตั้งเป้าเพิ่มแรงงานในประเทศที่มีทักษะ 83,900 คน

รัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มอย่างน้อย 83,900 คนในรายชื่อแรงงานของประเทศในปีนี้จาก 75,769 คนในปี 2562 ภายใต้แผนพัฒนาทักษะแรงงานในปี 2563 คาดว่าตัวเลขนี้จะประกอบด้วยภาคเกษตร 30,100 คน โดยภาคอุตสาหกรรม 29,600 คน และภาคบริการ 24,200 คน เมื่อปีที่ผ่านมามีคนงานเพิ่ม 75,769 คน ในภาคเกษตรรวม 19,063 คน ภาคอุตสาหกรมม 19,332 คนและภาคบริการ 37,370 คน  มีแรงงานในประเทศ 7,286 คน ขณะที่ 54,091 ไปทำงานในต่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานเร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมายและแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อเพื่อพัฒนาทักษะของแรงงานเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ ฝ่ายแรงงานและสวัสดิการสังคม วางแผนที่จะเสริมสร้างทักษะของแรรงาน 3,000 คนในปีนี้ ในปีที่ผ่านมากรมฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงทักษะของคนหนุ่มสาวที่ด้อยโอกาสและด้อยโอกาสคัดเลือกคนหางานในสปป.ลาวและประเทศอื่น ๆ และประกาศกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของแรงงาน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-aiming-add-83900-skilled-workers-labour-pool-113540