บริษัทและโรงงานกว่า 1,700 แห่งแข่งขันเพื่อขอรับการรับรอง GACC

ตามข้อมูลของแผนกการค้าในประเทศ (ทีม GACC) ขององค์กรส่งเสริมการค้าเมียนมาภายใต้กระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2021 ถึง 11 เมษายน 2025 บริษัทแปรรูปอาหารและโรงงานในเมียนมารวม 1,727 แห่งได้ยื่นใบสมัคร 3,583 ใบต่อสำนักงานบริหารศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) โดยผ่านกรมเกษตร (3,411 ใบ) กรมประมง (149 ใบ) กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ (14) และกรมอาหารและยา (9 ใบ) ตามพระราชกฤษฎีกา GACC ฉบับที่ 248 และ 249 ที่กำหนดให้ผู้ส่งออกอาหารต้องลงทะเบียน GACC เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 เป็นต้นไป เพื่อวางสินค้าของตนในตลาดจีน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการขึ้นทะเบียนกับ GACC ได้แก่ กิจการน้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดพืช ผลิตภัณฑ์ขนมอบสอดไส้ รังนกที่รับประทานได้และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชที่รับประทานได้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่สีเมล็ดพืชและมอลต์ ผักสดและแห้ง ถั่วแห้ง พันธุ์พืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟและเมล็ดโกโก้ที่ยังไม่คั่ว อาหารพิเศษเฉพาะทางที่ไม่รวมนมผง อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำรวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อาหารสัตว์ และธุรกิจปศุสัตว์ กรมเกษตร กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ กรมประมง และกรมอาหารและยา ทั้งนี้ ผู้ส่งออกสามารถเข้าถึงระบบ China International Trade Single Window ได้โดยตรงผ่าน https://cifer.singlewindow.cn เพื่อสร้างบัญชีสำหรับกลุ่มอาหารที่ไม่อยู่ใน 18 กลุ่มดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในส่วนของการขึ้นทะเบียนบริษัทผู้นำเข้านั้น กรมกักกันสัตว์และพืชภายใต้ GACC จะตรวจสอบการเข้าออกด่านกักกันสำหรับเมล็ดพืชที่นำเข้า (เมล็ดกาแฟดิบ เมล็ดโกโก้ ผักสดและอบแห้ง เครื่องปรุงรสพืช (เครื่องเทศพืช) เมล็ดพืชที่รับประทานได้ ถั่วแห้ง เมล็ดพืชน้ำมัน (พืชน้ำมัน) และผลิตภัณฑ์จากสัตว์และพืชสมุนไพรเพื่อระบุแหล่งที่มา บริษัทต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการขึ้นทะเบียนโดยตรงได้และจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนนี้ผ่านหน่วยงานที่มีอำนาจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยส่งอีเมลมาที่  dapq@customs.gov.cn  หรือยื่นจดหมายถึงสถานทูตจีนประจำเมียนมาหรือสถานทูตเมียนมาประจำประเทศจีน

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/1700-firms-factories-vie-for-gacc-certification/#article-title

ธนาคารกลางเมียนมาทุ่ม 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สู่ภาคอุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ประกาศเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมาว่า จะอัดฉีดเงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง โดยในวันดังกล่าว ธนาคารกลางเมียนมา มีการขายเงินตราต่างประเทศกว่า 319,900 เหรียญสหรัฐ และ 106,080 บาท นอกจากนี้ ยังประกาศขายเงินตราต่างประเทศ 55 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เมษายน ธนาคารกลางเมียนมามีการขายเงินตราต่างประเทศมากกว่า 2.35 ล้านบาท วันที่ 4 เมษายน ขายเงินตราต่างประเทศ 500,000 หยวน วันที่ 7 เมษายน มีการประกาศว่าจะอัดฉีดเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง  รวมทั้งมีการขายเงินตราต่างประเทศ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ และมากกว่า 6 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 10 เมษายน มีการขายเงินตราต่างประเทศเกือบ 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐ  อย่างไรก็ดี สำหรับช่วงที่ผ่านมา ในเดือนมีนาคม CBM อัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า 126 ล้านเหรียญสหรัฐ 320 ล้านบาท และ 3.6 ล้านหยวน ในเดือนกุมภาพันธ์ มีการอัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า 88 ล้านเหรียญสหรัฐ 7.5 ล้านหยวน และ 161 ล้านบาท และในเดือนมกราคมอัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า 124 ล้านดอลลาร์ 13.8 ล้านบาท และ 4.8 ล้านหยวน นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมา ยังมีเป้าหมายที่จะควบคุมความไม่มั่นคงในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการลดค่าเงิน

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/cbm-to-infuse-us25m-into-fuel-oil-industry/

MCEF เสร็จสิ้นการประเมินโครงสร้างอาคารที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวมากกว่า 200 แห่งในมัณฑะเลย์

ตามข้อมูลของสหพันธ์ผู้ประกอบการก่อสร้างแห่งเมียนมา (MCEF) ซึ่งเป็นองค์กรร่วมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร และกลุ่ม Parahita  ได้ดำเนินการสำรวจเมื่อวันที่ 6 เมษายน โดยไม่หยุดพัก และได้สำรวจบ้านเรือนไปแล้วกว่า 200 แห่ง ในมัณฑะเลย์ อย่างไรก็ดี ทีมงานคณะกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีของ MCEF มีแผนที่จะจัดการอภิปรายกลุ่มเพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับอันตรายจากแผ่นดินไหวในวันที่ 27 เมษายน 2568 โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญ 5 คนที่มีชื่อเสียงในสาขาธรณีวิทยาและวิศวกรรมเข้าร่วม ทั้งนี้ สำหรับเจ้าของบ้านที่ต้องการรับบริการในการสำรวจบ้านเรือน สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์สำนักงานภูมิภาค 09 2044142 และ 09 2027331 เพื่อลงทะเบียนกับ MCEF

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/mcef-completes-structural-assessment-of-more-than-200-quake-affected-buildings-in-mandalay/

ยอดขายอพาร์ทเมนท์สูงในย่างกุ้งลดลง

ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของย่างกุ้ง ยอดขายอพาร์ตเมนต์สูงชะลอตัวลงตามรายงานของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ หลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ชาวเมืองย่างกุ้งเริ่มรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการอาศัยอยู่ในอาคารสูง ส่งผลให้มีการซื้อขายอพาร์ตเมนต์ เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่จากสมาคมบริการอสังหาริมทรัพย์เมียนมา (กลาง) กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทำให้ผู้คนไม่กล้าอาศัยอยู่ในอาคารสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายอพาร์ตเมนต์สูงที่ชะลอตัวลง ปัจจุบัน ความสนใจของผู้ซื้อหันไปหารูปแบบการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น โดยในช่วงหลัง ผู้คนสนใจการซื้อที่ดินมากกว่าอาคารสูง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งด้วย นอกจากนี้ ผู้คนที่ต้องการอาศัยอยู่ในใจกลางเมืองอาจคิดถึงทางเลือกอื่น แต่ส่วนใหญ่จะพิจารณาอาศัยอยู่ในบ้านที่สะดวกสบายในชนบท

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/yangons-high-rise-apartment-sales-decline/

‘ผู้ส่งออกเวียดนาม’ ปรับกลยุทธ์ หลังสหรัฐฯ เลื่อนเก็บภาษีนำเข้า

สำนักข่าวเวียดนาม (VNA) เปิดเผยว่าผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมให้ความเห็นว่าการประกาศการเลื่อนการขึ้นภาษีนำเข้าไปอีก 90 วัน ของสหรัฐฯ นับเป็นช่วงเวลาสำคัญของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ต้องปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ สมาคมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ของเวียดนาม (VIFOREST) ระบุว่าการส่งออกไม้ไปยังสหรัฐฯ มีมูลค่าอยู่ที่ 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนราว 50% ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมด ถึงแม้ว่ามีการผ่อนผันชั่วคราว แต่สมาคมฯ มองว่าภาคธุรกิจยังคงต้องรอบคอมในการประกอบธุรกิจ และรักษาส่วนแบ่งการตลาด ในขณะที่สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) ได้ออกมาเตือนว่าภาษีศุลกากรอัตราใหม่ของสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของเวียดนาม เมื่อเทียบกับผู้ส่งออกไทย มาเลเซีย และอินเดีย ซึ่งล้วนได้รับประโยชน์จากภาษีศุลกากรที่ลดลง

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/vietnamese-exporters-ramp-up-strategies-amid-us-tariff-delay/

‘สหรัฐเก็บภาษีนำเข้า 542.6%’ กดดันส่งออกโซลาร์เซลล์เวียดนาม

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลังงานแสงอาทิตย์และแผงโซลาร์เซลล์ จะต้องเผชิญกับมาตรการภาษีตอบโต้ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยกัมพูชาจะถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงถึง 3,403.9% ตามมาด้วยไทย 799.5% เวียดนาม 542.6% และมาเลเซีย 168.8% และกลุ่มประเทศเหล่านี้ คิดเป็น 77% ของการนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ ในปี 2567 ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าว ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนามได้รับแรงกดดันมากที่สุด เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเวียดนาม อัตราภาษีศุลกากรใหม่นี้จะเพิ่มต้นทุนและความเสี่ยง ทำให้ผู้ผลิตเวียดนามสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1716298/viet-nam-s-solar-exports-hit-with-us-duties-of-up-to-542-6-per-cent.html