เมียนมาตั้งเป้าการค้าต่างประเทศบรรลุมูลค่า 33 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2567-2568

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุเป้าหมายการค้าต่างประเทศมูลค่า 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งประกอบด้วยเป้าการส่งออกมูลค่า 16.7 พันล้านดอลลาร์และการนำเข้ามูลค่า 16.3 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า มูลค่าการค้าต่างประเทศของเมียนมา ณ วันที่ 17 พฤษภาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน มีมูลค่าสูงถึงกว่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 1.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็นการค้าทางทะเลมีมูลค่ารวม 2.85 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่มูลค่าการค้าชายแดนมีมูลค่า 684.56 ล้านดอลลาร์ มีดุลการค้ารวมอยู่ที่ 3.116 พันล้านดอลลาร์ โดยที่เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/foreign-trade-targeted-to-achieve-us33b-in-fy2024-2025/#article-title

เขตอุตสาหกรรม และเขตต่อขยาย มีโอกาสส่งเสริมสินค้าส่งออกได้มาก

คณะกรรมการกลางพัฒนาอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมจัดการประชุมครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมกระทรวงอุตสาหกรรม ในเมืองเนปิดอว์ เมื่อบ่ายวานนี้ โดยมีประธานคณะกรรมการกลาง รองประธานสภาบริหารแห่งรัฐ โดยรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.โซ วิน. กล่าวว่า คณะกรรมการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมและกำกับดูแลจะต้องกำกับดูแลมาตรการเพื่อพิจารณาว่าเขตอุตสาหกรรมเปิดดำเนินการจริงและอนุญาตให้มีกระบวนการทำงานของธุรกิจเดียวกันได้หรือไม่ ในคำปราศรัยเน้นย้ำว่า เมียนมาต้องพัฒนาเขตอุตสาหกรรมหลัก 28 แห่ง อุตสาหกรรมสาขา 53 แห่ง และเขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง พร้อมเขตอุตสาหกรรมอีก 2 แห่งที่อยู่ระหว่างการจัดตั้ง เพื่อแก้ไขประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกลางจำเป็นต้องกำหนดนโยบายและแก้ไขปัญหา ในขณะที่คณะกรรมการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมท้องถิ่นและกำกับดูแลและรัฐบาลส่วนภูมิภาคต้องกำกับดูแลการดำเนินงานของเขตอุตสาหกรรมที่ตั้งไว้แล้ว และเขตอุตสาหกรรมที่จะจัดตั้งและเขตอุตสาหกรรมให้ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเขตอุตสาหกรรมตั้งอยู่ใกล้เขตที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งต้องหาทางแก้ไขปัญหาภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์เขตอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ภูมิภาคมะเกวส่งมา ได้รับการจัดสรรให้กับกลุ่มพื้นที่น้อยกว่า 500 เอเคอร์เป็นหลัก เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่ทำจากพืชน้ำมัน ถั่ว และฝ้าย ส่งผลให้รัฐบาลเขตมะเกวจำเป็นต้องยื่นข้อเสนอใหม่สำหรับเขตอุตสาหกรรมเพื่อใช้อุตสาหกรรมฝ้ายและด้ายและพืชน้ำมัน รวมทั้ง ต้องดำเนินการเขตอุตสาหกรรมของตนให้สอดคล้องกับกฎหมายและกฎเกณฑ์อุตสาหกรรมจึงจะประสบความสำเร็จได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/industrial-zones-and-extended-zones-have-great-chance-to-boost-export-products/

กัมพูชา กระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง ปากีสถานและบังกลาเทศ

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันกับปากีสถาน เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อยกระดับความร่วมมือทางการค้า นำโดย Cham Nimul รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ Zaheeruddin Babar Thaheem เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำกัมพูชา นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังอยู่ระหว่างการเตรียมบันทึกความเข้าใจ (MOU) ฉบับอื่นที่จะลงนามกับบังกลาเทศ เพื่อส่งเสริมการค้าข้าว ซึ่งในการกล่าวปาฐกถาในพิธีลงนาม รัฐมนตรีฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่ากัมพูชาและปากีสถาน มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับภาคเอกชน รวมถึงหอการค้าและสมาคมธุรกิจในทั้งสองประเทศ ความริเริ่มนี้มุ่งเน้นที่การส่งเสริมกิจกรรมทางการค้าและเศรษฐกิจ แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้า ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างมาตรฐาน ระเบียบทางเทคนิค ตลอดจนขั้นตอนการประเมินความสอดคล้องสำหรับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) เพื่อให้การส่งออกราบรื่นยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501496424/cambodia-strengthens-trade-ties-with-pakistan-bangladesh/

ผู้ประกอบการกัมพูชา หวังนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามายังกัมพูชามากขึ้น

ผู้ประกอบการค้าขายของที่ระลึกและผู้ให้บริการด้านการขนส่งในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ต่างก็อยากเห็นนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวมากขึ้น โดยพวกเขามองว่านักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มสำคัญสำหรับการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งคาดว่าสนามบินแห่งใหม่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกด้านการเดินทางมายังเสียมราฐมากขึ้น สำหรับจังหวัดเสียมราฐมีอุทยานโบราณคดีนครวัดบนพื้นที่กว่า 401 ตารางกิโลเมตร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก UNESCO ในปี 1992 โดยได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีวัดโบราณกว่า 91 แห่ง สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 9-13

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501496584/vendors-service-providers-in-cambodia-expect-more-chinese-tourists/

‘เวียดนาม’ มุ่งส่งเสริมการส่งออกข้าว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ระบุว่าความมั่งคงทางอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ส่งออกข้าว ควบคู่กับการส่งเสริมการผลิตข้าวยั่งยืนและการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) รวมถึงดำเนินการส่งเสริมตราสินค้าเวียดนามให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวเวียดนาม ในขณะเดียวกัน กระทรวงฯ ขอความร่วมมือกับสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) และผู้ส่งออกข้าวให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบการส่งออก ติดตามข้อมูลตลาดข้าวและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ

นอกจากนี้ นาย เล แทงห์ ฮวา (Le Thanh Hoa) รองผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพ การแปรรูปและการพัฒนาตลาด กล่าวว่าจากปรากฏการณ์เอลนีโญและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวทั่วโลกในปี 2566-2567 ลดลงเหลือ 518 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการในการบริโภคอยู่ที่ 525 ล้านตัน แสดงให้เห็นว่าโลกจะเผชิญกับปัญหาขาดแคลนธัญพืชประมาณ 7 ล้านตันในปีนี้ ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ส่งออกข้าวเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656338/fdi-reaches-us-11-07-billion-in-first-five-months-of-2024.html