‘GDP’ เวียดนามไตรมาสสองปี 67 โต 6.93%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ขยายตัว 6.93% นับว่าเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงสุดครั้งที่ 2 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากภาคบริการที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม ขยายตัว 7.06% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามมาด้วยภาคเกษตรกรรม ขยายตัว 3.34% และภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว 8.29% ในขณะที่เมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ GDP เวียดนาม ขยายตัว 6.42% ซึ่งต่ำกว่าเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ขยายตัว 6.58%

นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้น 4.39% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-gdp-grows-6-93-in-q2/

‘ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ’ ชี้เวียดนามมีศักยภาพที่จะผลักดันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

นาย Richard Lawton Thurston ผู้เชี่ยวชาญด้านเซมิคอนดักเตอร์ ได้แสดงความคิดเห็นในระหว่างการประชุม ณ กรุงวอชิงตัน ดีซีกับ นาย Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าเวียดนามมีศักยภาพอย่างมากที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านบุคลากรรุ่นใหม่และการฝึกอบรม

ทั้งนี้ เวียดนามและสหรัฐฯ ร่วมกันเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และยังสนับสนุนเวียดนามในการปรับปรุงการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ตลอดจนมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก

นอกจากนี้ เวียดนามพัฒนาโครงการส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์สำหรับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จนถึงปี 2573 โดยมุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรมเชิงลึกอาจารย์ 1,300 คน และวิศวกร 50,000 คน รวมถึงจัดตั้งห้องปฏิบัติการเซมิคอนดักเตอร์ระดับชาติ 4 แห่ง และห้องปฏิบัติการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ 18 แห่ง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1658394/vn-has-huge-potential-in-semiconductor-industry-us-expert.html

YRIC รับรอง 3 โครงการในประเทศ 4 โครงการต่างประเทศ

ในการประชุมครั้งล่าสุด 6/2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน คณะกรรมการการลงทุนภูมิภาคย่างกุ้ง (YRIC) ไฟเขียวแก่วิสาหกิจในประเทศ 3 แห่งที่เป็นของพลเมืองเมียนมา และวิสาหกิจต่างชาติทั้งหมด 4 แห่ง โดยมีทุนจดทะเบียนประมาณ 4.845 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 4.02 พันล้านจ๊าด อย่างไรก็ดี วิสาหกิจในประเทศ 3 แห่งจะอัดฉีดการลงทุนในภาคโรงแรม และในส่วนของวิสาหกิจต่างชาติทั้ง 4 แห่งจะมีการลงทุนในภาคการผลิตเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เบาะรองนั่ง การทำผ้านวม และของเล่น โดยพื้นฐานการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ (CMP) การผลิตผ้ารองและการทำผ้านวมถูกกำหนดไว้เพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80 และส่งออกร้อยละ 20 ธุรกิจเหล่านั้นจะสร้างงานมากกว่า 3,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/yric-endorses-3-domestic-projects-4-foreign-projects/

สมาพันธ์ข้าวเมียนมาขยายโครงการข้าวราคาถูกไปยังภูมิภาค/รัฐอื่นๆ

ตามประกาศของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน โครงการข้าวราคาไม่แพงของสหพันธ์ข้าวเมียนมาจะเข้าถึงภูมิภาคและรัฐต่างๆ มากขึ้น ปัจจุบัน MRF จำหน่ายข้าวพันธุ์ Shwebo Pawsan, Ayeyawady Pawsan และ Aemahta ในราคาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ในภูมิภาค เนปิดอว์, ย่างกุ้ง, มัณฑะเลย์, พะโค และ Ayeyawady โดยการประสานงานกับโรงสีข้าว ร้านขายข้าว และคลังน้ำมัน โดยโครงการราคาถูกครอบคลุมร้านค้า 58 แห่งในย่างกุ้ง 120 แห่งในมัณฑะเลย์ และ 96 แห่งในเนปิดอว์ ทั้งนี้ ยังมีบริการจัดส่งตรงถึงบ้านที่จะเริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม ในเมืองเนปิดอว์ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ อย่างไรก็ตาม สมาพันธ์ฯ จะจัดให้มีสถาบันทางสังคม ศาสนา หน่วยงานราชการ โรงงาน และร้านอาหาร รับซื้อข้าวในราคาที่เหมาะสมและสมเหตุสมผล นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน เป็นต้นไป ซุปเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท และศูนย์การค้า จะกลับมาเปิดจำหน่ายข้าวพันธุ์ Shwebo Pawsan, Ayeyawady Pawsan และ Aemahta แบบแพ็คบริโภค (ถุงเล็ก กล่อง ภาชนะ) ในราคาต่ำกว่าอัตราเดิม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-extends-affordable-rice-scheme-to-other-regions-states/

อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว มิถุนายน 67 แตะ 26.2% สูงที่สุดในรอบ 6 เดือน

อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว เดือนมิถุนายน 67 เพิ่มขึ้นเป็น 26.2% จาก 25.8% ในเดือนก่อน นับเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 6 เดือนของปีนี้ โดยราคาสินค้าในกลุ่มการดูแลสุขภาพและยารักษาโรคมีความผันผวนสูงอยู่ที่ 41.7% รองลงมาคือ ร้านอาหารและโรงแรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 35.3% ที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงเครื่องปรุงรสและอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น 32.5% นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่นๆ ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าและรองเท้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อใน สปป.ลาว เกิดจากค่าเงินกีบที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศหลัก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ บาทไทย และหยวนจีน ส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาสินค้าและบริการนำเข้า รวมถึงความสามารถในการผลิตภายในประเทศที่อ่อนแอ ทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น เนื่องจาก สปป.ลาว ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและวัตถุดิบอย่างมาก ซึ่งเพิ่มผลกระทบของค่าเงินอ่อนค่าต่ออัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% ได้ผลักดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้สูงขึ้นอีก

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/06/27/laos-june-inflation-hits-26-2-percent-highest-in-2024/