‘S&P Global’ ประเมินอันดับเครดิตเวียดนามไว้ที่ BB+

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของโลก (S&P Global) รายงานว่าเวียดนามได้รับการปรับขึ้นอันดับเครดิตสู่ BB+ จาก B พร้อมกับคาดการณ์แนวโน้มมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจเวียดนามจะปรับตัวดีขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากอุปสงค์โลกที่เพิ่มสูงขึ้น และประเทศต่างๆ เริ่มคลี่คลายอุปสรรคในประเทศ โดยอันดับเครดิตสะท้อนได้จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของประเทศ ตลอดจนระดับหนี้ของภาครัฐฯ ที่อยู่ในระดับคงที่ และปัจจัยภายนอกที่แข็งแกร่ง ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงได้รับการประเมินในเชิงบวก สาเหตุจากบริษัทข้ามชาติกระจายการลงทุนในภูมิภาคนี้ และเวียดนามได้รับประโยชน์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เม็ดเงินทุนจำนวนมากไหลเข้าไปสู่ภาคการผลิตในอีกหลายปีข้างหน้า

ที่มา : https://ven.congthuong.vn/vietnams-ratings-affirmed-at-bb-with-stable-outlook-51221.html

เรือสินค้า 27 ลำให้บริการในเส้นทางการค้ามัณฑะเลย์ในสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของเดือนมิถุนายน

จากสถิติของกรมบริหารทางทะเลแห่งมัณฑะเลย์ พบว่าเรือบรรทุกสินค้า 27 ลำแล่นไปยังย่างกุ้ง พะโค และเมืองอื่นๆ ระหว่างวันที่ 10 ถึง 19 มิถุนายน โดยมีการบรรทุกปูนซีเมนต์มากกว่า 7,170 ตัน ข้าวโพดมากกว่า 12,590 ตัน และถุงกรวดปูนขาว 350 ลูกบาศก์ฟุต อย่างไรก็ดี เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีรายงานว่า มีเรือบรรทุกสินค้า 93 ลำออกจากท่าเรือมัณฑะเลย์เพื่อขนส่งสินค้า ทั้งนี้ กรมเจ้าท่ายังเตือนผู้ควบคุมเรือบรรทุกเกินพิกัด เนื่องจากกระแสน้ำวนก่อตัวขึ้นในเขตอิระวดีครั้งแรกตั้งแต่สัปดาห์ที่สองของเดือนมิถุนายน ซึ่งพวกเขามีมาตรการจัดการความปลอดภัยทางทะเลตามขนาดและสินค้า และนำทางด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/27-freighters-serve-mandalay-trade-routes-in-2nd-3rd-week/#article-title

‘เวียดนาม-อินโดนีเซีย’ ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้าทวิภาคี 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 71

จากการประชุม Vietnam-Indonesia Business Forum ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. เวียดนามและอินโดนีเซียได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าทวิภาคี อยู่ที่ 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2571 จากปี 2566 ที่อยู่ในระดับ 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยสมาคมธุรกิจเวียดนามในอินโดนีเซียและสถานทูตเวียดนามในอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตเวียดนามในอินโดนีเซีย กล่าวว่าการเติบโตที่แข็งแกร่งทั้งด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศนั้น ทำให้อินโดนีเซียเป็นคู้ค้ารายใหญ่อันดับ 3 ของเวียดนามในกลุ่มประเทศอาเซียน ในขณะที่เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 4 ของอินโดนีเซีย และการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศในปี 2566 มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นราว 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ ประธานสมาคมธุรกิจเวียดนามในอินโดนีเซีย กล่าวว่าสมาคมประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงธุรกิจกว่า 30 ราย และมีการจัดกิจกรรมจำนวนมาก ร่วมกับสำนักงานการค้าเวียดนามในอินโดนีเซียที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายและการประกอบธุรกิจ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-indonesia-eye-us18-billion-in-bilateral-trade-by-2028/

มูลค่าการซื้อขายในตลาดทุนเมียนมารวม 1.5 พันล้านจ๊าด ในเดือนพฤษภาคม

ตามรายงานรายเดือนที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์เมียนมา มูลค่าการซื้อขายครั้งใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนทั้ง 8 แห่งในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) จดทะเบียนสูงสุดกว่า 1.558 พันล้านจ๊าด โดยมีหุ้นซื้อขาย 603,906 หุ้นในเดือนพฤษภาคม ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตลาดทุนจดทะเบียนมีมูลค่าการซื้อขาย 1 พันล้านจ๊าด ด้วยหุ้น 425,102 ในเดือนมกราคม, 693 ล้านจ๊าด ด้วย 253,178 หุ้น ในเดือนกุมภาพันธ์, 1.34 พันล้านจ๊าด ด้วย 560,687 หุ้นในเดือนมีนาคม และ 473 ล้านจ๊าด ด้วย 177,812 หุ้นในเดือนเมษายน ตามลำดับ ปัจจุบันหุ้นของบริษัทจดทะเบียน 8 แห่ง ได้แก่ First Myanmar Investment (FMI), Myanmar Thilawa SEZ Holdings (MTSH), Myanmar Citizens Bank (MCB), First Private Bank (FPB), TMH Telecom Public Co Ltd (TMH), Ever Flow River Group Public Co Ltd (EFR), Amata Holding Public Co Ltd (AMATA) และ Myanmar Agro Exchange Public Co Ltd (MAEX) มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี เดือนที่ผ่านมา หุ้น MTSH ติดอันดับการซื้อขายด้วยหุ้นจำนวน 294,185 หุ้น คิดเป็นมูลค่า 854.24 ล้านจ๊าด ตามด้วยหุ้น FPB 202,769 หุ้น มูลค่ามากกว่า 311.78 ล้านจ๊าด หุ้น FMI 21,582 หุ้น มูลค่า 188.67 ล้านจ๊าด, หุ้น EFR 39,500 หุ้น มูลค่ามากกว่า 65.69 ล้านจ๊าด, หุ้น MAEX จำนวน 28,410 หุ้น มูลค่า 59.99 ล้านจ๊าด, หุ้น MCB 5,784 หุ้น มูลค่า 46.28 ล้านจ๊าด, หุ้น TMH 11,230 หุ้น มูลค่า 29.76 ล้านจ๊าด และหุ้น AMATA 446 หุ้น มูลค่า 2.06 ล้านจ๊าด ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/equity-market-trading-value-totals-k1-5b-in-april/

อินเดียเริ่มนำเข้าข้าวโพดปลอดภาษีจากเมียนมา

อ้างถึง The Hindu Business Line มีการรายงานว่า อินเดียเริ่มนำเข้าข้าวโพดเมียนมาโดยไม่มีภาษี ด้าน Vangili Subramanian ประธานสมาคมการตลาดเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกไข่ของรัฐทมิฬนาฑู (PFMS) กล่าวว่า ณ ท่าเรือ VO Chidambaranar ในเมือง Thoothukudi ของรัฐทมิฬนาฑู มีเรือ 3 ลำที่บรรทุกข้าวโพดจอดเทียบท่าที่ท่าเรือของอินเดีย และเรืออีก 10 ลำถูกกำหนดให้เทียบท่าตามข้อตกลง ซึ่งตามโครงการปลอดภาษีของอินเดียสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ข้าวโพดของเมียนมาได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ตามการระบุของเจ้าหน้าที่ที่ไม่เปิดเผยนามจากสมาคมการค้าแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเดิมทีอินเดียมีการจัดเก็บภาษีศุลกากร 60 เปอร์เซ็นต์ ภาษีสินค้าและบริการ 5 เปอร์เซ็นต์ และภาษีประกันสังคม 10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับข้าวโพดที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าวโพดภายใต้โควตาอัตราภาษี (TRQ) รัฐบาลกลางของอินเดียให้ภาษี 15 เปอร์เซ็นต์ และนำเข้าข้าวโพดจำนวน 500,000 ตันภายใต้ TRQ ในปี 2020 ซึ่งกลุ่มธุรกิจฮินดูอ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่รัฐบาลว่าการนำเข้าข้าวโพดชุดแรกถูกกำหนดให้นำมาผลิตแป้ง และชุดที่สองสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอล ซึ่งสำหรับการนำมาผลิตแป้งส่งออก คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวโพดแบบปลอดภาษีประมาณ 300,000 ตัน อย่างไรก็ดี นักวิจัยในนิวเดลี ชี้ให้เห็นว่าการนำเข้าข้าวโพดอาจต้องคำนึงถึงข้อจำกัดราคานำเข้าและข้อจำกัดของท่าเรือ เกษตรกรทางตะวันออกและทางใต้ของอินเดีย ซึ่งสภาพอากาศเลวร้ายเมื่อปีที่แล้ว คาดว่าจะมีผลผลิตสูงและมีรายได้ดีในปีนี้ นอกจากนี้ การนำเข้าข้าวโพด อาจทำให้เกิดผลกำไรที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ การครอบครอง และอัตราภาษีพิเศษดังกล่าวอาจทำให้โครงสร้างตลาดเสียหาย ถึงแม้ว่า อินเดียจะมีความต้องการข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเฉพาะในภาคการเลี้ยงสัตว์ปีกเพียงอย่างเดียวก็มีความต้องการมากถึง 1 ล้านตัน ต่อปี และนอกจากภาคปศุสัตว์แล้ว อุตสาหกรรมการผลิตแป้งและเอทานอลยังมีความต้องการที่สำคัญอีกด้วย หลังจากที่รัฐบาลกลางอินเดียจำกัดการใช้อ้อยเพื่อการผลิตเอทานอล ความต้องการข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการใช้ข้าวโพดเพื่อผลิตเอทานอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านตันในปีนี้ จาก 0.8 ล้านตันในปีงบประมาณที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/india-starts-to-import-myanmar-maize-duty-free/

‘เปิดโอกาสใหม่’ เวียดนาม-รัสเซีย

การเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย นับเป็นโอกาสใหม่ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศ และจากความสัมพันธ์ที่ดีในอดีตที่ผ่านมาระหว่างเวียดนาม-รัสเซีย ส่งผลให้ในปี 2555 เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) ประกอบไปด้วยเบลารุส คาซัคสถาน รัสเซีย อาร์เมเนีย และคีร์กีซสถาน ทั้งนี้ จากข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเวียดนามและรัสเซียในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 1.96 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 51.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) การส่งออกและการนำเข้าของเวียดนามจากตลาดรัสเซีย มีมูลค่า 955.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.7%YoY และ 58.4%YoY ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/new-opportunities-for-vietnam-russia-trade-post288748.vnp

‘เวียดนาม’ ส่งออกสินค้าเกษตรไปรัสเซีย 5 เดือนแรก พุ่ง 48.7%

จากข้อมูลสถิติเบื้องต้นของกรมศุลกาการ เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังรัสเซีย เพิ่มขึ้น 48.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ กาแฟ มูลค่า 161.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 39%YoY รองลงมาอาหารทะเล เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผักและผลไม้ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ตลาดรัสเซียไม่ใช่ตลาดส่งออกขนาดใหญ่ของสินค้าเกษตรเวียดนาม แต่ว่าเมื่อประเมินในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ทิศทางการส่งออกไปยังรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ในขณะที่สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าการส่งสินค้าจากเวียดนามไปรัสเซีย มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ขนส่งรัสเซียได้เปิดเส้นทางขนส่งจากโฮจิมินห์-ไฮฟอง-วลาดิวอสต๊อก

นอกจากนี้ ยังมีผู้ขนส่งสินค้ารายอื่นที่เปิดเส้นทางการขนส่งใหม่ ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งและส่งสินค้าได้เร็วขึ้น ประกอบกับเวียดนามได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม- สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย หนุนให้เวียดนามยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันสินค้าเกษตรในตลาดยุโรปและรัสเซีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/five-month-farm-exports-to-russia-soar-by-487-post1102239.vov