สปป.ลาว ไทย และจีน หารือเส้นทางการบินใหม่เพื่อรองรับเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น

เส้นทางการบินใหม่อยู่ระหว่างการหารือระหว่างไทย จีน และ สปป.ลาว เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด และเพื่อตอบสนองต่อการคาดการณ์ว่าจะมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นอีก 100,000 เที่ยวในน่านฟ้าประเทศไทย สปป.ลาว และจีน โดยเส้นทางคู่ขนานที่นำเสนอนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความแออัดในเส้นทางการบินที่มีอยู่ซึ่งกำหนดโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของลาว แผนเหล่านี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่จะวางตำแหน่งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ความต้องการเดินทางจากจีนมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจำนวนเที่ยวบินสูงถึงประมาณ 80% ของระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยอินเดียมองว่าเป็นตลาดที่กำลังเติบโตและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเที่ยวบินเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 900,000 เที่ยวบินในปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 800,000 เที่ยวบินในปี 2566 และภายในปี 2568 ปริมาณเที่ยวบินจะดีดตัวกลับไปสู่ระดับ 1 ล้านเที่ยวบิน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/01/thailand-laos-china-in-talks-for-new-aviation-routes-to-handle-surge-in-flights/

สปป.ลาว เดินหน้าร่างกฎหมายคาร์บอนเครดิต

กรมจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว ร่วมกับพันธมิตรด้านการพัฒนาได้พูดคุยถึงรายละเอียดของพระราชกำหนด รวมถึงกระบวนการในการซื้อและขายคาร์บอนเครดิตในตลาดต่างประเทศ โดยร่างกฎหมายนี้มุ่งเน้นไปที่การคำนวณและรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ ภาษีเงินได้ ค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อและการขายคาร์บอนเครดิต เจ้าหน้าที่จากกรมการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ จะส่งเสริมการลงทุนในการลดก๊าซเรือนกระจกและทำให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้รับการจัดการผ่านระบบรวมศูนย์ ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าตลาดคาร์บอนของ สปป.ลาว มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน และจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมและจำหน่ายคาร์บอนเครดิตทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_67_Govtmakes_y24.php

เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก 250,000 ตัน มูลค่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม

ตามข้อมูลของสมาพันธ์ข้าวเมียนมา รายงานว่า ในช่วงเดือนมีนาคมของปีนี้ จากบริษัท 55 แห่งของเมียนมามีการส่งออกข้าว 147,041 ตัน และการส่งออกข้าวหัก 109,996 ตัน คิดเป็นยอดรวม 257,037 ตัน สร้างรายได้จากการส่งออกทั้งหมดกว่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากยอดรวมดังกล่าวเป็นการค้าต่างประเทศอยู่ที่ 252,993 ตัน และการค้าชายแดนอยู่ที่ 4,077 ตัน ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในการส่งออกข้าวของเมียนมาโดยมีการส่งออกไป 41,000 ตัน, แคเมอรูน 28,645 ตัน, โกตดิวัวร์ 24,000 ตัน, เบลเยียม 9,000 ตัน, สเปน 8,380 ตัน และประเทศอื่นๆ 36,016 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออกข้าวหักเมียนมา ส่งออกไปยังเบลเยียม 45,022 ตัน, จีน 33,299 ตัน, สเปน 10,000 ตัน, ฟิลิปปินส์ 4160 ตัน, อินโดนีเซีย 4160 ตัน และประเทศอื่นๆ 133,55 ตันตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-250000-tonnes-of-rice-and-broken-rice-worth-us-133-mln-in-march/

รองผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเมียนมา เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอาเซียนครั้งที่ 20

ดร. ลิน ออง รองผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเมียนมา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูง ได้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอาเซียน (ACDM) ครั้งที่ 20 และการประชุมเจ้าหน้าที่การเงินและธนาคารกลางอาเซียน (AFCDM) เมื่อวานนี้ โดยรองผู้ว่าการธนาคารกลางลาว กล่าวถึง การจัดหาเงินทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) ในภูมิภาคในปี พ.ศ. 2567 จากนั้น ผู้เข้าร่วมได้ให้ข้อมูลเชิงลึกแก่คณะทำงานต่างๆ รวมถึง การเปิดเสรีบัญชีทุน, กรอบบูรณาการการธนาคารของอาเซียน, การรวมกลุ่มทางการเงิน, ระบบการชำระเงินและการชำระบัญชี, การเปิดเสรีบริการทางการเงิน รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ Swap ของอาเซียน และความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ของอาเซียนและแพลตฟอร์มการแบ่งปันข้อมูล อย่างไรก็ดี สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้นำเสนอเกี่ยวกับสถานะของความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน พิมพ์เขียว AEC พ.ศ. 2568 วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2588 และรายงานการติดตามบูรณาการทางการเงินของอาเซียน พ.ศ. 2567 ในระหว่างการประชุม AFCDM หลังจากนั้น คณะทำงานต่างๆ ได้ให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับความคืบหน้าของคณะกรรมการระดับอาวุโสด้านการบูรณาการทางการเงินของอาเซียน และสรุปภารกิจสำหรับปีงบประมาณ 2024-2568

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-deputy-governor-attends-20th-asean-central-bank-deputies-meeting-virtually/

Royal Group เตรียมสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ในจังหวัดกันดาล

บริษัท Royal Group ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของกัมพูชา กำลังพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) แห่งใหม่ในจังหวัดกันดาล เพื่อรองรับความต้องการพื้นที่การผลิตที่มีคุณภาพรอบกรุงพนมเปญที่เพิ่มขึ้นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษรอยัล กรุ๊ป กันดาล (RGKSEZ) ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 120 เฮคเตอร์ ซึ่งเชื่อมต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษรอยัล กรุ๊ป พนมเปญ (RGPPSEZ) ที่บริษัทดำเนินการอยู่เดิม บริษัท รอยัล กรุ๊ป โดยคาดว่าเมื่อดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบจะสามารถสร้างงานให้กับชาวกัมพูชาได้ประมาณ 200,000 ตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจพิเศษรอยัล กรุ๊ป พนมเปญ มีบริษัทผู้ผลิต 85 แห่ง และบริษัทที่ไม่ได้ผลิตสินค้า 29 แห่ง มีพนักงานรวมกว่า 43,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501466083/royal-group-developing-new-sez-in-kandal/

Q1/2024 สนามบินนานาชาติเสียมราฐ-อังกอร์ ได้รับเที่ยวบินตรงจาก 8 ประเทศ

สนามบินนานาชาติเสียมราฐ-อังกอร์ มีเที่ยวบินตรงจาก 8 ประเทศ ณ ไตรมาสแรกของปี 2024 โดย 6 ประเทศ อยู่ในภูมิภาคอาเซียน นอกนั้นมาจากจีนและเกาหลีใต้ ด้าน Pich Sopondara ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเที่ยวบิน ของสนามบินนานาชาติเสียมราฐ-อังกอร์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้จะมีเที่ยวบินตรงจากประเทศอินเดียเชื่อมมายังกัมพูชาเพิ่มเติมในเดือนมิถุนายนนี้ สำหรับผู้โดยสารกลุ่มสำคัญส่วนใหญ่มาจากประเทศไทยและเวียดนาม ขณะที่ปริมาณเที่ยวบินโดยสารเข้าและออกเฉลี่ยอยู่ที่ 50 เที่ยวบินต่อวัน โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 5,000 คนต่อวัน ซึ่งจำนวนนี้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2020

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501466414/siem-reap-angkor-international-airport-received-direct-flights-from-eight-countries-in-2024/