Vietnam Economic Factsheet: February 2565
ที่มา : รวบรวมจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office: GSO) และ CEIC Data
ที่มา : รวบรวมจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office: GSO) และ CEIC Data
นาย ฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ (Pham Minh Chinh) นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้สั่งการให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ราคาพลังงาน รักษาเสถียรภาพระหว่างอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ อีกทั้งสั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าทำการตรวจสอบศูนย์หน่วยจำหน่ายและสถานีการค้าทั่วประเทศ เพื่อจัดการกับผู้ที่ทำการกักตุนน้ำมันในการแสวงหากำไรและการละเมิดอื่นๆ นอกจากนี้ รัฐบาลได้สั่งให้กระทรวงการคลังเข้ามาประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อทำการศึกษาและเสนอแนวทางปรับนโยบายภาษีเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงขอความร่วมมือไปยังคณะกรรมการประชาชนจังหวัดและส่วนกลางให้ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมการขายน้ำมันที่ร้านค้าปลีกในท้องที่อย่างใกล้ชิด
สำนักงานการค้าเวียดนามประจำอินเดีย อ้างรางานจากรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าการค้าระหว่างประเทศเวียดนามและอินเดียในปี 2564 มีมูลค่าเกินกว่า 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกมีมูลค่า 6.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20%YoY ในขณะที่อินเดียมีมูลค่า 6.95 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 56% ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดอินเดียในเดือน ธ.ค. ได้แก่ โลหะ (79.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน, โทรศัพท์และส่วนประกอบ, เครื่องจักรและอะไหล่ เป็นต้น โดยสินค้าประเภทวัตถุดิบพลาสติก สารเคมี ยางและถ่านหิน เป็นสินค้าเวียดนามที่มีการเติบโตสูงที่สุดในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 231%, 162% และ 138% ตามลำดับ
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamindia-trade-exceeds-13-billion-usd/222475.vnp
องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย เมียนมาส่งออกมันสำปะหลังได้เพียงเล็กน้อย จึงจำเป็นต้องอาศัยการร่วมทุนจากต่างประเทศ ปัจจุบันปริมาณการส่งออกค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 50 ตันต่อเดือน และมีการพยายามส่งออกไปยังจีนให้มากขึ้น โดยมันสำปะหลังหนึ่งตันมีมูลค่าประมาณ 200-250 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะความต้องการของตลาดต่างประเทศยังต่ำ ส่วนใหญ่มีการปลูกอยู่ในเมือง Kyonpyaw, Yekyi, Ngathainggyoung, Kyaunggon และ Thaboung ในเขตอิรวดีโดยมีพื้นที่มากกว่า 30,000 เอเคอร์ทั่วภูมิภาค มีผลผลิตต่อเอเคอร์ประมาณ 3,500 viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงและราคามันสำปะหลังที่ลดลงในปีงบประมาณ 2563-2564 นอกจากนี้ ตลาดยังขึ้นอยู่กับผู้บริโภคในท้องถิ่นและโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ ราคามันสำปะหลังลดลงจาก 103 จัต มาอยู่ที่ 80 จัตต่อ viss ในปัจจุบัน ในทำนองเดียวกันราคาแป้งมันสำปะหลังก็ปรับลดลงจาก 850 จัตมาเป็น 500-550 จัตต่อ โดยเมียนมามีพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่อย่างจีนและอินเดียที่มีความต้องการคิดเป็น 90% ของความต้องการทั้งโลก ดังนั้นควรเพิ่มปริมาณการปลูกให้มากขึ้น ทั้งนี้มันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ทดแทนแป้งสาลี ยารักษาโรค อาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ อย่างไรก็ตาม ตลาดภายในประเทศมีการบริโภคไม่มากนักเนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tapioca-needs-market-promotion-to-penetrate-more-foreign-markets/
รัสเซียหวังที่จะกระชับความร่วมมือกับสปป.ลาวในด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนสามารถเยี่ยมชมประเทศของกันและกันได้ง่ายขึ้น เอกอัครราชทูตรัสเซียขอให้รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวสปป.ลาวรวมภาษารัสเซียไว้ในเว็บไซต์การท่องเที่ยวสปป.ลาว และแนะนำให้รัสเซียเพิ่มภาษาลาวลงในเว็บไซต์การท่องเที่ยวของตน เพื่อให้ประชาชนในทั้งสองประเทศสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้ สิ่งนี้จะกระตุ้นความสนใจในการเดินทางและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศผ่านการท่องเที่ยว ในปี 2559 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาลาวมากกว่า 4.2 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 3 ล้านคนมาจากกลุ่มประเทศอาเซียน และอย่างน้อย 13,000 คนมาจากรัสเซีย ทั้งนี้การร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการกระชบความสัมพันธ์ระหว่างสปปลาวและรัสเซียด้านการท่องเที่ยวไม่เพียงแค่นี้ยังครอบคลุมด้านการค้าและการลงทุน พลังงานและเหมืองแร่ เทคโนโลยีโทรคมนาคมและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์และการศึกษา สุขภาพ วัฒนธรรม
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laosr.php
ทางการกัมพูชา รายงานถึงปัจจุบันได้ทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศแล้วกว่าร้อยละ 90.01 จากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ที่ 14.5 ล้านคน ของประชากรทั้งหมด 16 ล้านคน โดยได้ทำการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วทั้งหมด 14,401,837 คน ใน 5 กลุ่มอายุ ขณะที่ประชาชนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว มีจำนวนทั้งสิ้น 13,827,084 คน นอกจากนี้ มีผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 จำนวน 6,476,282 คน ขณะที่อีก 868,739 คน ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 4 เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการฉีดวัคซีนถือเป็นวาระเร่งด่วนและสำคัญ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของภาคประชาชน โดยประมาณร้อยละ 25 ของผู้ที่ติดเชื้อ Omicron เป็นเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งปัจจุบันมีการติดเชื้อ Omicron แล้วกว่า 5,806 ราย
แม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron แต่ทางการกัมพูชาและไทย ยืนยันว่าจะไม่การบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ โดยเมื่อวันที่ 22 ก.พ. นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ได้เน้นย้ำถึงนโยบายว่าจะไม่มีการล็อกดาวน์เมืองหลวงและจังหวัดต่างๆ อย่างในปีที่แล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะขาดแคลนสินค้า รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ ตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา ปัจจุบันกัมพูชาตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron 598 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ 2 ราย ซึ่งปัจจุบันประชากรของกัมพูชามีทั้งสิ้น 16 ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วที่ร้อยละ 89.99 ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่าไทยจะไม่ออกคำสั่งล็อกดาวน์เช่นเดียวกัน แม้ว่าไทยจะยกระดับความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 เป็นระดับ 4 ภายใต้การรักษาระยะห่างและหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501030209/covid-19-cambodia-thailand-reject-lockdown-possibility/
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมจัดงาน “FTA Fair นำสินค้าไทย สู่ตลาดการค้าเสรี” นำเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการทั่วประเทศ ร่วมจำหน่ายสินค้ากว่า 40 บูธ ทั้งสินค้าเกษตร Future Food สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ พร้อมจัดเวทีเสวน า จับคู่ธุรกิจ และคลินิกให้คำปรึกษา สร้างแต้มต่อสินค้าไทยขยายส่งออกด้วยเอฟทีเอ 25 ก.พ. – 3 มี.ค. นี้ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 ด้านนายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างแต้มต่อทางการค้าในการส่งออกสินค้าไปตลาดต่างประเทศ เพื่อให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการไทย มีโอกาสและช่องทางขยายส่งออกสินค้าไทยไปตลาดโลกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ