อุตสาหกรรมชาเผชิญกับความต้องการแรงงานท่ามกลางอุปสงค์ในท้องถิ่นที่สูงเป็นประวัติการณ์

ตามการระบุของชุมชนผู้ผลิตชา อุตสาหกรรมใบชาซึ่งมีผู้บริโภคในท้องถิ่นจำนวนมากและมีจีนเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกอันดับต้นๆ กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ การบริโภคใบชาในท้องถิ่นยังคงแข็งแกร่ง ความต้องการก็ดีเช่นกัน แต่อุปทานลดลง เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานและความยากลำบากในการขนส่ง ทั้งนี้ ผู้ประสานงานจากสมาคมชาเมียนมา กล่าวว่า จีนเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ สำหรับการส่งออกชาเมียนมาโดยสินค้าบางส่วนเข้าถึงประเทศในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน และไทย การส่งออกชามีสองประเภทหลัก ได้แก่ แบบเปียกและแบบแห้ง ชาดำและอื่น ๆ ถูกส่งออกทางทะเล ที่เหลือส่วนใหญ่มาจากการค้าชายแดน มีการส่งออกทั้งสองเส้นทางแต่ประสบปัญหาเล็กน้อยในเส้นทางการค้าชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tea-industry-faces-labour-needs-amidst-ever-high-local-consumption-and-demand/

รองผู้อำนวยการอาวุโส : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการพัฒนา MSME

พล.อ.โซ วิน รองประธานสภาบริหารแห่งรัฐ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2567 ที่กระทรวงอุตสาหกรรมในเมืองเนปิดอว์เมื่อวานนี้ โดยเขาเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของคณะกรรมการในการดำเนินการตามคำสั่งจากประธาน SAC ซึ่งรวมถึงโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและปศุสัตว์ที่มีมูลค่าเพิ่ม การขยายพืชผลสำหรับน้ำมันที่บริโภคได้และวัตถุประสงค์ทางอุตสาหกรรม การเพิ่มผลผลิตผลิตภัณฑ์นม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ยังมองไปถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นไปที่การส่งเสริม MSME เป็นพิเศษ เนื่องจาก MSME ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดตั้งแต่การผลิตไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ จึงมีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและสร้างโอกาสในการเติบโตมากมาย อย่างไรก็ดี หลังจากการหารือกับเจ้าของ MSME ในการประชุมระดับรัฐและระดับภูมิภาค 23 ครั้ง รวมถึงการประชุมเป้าหมาย 5 ครั้ง ประธานคณะกรรมการเน้นย้ำว่าความท้าทายหลัก 2 ประการที่ระบุคือการเข้าถึงที่ดินและเงินทุน รัฐบาลได้ให้กู้ยืมเงินผ่านกองทุนพัฒนา MSME ในความพยายามที่จะปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงต่างๆ ได้ฝึกอบรมบุคคล 91,807 คนใน 350 หลักสูตรตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ปัจจุบันมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม 3,862 คนอยู่ระหว่างโครงการฝึกอบรม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/vice-senior-general-foster-economic-growth-through-msme-development/#article-title

การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนาม คาดไม่ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในระยะยาว

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนาม ว่า กระแสการปราบปรามการคอร์รัปชั่นในเวียดนามส่งผลให้ประธานาธิบดีหวอ วัน เถือง ยื่นใบลาออก หลังดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปี และนับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่ถูกกดดันให้ลาออกในช่วงปีที่ผ่านมา

การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนาม คาดไม่ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในระยะยาว

  • กระแสการปราบปรามการคอร์รัปชันในเวียดนามส่งผลให้ประธานาธิบดีหวอ วัน เถือง ยื่นใบลาออก หลังดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปี และนับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่ถูกกดดันให้ลาออกในช่วงปีที่ผ่านมา
  • การลาออกของประธานาธิบดีหวอ วัน เถือง อาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองและบรรยากาศในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในระยะสั้น แต่คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานและการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในระยะยาว

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Vietnam-Econ-21-03-2024.aspx

‘คลัง’ จี้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย หลังกำลังซื้อร่วง ฉุดจัดเก็บรายได้รัฐ

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาล สุทธิในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ม.ค.2567) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 824,115 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,836 ล้านบาท และเป็นการจัดเก็บรายได้ลดลง 1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ผลการจัดเก็บบรายได้ของภาครัฐที่ต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นสัญญาณที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในสภาวะชะลอตัว โดยส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการซื้อที่ลดลง เนื่องจากการดำเนินนโยบายคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อรถยนต์ และที่อยู่อาศัย ที่แม้จะยังมีดีมานด์อยู่แต่ประชาชนขาดความสามารถในการผ่อนชำระ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงจึงทำให้ยอดผ่อนชำระสูงขึ้นด้วย ยอดโอนรถยนต์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงจึงทำให้การจัดเก็บภาษีซึ่งเป็นรายได้ของรัฐบาลลงตามไปด้วย ทั้งนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยในวันนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจในทันที แต่อาจต้องใช้เวลามากกว่า 6 เดือน จึงไม่กังวลประเด็นที่ว่าจะกระทบกับอัตราเงินเฟ้อในประเทศ รวมทั้งประเด็นที่ว่าจะทำให้เงินไหลออกนอกประเทศ เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของไทยก็มีความต่างจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐมากอยู่แล้วหากธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาระดับหนึ่งก็จะไม่กระทบกับอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการจัดเก็บรายได้ที่ลดลงส่วนหนึ่งเป็นการจัดเก็บรายได้ที่ลดลงโดยกรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน ขณะที่หน่วยงานที่จัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งมีการนำส่งรายได้เหลื่อมมาจากปีก่อนหน้า และกรมสรรพากร โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ หากไม่รวมรายได้พิเศษรวม 36,666 ล้านบาท จากฐานการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้รัฐบาลสุทธิจะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.7%

ที่มาภาพ : ประชาชาติธุรกิจ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1118713

กัมพูชาส่งออกยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นถึง 90% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2024

ข้อมูลการค้าล่าสุดจากกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ระบุว่า ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2024 กัมพูชาสามารถส่งออกยางพาราแปรรูป มูลค่า 215 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการส่งออกยางพารากัมพูชา สวนทางกันกับผลผลิตยางพาราธรรมชาติทั่วโลกที่มีแนวโน้มลดลง ภายใต้ภาวะราคายางพุ่งสูงขึ้น สำหรับทั้งปี 2023 กัมพูชาสามารถทำรายได้จากการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา 919 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ตลาดยางพาราของกัมพูชาส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง จีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย และสหภาพยุโรป เป็นสำคัญ ด้านผู้เชี่ยวชาญมองว่าตลาดยางธรรมชาติยังคงเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจจีนที่เติบโตต่ำกว่าคาดในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว ซึ่งจีนเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากสงครามยืดเยื้อระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และ อิสราเอล-ฮามาส รวมถึงต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501458804/cambodias-rubber-article-exports-rise-90-percent/

อินโดนีเซียเตรียมนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา เพื่อรองรับเทศกาล Eid al-Fitr

รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา เพื่อเติมเต็มคลังข้าวภายในประเทศ รองรับความต้องการบริโภคในช่วงก่อนเทศกาลอีฎิ้ลฟิตริ (Eid al-Fitr) ตามที่สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Agency – Bapanas) แถลง โดยให้ความสำคัญกับข้าวที่ผลิตภายในประเทศเป็นอันดับแรก แต่ในครั้งนี้ทางการได้ตัดสินใจว่า บูลอก (Bulog – บริษัทโลจิสติกส์ของรัฐบาล) จะทำการจัดซื้อข้าวจากต่างประเทศ ว่าจะนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา กล่าวโดย Arief Prasetyo Adi หัวหน้า Bapanas กล่าว ณ กรุงจาการ์ตา สำหรับปีที่แล้วรัฐบาลอินโดนีเซียได้แจกจ่ายข้าวสารช่วยเหลือประชาชนกว่าผู้ซึ่งได้รับประโยชน์กว่า 22 ล้านคน เป็นระยะเวลา 7 เดือน ขณะที่ปีนี้รัฐบาลตั้งเป้าที่จะแจกจ่ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501459050/indonesia-to-import-22500-tonnes-rice-from-cambodia-for-eid-al-fitr/