กัมพูชา-เวียดนาม ตัวเลือกลงทุนแทนเมียนมา

ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อในเมียนมาขณะนี้ ทำให้บริษัทต่างชาติเริ่มคิดที่จะถอนการลงทุนออกจากประเทศนี้ ขณะที่มีบริษัทบางแห่งประกาศยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทท้องถิ่นที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพให้เห็นบ้างแล้ว และหันไปมองประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าอย่างกัมพูชาและเวียดนาม ข้อมูลจากสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)ระบุว่า การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ(เอฟดีไอ)ที่ไหลเข้าไปในกลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัว 6.3% ในปี 2562 โดยเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ1 ในแง่ของมูลค่าการลงทุนที่ 16,100 ล้านดอลลาร์ และเมียนมา เคยเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของเอฟดีไอสูงสุดที่ 55.9% แต่เมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ผ่านมา กระแสเอฟดีไอในเมียนมาก็ไม่เพิ่มขึ้นเลย

ทั้งนี้ ฟิลด์ พิคเกอริง หัวหน้าหน่วยงานด้านการลงทุนจากวัลเพส อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมน กล่าวว่าความไม่สงบเรียบร้อยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ทำให้บรรดาผู้ประกอบการเมียนมาอาจเลือกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น และเข้าไปสร้างธุรกิจให้เติบโตในดินแดนอื่นภายในภูมิภาคอาเซียน เท่ากับว่าเป็นความสูญเสียของเมียนมาแต่เป็นการได้ประโยชน์ของประเทศอื่นๆในภูมิภาคแทน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/925213

เวียดนามเกินดุลการค้า 1.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. เวียดนามีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 95.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี แบ่งออกเป็นการส่งออก 48.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.2% ในขณะที่การนำเข้าประมาณ 47.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว บริษัทจากต่างประเทศมีมูลค่า 37.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ (76.4% ของยอดส่งออกรวมของเวียดนาม) ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจในประเทศ มีมูลค่าการส่งออก 11.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกประเภทโทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่ามากที่สุด 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามมาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ 6.9 พันล้านเหรียญ, เครื่องจักรและส่วนประกอบ, รองเท้า ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ซึ่งสินค้าข้างต้นรวมกันทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วน 73% ของยอดส่งออกรวมของเวียดนาม นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาสหภาพยุโรป อาเซียน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/890438/viet-nam-racks-up-129-billion-in-trade-surplus-in-two-months.html

เวียดนามเผยยอดธุรกิจจัดตั้งใหม่ 18,000 แห่งในช่วง 2 เดือนแรก

กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม เผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 64 ยอดจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ จำนวนมากกว่า 18,000 ราย ลดลง 4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จำนวนพนักงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.7% อยู่ที่ 173,000 คน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีการปรับเพิ่มของเงินทุน มูลค่าประมาณ 720.4 ล้านล้านดอง (32.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 12.4% และทุนจดทะเบียนเฉลี่ยต่อธุรกิจ อยู่ที่ 18.5 พันล้านด่อง เพิ่มขึ้น 46.4% ทั้งนี้ ในเดือนก.พ. ยอดจดทะเบียนของธุรกิจจัดตั้งใหม่ จำนวน 8,038 ราย ด้วยเงินทุนจดทะเบียนราว 179.74 ล้านล้านดอง ในแง่ของจำนวนธุรกิจใหม่ ปรับตัวลดลง 12.3% ในขณะที่เงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 85.6% ประกอบกับพนักงานที่อยู่ในธุรกิจจัดตั้งใหม่ ลดลง 22.1% จำนวน 57,000 คน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/890441/more-than-18000-new-firms-set-up-in-first-two-months.html

สปป.ลาวเปิดตัวโครงการบรรเทาทุกข์ MSME มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์พร้อมเงินกู้ยืมจากธนาคารโลก

เมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์สปป.ลาว ประกาศกู้เงินจำนวน 40 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ในการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เวียงแสม ศรีธิราช ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของธนาคารโลกประจำสปป.ลาวกล่าวว่า“ ความคิดริเริ่มนี้จะเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวอย่างมาก”เงินเหล่านี้จะปล่อยกู้ให้กับองค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 100 คนผ่านวงเงินสินเชื่อที่ขยายโดยธนาคารต่างๆรวมถึงการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับ MSME

ที่มา : https://www.microcapital.org/microcapital-brief-laos-launches-40m-msme-pandemic-relief-project-with-world-bank-loan-proceeds/