เวียดนามส่งออกทุเรียนไปจีน ผ่านช่องทางหลัก

เวียดนามเร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า เพื่อที่จะส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีน ในจำนวนที่มากขึ้นผ่านช่องทางหลัก ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่จีนก็ยังเป็นผู้บริโภคทุเรียนของเวียดนามรายใหญ่ที่สุดในปีที่แล้ว เมื่อพิจารณาจากตัวเลขสถิติ พบว่าจีนนำเข้าทุเรียนทั่วโลกอยู่ที่ 397,000 ตัน เป็นมูลค่า 1.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.8% เมื่อเทียบกับปี 2562 อย่างไรก็ตาม การนำเข้าทุเรียนของเวียดนาม ลดลง 66.3% ในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่แล้ว ทั้งนี้ เวียดนามส่งออกทุเรียนแบบปอกเปลือกและทุเรียนแช่แข็งไปยังตลาดจีนเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ผ่านช่องทางไม่เป็นทางการ อย่างไรก็ตาม จีนเพิ่งระงับช่องทางไม่เป็นทางการชั่วคราว เนื่องจากกลัวการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้ส่งออกในประเทศลำบาก นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ได้เร่งเจรจากับทางจีนเพื่อส่งออกสินค้าเกษตรผ่านช่องทางที่เป็นทางการ โดยจะให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตร อาทิ ทุเรียน มันเทศ รังนก ส้มโอ เสาวรส อะโวคาโด และอื่นๆ เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-to-export-durians-to-china-via-official-channels-830589.vov

จังหวัดด่งนายดึงดูดเม็ดเงิน FDI 226 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งเดือนแรกเดือนมกราคม 64

ตามข้อมูลจากคณะกรรมการเขตอุตสาหกรรมจังหวัด เผยว่าจังหวัดด่งนาย (Dong Nai) ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) จำนวน 11 โครงการ รวมมูลค่ามากกว่า 226 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนมกราคม 2564 นับว่าสูงที่สุดในช่วงเวลาเดียวกันในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีโครงการขนานใหญ่ ได้แก่ Hansol Electronics (100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมฮอร์นายและโรงงาน Ojitex (60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ นาย Pham Van Cuong รองผู้อำนวยการคณะกรรมการบอร์ด กล่าวเสริมว่านักลงทุนเน้นที่จะเบิกจ่ายเงินทุนในการสร้างโรงงานและการซื้อเครื่องจักรในไตรมาสที่ 1 และเริ่มดำเนินโครงการภายในสิ้นปี 2564 เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจเวียดนาม รวมถึงสภาพแวดล้อมทางการลงทุนที่ดีในจังหวัดด่งนาย นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ทางจังหวัดดังกล่าวมีจำนวน 32 เขตอุตสาหกรรม ด้วยอัตราการดำเนินงาน 80%

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/dong-nai-attracts-over-226-million-usd-in-fdi-on-first-days-of-2021/194729.vnp

เมียนมาคาดส่งออกหัวหอมจะลดลงในปีนี้

สมาคมการผลิตและส่งออกหัวหอม กระเทียม และพืชอาหารของเมียนมาเผย การส่งออกหัวหอมคาดว่าจะลดลงในปีนี้แม้จะมีผลผลิตสูงก็ตาม เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยแม้ผลผลิตจะเพิ่มจาก 2,000 viss (1 Viss ประมาณ 1.63 กิโลกรัม) ต่อเอเคอร์เพิ่มเป็น 4,000 viss ต่อเอเคอร์ในปีนี้ ซึ่งผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น 2 เท่าในปี 2564 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยจาก 2,000 viss ต่อเอเคอร์ในพม่าตอนบนเป็นมากกว่า 4,000 viss ต่อเอเคอร์ในปีนี้ เมียนมาผลิตหัวหอมได้ 300 ล้าน Viss ถึง 400 ล้าน Viss ในปีที่แล้วและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2564 รถบรรทุกผักกว่า 60 คันได้ส่งไปยังตลาดย่างกุ้งเป็นประจำทุกวัน หัวหอมขนาดเล็กที่ตลาดค้าส่ง Bayint Naung ราคาอยู่ที่ 150 – K200 จ๊าตต่อ viss ในขณะที่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ขายที่ 300 จ๊าต และ 450 จ๊าตต่อ viss ตามลำดับ หัวหอมหนึ่งตันราคาส่งออกจะอยู่ที่ 350 เหรียญสหรัฐ โดยปกติจะส่งออกไปยังเวียดนามและมาเลเซีย แต่ปัญหาหลักคือการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ส่งผลให้ราคาเช่าเพิ่มขึ้นสองเท่าหรือสามเท่า อีกทั้งผู้ค้ายังพบปัญหาในการขนส่งและโลจิสติกส์เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่มีอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-onion-exports-expected-decline-year.html

บรูไนเจ้าภาพประชุมอาเซียนนัดแรก ผลักดัน 3 ยุทธศาสตร์ ฟื้นฟู-ดิจิทัล-ยั่งยืน

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (SEOM Retreat) ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยประเทศบรูไนดารุสซาลาม ทำหน้าที่ประธานอาเซียน บรูไน ได้เสนอประเด็นสำคัญที่ต้องการผลักดันให้สำเร็จ ภายในปี 2564 จำนวน 10 ประเด็น ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการฟื้นฟู 2.ด้านการเป็นดิจิทัล และ 3.ด้านความยั่งยืน  สำหรับยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ที่ประธานอาเซียนต้องการผลักดันมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ด้านการฟื้นฟู ส่งเสริมมาตราการค้าเสรี การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวและการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา 2. ด้านการเป็นดิจิทัล จัดทำแผนงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน 3. ด้านความยั่งยืน เช่น การจัดทำกรอบการส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อย สหกรณ์ และวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม  ในด้านอาหาร การเกษตร และป่าไม้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะมุ่งเน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความยั่งยืนของภูมิภาคภายหลังการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3191228

กลยุทธ์การเติบโตเศรษฐกิจของสปป.ลาวในอนาคต

 แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวเริ่มต้นเมื่อมีการเปิดประเทศในช่วงต้นทศวรรษ  1990     สปป. ลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การค้าชายแดนเป็นพื้นที่สำคัญของสปป.ลาวในการค้าโดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของสปป.ลาว ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาสปป.ลาวเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญของโลกถึง 2 ครั้งซึ่งสร้างส่งผลกระทบต่อสปป.ลาว รวมถึงผลกระทบต่อกลยุทธ์การเติบโตของประเทศซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตามบริบทของโลกหรือวิกฤตที่กำลังเผชิญ ปัจจุบันสปป.ลาวกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงสปป.ลาว ถึงแม้สถานการณ์ COVID-19  ของสปป.ลาวจะไม่ได้รุนแรงแต่ประเทศที่สปป.ลาวพึ่งพา ไทย จีน เกาหลี ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ด้วยหตุนี้ทำให้สปป.ลาวได้รับผลกระทบไปด้วย ตัวเลขการประมาณการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2564-2568 ถูกปรับลดจากเฉลี่ยจะเติบโตที่ร้อยละ 8   จะเหลือเพียงเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4 ในอนาคตสปป.ลาวจะมีการดำเนินกลยุทธ์การเติบโตควบคู่ไปกับความมั่นคงเสถียรภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

ที่มา : https://www.eastasiaforum.org/2021/01/15/what-next-for-laos-growth-strategy/

โรงไฟฟ้าสองแห่งในกันดาลของกัมพูชาเรื่องผลิตกระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลขนาดใหญ่ในจังหวัดกันดาลได้เริ่มเดินเครื่องยนต์ สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับกริดแห่งชาติ ตามข้อมูลของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยเครื่องยนต์ของโรงไฟฟ้ารวมกันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งเริ่มผลิตไฟฟ้าไปเมื่อต้นเดือน ม.ค. ผู้อำนวยการใหญ่ด้านพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวโรงงานดังกล่าวได้เริ่มผลิตไฟฟ้าแล้ว แต่ยังไม่สามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังการผลิตที่ 400 เมกะวัตต์ โดยการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าเริ่มในเดือนตุลาคม 2019 ประกอบด้วยโรงงานสองแห่ง แห่งแรกใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย บริษัท Wartsila ของฟินแลนด์ และได้รับการพัฒนาโดยบริษัท CGGC-UN Power Co. จากจีน ส่วนโรงงานแห่งที่สองใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย Man Group ของเยอรมนี สร้างโดย China National Heavy Machinery Corp (CHMC) ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 380 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลให้กู้ยืม 300 ล้านดอลลาร์ และส่วนที่เหลือมาจากเงินกองทุนของ EDC โดยในปี 2019 กัมพูชาใช้พลังงานทั้งหมด 12,014.59 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803643/two-power-plants-in-kandal-start-their-engines/

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาลงนาม MoU สำหรับการพัฒนาภายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) 2 ฉบับ ระหว่างบริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าปลีกและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ BRB และ อีกฉบับกับบริษัท โคคา โคลา ประจำประเทศกัมพูชา โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าปลีกและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ BRB คาดจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา งานแฮนด์เมด งานหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในจังหวัดกำปงชนัง ซึ่งจัดให้มีการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายตลาด และเพิ่มอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์ รวมถึงการลงบันทึกความเข้าใจกับ โคคา โคลา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าการเพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ “Made in Cambodia” ปรับปรุงขีดความสามารถของวิสาหกิจกัมพูชาและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการค้า ภายใต้คอนเซ็ป “Made in Cambodia” ซึ่งรัฐบาลก็ได้เริ่มกระตุ้นให้ธุรกิจภายในประเทศยื่นขอฉลากคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นร่วมด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ นอกจากนี้กระทรวงจะร่วมมือกับภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่ต้องเผชิญในห่วงโซ่อุตสาหกรรมร่วมกันต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803679/ministry-of-commerce-signs-two-development-mous/