NA เปิดการประชุมสามัญสมัยสามหารือวาระการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (NA) ได้เปิดการประชุมสมัยสามัญสามโดยมีการอภิปรายในเรื่องการมุ่งเน้นไปที่มาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งในปี 2564 จะเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2564-2568)ในที่ประชุมยังหารือพิจารณาและอนุมัติการวางผังเมืองสำหรับเวียงจันทน์เพื่อให้กลายเป็นเมืองที่มีศักยภาพในทุกๆด้านรวมถึงการตรวจสอบงบประมาณของรัฐสำหรับปี 2020 อีกด้วยการเปิดประชุมสามัญสมัยสามรัฐบาลคาดหวังจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สปป.ลาวกำลังเผชิญ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_210.php

ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นในเวียดนาม

ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าพื้นที่เพาะปลูกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นจากในปี 2559 อยู่ที่ 53,350 เฮกตาร์ เป็น 237,693 เฮกตาร์ในปีที่แล้ว และส่งออกไปยัง 180 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น ด้วยมูลค่ารวม 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ว่าทางนาย Ha Phuc Mich ประธานสมาคมเกษตรอินทรีย์เวียดนาม กล่าวว่าการเติบโตที่รวดเร็วของเกษตรอินทรีย์ สร้างความกังวลในเรื่องการควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการของบริษัท Vinh Hiep Co. , Ltd ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นที่ต้องการทั่วโลกและข้อกำหนด/มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นของการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน แต่ในปัจจุบัน การผลิตเกษตรอินทรีย์ของเวียดนามยังคงเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะมาจากค่าใช้จ่ายในการวิจัยที่สูงและใช้เวลานาน เป็นต้น นอกจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ในการยกระดับมูลค่าและทำให้ยั่งยืน ได้แก่ ขยายพื้นที่เกษตรกรรม สร้างแรงจูงใจให้กับธุรกิจและสหกรณ์ รวมถึงฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/demand-for-organic-farm-produce-on-the-rise-in-vietnam/189381.vnp

เวียดนามเผยธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินส่งสัญญาฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 3

จากการศึกษาของ Fin Group ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ผลกำไรของภาคธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 347 แห่ง ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวในรูปตัว V ทั้งนี้ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ของบริษัทมหาชน 348 แห่ง ลดลงร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในไตรมาสที่ 3 สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของธุรกิจหลักของภาคธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินทั้งหมดพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้แล้ว นอกจากนี้ ทาง Fin Group มองว่าความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลในทิศทางที่เป็นบวกแก่ธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ สถาบันการเงิน รวมถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัยและบริษัทรักษาความปลอดภัย มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และมีอัตราการเติบโตของกำไรร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของเวียดนามยังเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก ถึงแม้จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-listed-non-financial-firms-post-v-shaped-recovery-in-q3-314637.html

ต้นทุนก่อสร้างเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

ราคานำเข้าสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่โควิด -19 ระบาด เนื่องจากปัญหาด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ซึ่งงานก่อสร้างบางส่วนไม่สามารถหยุดได้จึงจำเป็นต้องซื้อวัสดุในราคาที่สูงขึ้น” เช่น ธุรกิจผลิจอิฐลดลงส่งผลให้ราคาอิฐสูงขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-costs-rise-myanmar.html

ธุรกิจภาค MSMEs ภายในกัมพูชาต้องการการสนับสนุน

การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) ด้วยนวัตกรรมและความเป็นสากล ถือเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามรายงานฉบับใหม่ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในรายงานที่ชื่อว่า Asia Small and Medium-Sized Enterprise Monitor 2020 เผยให้เห็นว่า MSME เป็นแรงผลักดันที่สำคัญในเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97 ของธุรกิจทั้งหมด โดยคิดเป็นร้อยละ 41 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของแต่ละประเทศ ซึ่งผู้อำนวยการ ADB ประจำประเทศกัมพูชากล่าวว่า MSMEs ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจของกัมพูชา มีส่วนช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการแข่งขันในระดับภูมิภาค เช่นเดียวกับผู้อำนวยการแผนก SMEs ของกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกล่าวว่า MSMEs มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของกัมพูชาโดยมีส่วนช่วยในการจ้างงานถึงร้อยละ 70 ของแรงงานทั้งหมด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50777691/micro-small-medium-firms-vital-but-need-support-report/

กัมพูชาวางโครงการสายส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อทำการนำเข้าพลังงานไฟฟ้า

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน (MME) ระบุว่าการก่อสร้างสายส่งกำลังไฟฟ้ามูลค่ารวมกว่า 400 ล้านดอลลาร์ที่เชื่อมระหว่างกัมพูชากับสปป.ลาวและชายแดนไทยจะแล้วเสร็จในปีหน้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน โดยรัฐบาลผ่านคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการลงทุนสายส่งกำลัง 500 กิโลโวลต์ จากพนมเปญไปยังชายแดนกัมพูชา-สปป.ลาวและสายส่งกำลังอีก 500 กิโลโวลต์จากพระตะบองถึงชายแดนกัมพูชา-ไทย ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพลังงานของ MME กล่าวว่ารัฐบาลได้เชิญ SchneiTec Co Ltd. เข้าลงทุนใน 2 โครงการนี้หลังจากที่ได้เสนอให้บริษัททำการศึกษาทางเทคนิคและการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมก่อนหน้านี้ โดยกล่าวว่าสายส่งกำลังที่เชื่อมต่อไปยังชายแดน สปป.ลาว จะมีความยาว 300 กม. และอีกสายหนึ่งจากจังหวัดพระตะบองถึงชายแดนไทยจะอยู่ที่ประมาณ 110 กม. ซึ่งกัมพูชาคาดว่าจะนำเข้าไฟฟ้าประมาณ 300 mW จากโรงงานในเฟสแรกภายในปี 2025 และอีก 300 mW ในปีต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50777612/400-million-transmission-line-to-bring-in-laos-thailand-power/

ไทยยืนหนึ่งในอาเซียนด้านโครงการ Digital Transformation

“เจโทร” พร้อมหนุน 7 โครงการนำร่องด้านนวัตกรรมดิจิทัล “Digital Transformation” ในประเทศไทย เผยจำนวนโครงการที่ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากญี่ปุ่นในประเทศไทยนั้นจัดอยู่ในอันดับต้นของอาเซียน โดยทางเจโทรอนุมัติโครงการทั้งหมด 23 โครงการ ซึ่งโครงการทั้ง 7 โครงการในประเทศไทยนั้น ครอบคลุมสาขาที่มีความหลากหลาย อาทิ โครงการด้านการเกษตร การประมง การแพทย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ พลังงาน ซึ่งที่ผ่านมา เจโทร กรุงเทพฯได้ให้การสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด และเจโทรจะยังคงดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นต่อไปกล่าวโดยประธานเจโทร กรุงเทพฯ

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/world/454561